Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

นิทาน เพลง เกม สื่อแสนวิเศษสอนภาษาไทย



กิจกรรมหลักๆ
ในฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย  
ระดับประถมศึกษา

                   ๑. การร้องเพลง เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนให้น่าสนใจและสนุกสนาน  โดยเป็นเพลงที่เกี่ยวกับความรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาที่เป็นเนื้อหา/สาระของแต่ละเรื่อง
                   ๒. การเล่านิทาน เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนให้เด็กสนุกสนาน ต้องการที่จะเรียนรู้เช่น นิทานอีสป  นิทานเกี่ยวกับสัตว์  การผจญภัย  ที่เหมาะกับวัยและความสนใจของเด็ก
                   ๓. การทายปริศนาคำทาย  เพื่อให้รู้จักคิดด้วยความสนุกสนานเร้าใจ
                   ๔. การเขียนตามรอยและการขีดเส้นใต้คำ  เพื่อให้จำรูปคำสระ และ ชื่อของพยัญชนะได้
                   ๕.  การทายพยัญชนะจากภาพ  เพื่อให้จำรูปและชื่อของพยัญชนะได้
                   ๖.  การโยงเส้นคำและข้อความกับรูปภาพ เพื่อให้รู้ความหมายของคำและข้อความ
                   ๗. การประสมคำจากภาพ  เพื่อให้จำรูปพยัญชนะได้
                   ๘. การแยกส่วนประกอบของคำ  เพื่อให้รู้จักหลักเกณฑ์ของการประสมคำ
                   ๙. การเติมคำหรือข้อความในช่องว่าง  เพื่อให้รู้จักรูปและความหมายของคำและข้อความ
                   ๑๐.  การจับคู่คำและความหมาย  เพื่อให้รู้จักรูปคำและความหมาย
                   ๑๑.  การเขียนคำให้ตรงกับภาพ  เพื่อให้จำรูปคำและรู้จักสะกดคำ
                   ๑๒.  การเรียงคำเป็นประโยค  เพื่อให้รู้จักใช้คำในประโยค

                   ๑๓.  การแต่งประโยคจากภาพ  เพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์


การเลือกใช้สื่อซ่อมเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย




การเลือกใช้สื่อซ่อมเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย
           ครูผู้สอนควรพิจารณาและเลือกใช้สื่อซ่อมเสริมทักษะการอ่านการเขียนตามข้อเสนอแนะดังนี้

          ก่อนสอน/จัดกิจกรรม
               ครูผู้สอนต้องทราบสาเหตุที่แท้จริงของความบกพร่องต่างๆที่เกิดกับผู้เรียน ที่จะทำการสอนซ่อมเสริม ซึ่งอาจวินิจฉัยได้จากการสังเกต สัมภาษณ์  สอบถามจากตัวนักเรียนเอง    ครู    ผู้ปกครอง   ครูที่เคยสอนมาก่อน  หรือจากเพื่อนนักเรียนด้วยกัน   หรือจากการตรวจสอบผลงานและจากการทดสอบต่าง ๆ เช่น การทดสอบด้วยข้อสอบวินิจฉัย เป็นต้น จะทำให้ครูผู้สอนทราบสาเหตุของปัญหาและแก้ไขได้ตรงจุด เช่น

ความบกพร่องด้านการอ่าน
. จำตัวอักษรไม่ได้  ทำให้อ่านไม่ได้หรือจำตัวอักษรได้บ้างแต่อ่านเป็นคำไม่ได้
. อ่านช้า มีความยากลำบากในการอ่าน เช่น อ่านคำต่อคำ จะต้องสะกดคำ
     จึงจะอ่านได้
. อ่านผิด เช่น อ่านคำผิด อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
. อ่านข้ามคำ อ่านเพิ่มคำ หรือลดพยัญชนะในคำ  อ่านฉีกคำ
. อ่านคำโดยสลับตัวอักษร หรือสลับคำกัน
. อ่านเดาจากตัวอักษรบางตัวที่มีอยู่ในคำ
. อ่านเว้นวรรคไม่ถูกต้อง
          . ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
          . เล่าเรื่องที่อ่านตามลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
          ๑๐. บอกใจความสำคัญของเรื่องไม่ได้

          ความบกพร่องด้านการเขียน
. เขียนไม่เป็นตัวอักษร เขียนอ่านไม่ออก เขียนวนไปมา เขียนหนังสือ
    ตัวโต
. เขียนไม่ตรงบรรทัด  เขียนเกินบรรทัด  เขียนไม่เต็มบรรทัด
. เขียนตัวอักษรไม่เท่ากัน
. เขียนตัวอักษรหัวกลับหรือกลับด้าน
. เขียนตัวอักษรติดกัน  ไม่เว้นช่องไฟ
. เขียนผิด   เขียนลบบ่อย   เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
. เขียนตัวอักษรหรือวรรณยุกต์ตกหล่น  ไม่ตรงตำแหน่ง
. เขียนอักษรในคำสลับที่กัน
. เขียนประโยคง่าย ๆ ไม่ได้
๑๐. เขียนตามที่กำหนดไม่ได้
๑๑. เขียนเรียงลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
๑๒. เขียนบรรยายภาพ เล่าเรื่องแสดงความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการ
      ไม่ได้
  

เมื่อได้สาเหตุแล้วจึงลงมือเลือกกิจกรรมที่เห็นว่าเหมาะสมให้นักเรียนฝึก อาจฝึกเป็นรายบุคคล  เป็นกลุ่ม  บางกิจกรรมครูผู้สอนอาจให้นักเรียนฝึกฝนช่วยเหลือกัน  นอกจากนั้นก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรบอกให้นักเรียนรู้ตัวก่อนว่าเมื่อเรียนหรือฝึกแล้วจะได้อะไรบ้าง  ให้รู้จุดประสงค์การเรียนไว้ล่วงหน้า  เพื่อนักเรียนจะสามารถประเมินตนเองได้  บางกิจกรรมอาจมีการทดสอบก่อนการจัดกิจกรรม เพื่อดูพื้นฐานหรือจุดเริ่มต้นของนักเรียนก็จะทำให้ได้ข้อมูลในการปรับปรุงการฝึกฝนได้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ระหว่างสอน/จัดกิจกรรม  

. ควรให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติและคิดค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  ครูเป็นผู้คอยกระตุ้นให้คิดและชี้แนะวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคนเท่านั้น  เพราะการใช้แบบฝึกที่นักเรียนค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเองเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้เรียนได้เรียนเต็มตามศักยภาพและความสามารถของตนเอง

. ครูผู้สอนควรให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการเรียนซ่อมเสริม  โดยไม่รู้สึกว่าเกิดปมด้อย  ควรมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อทราบความก้าวหน้าของนักเรียนเป็นรายบุคคล  ควรบันทึกผลการทดสอบไว้ในสมุดบันทึกการสอนซ่อมเสริม  แสดงความก้าวหน้าทางการเรียนและข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างละเอียด
. ครูผู้สอนควรนำหลักจิตวิทยาการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับนักเรียน  เช่น  การเสริมแรง ให้กำลังใจ  ชมเชย  กระตุ้นยั่วยุ  ชี้แนะให้นักเรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว   พร้อมทั้งระลึกเสมอว่านักเรียนต้องการความช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิด      นักเรียนบางคนควรแทรกทักษะพื้นฐานที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ เช่น การเล่มเกม  ให้อวัยวะเคลื่อนไหว  การฝึกกวาดสายตา  เช่น ฝึกสมาธิก่อนอ่านหนังสือ เป็นต้น 

หลังสอน/จัดกิจกรรม


                   ควรให้นักเรียนทราบความก้าวหน้าของตนเองว่าเป็นไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยไม่นำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น   บันทึกผลการเรียนการสอนซ่อมเสริมเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนาต่อไป  และควรรายงานให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครองและผู้บริหารสถานศึกษาทราบ  เพื่อการร่วมมือกันแก้ไขต่อไป

แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อักษร


แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อักษร

แนวคิด
            อักษรไทยประกอบด้วย พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย นักเรียนจะรู้จักและจำอักษรไทยได้   ก็ต่อเมื่อนักเรียนฝึกทำกิจกรรมเกี่ยวกับการใช้พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยตนเองหลาย ๆ ครั้ง

จุดประสงค์การเรียนรู้
            นักเรียนสามารถ ฟัง พูด อ่าน และเขียนเกี่ยวกับพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ได้

แนวการจัดกิจกรรม
1. นำสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และมีประสบการณ์มาแล้วเป็นสื่อโยงความรู้เรื่อง
รูปร่าง ลักษณะของพยัญชนะ  44 ตัว  สระ 20 ตัว  และวรรณยุกต์  4 รูป
            2. ฝึกสังเกตความเหมือน ความต่างของพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ โดยสังเกตเป็นส่วน ๆ และจำแนกกลุ่มตัวอักษรตามพื้นเสียง
            3. ใช้ความคิดตัดสินใจด้วยตนเอง จากการปฏิบัติกิจกรรมหลาย ๆ ครั้ง
จนสามารถบอกชื่ออักษรได้
            4. สังเกตและค้นหาตัวอักษรจากหนังสือ  หนังสือพิมพ์ และสื่อต่าง ๆ
            5. นักเรียนหาคำตอบด้วยตนเอง  เมื่อปฏิบัติกิจกรรมครบทุกกิจกรรม
                     -  การบอก
                     -  การเปรียบเทียบ
                     -  การแสดงท่าทาง
                     -  การตั้งคำถาม ตอบคำถาม
                     -  การทำแบบฝึกเสริมทักษะ
                             ฯลฯ
            6. กำหนดรูปแบบหลากหลาย โดยใช้สื่อที่อยู่ใกล้ตัวหรือในท้องถิ่น ซึ่งพบอยู่เสมอ เช่น อักษรที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์  หนังสือต่าง ๆ ที่มีในห้องเรียน  ป้ายต่าง ๆ สิ่งของที่ตัวอักษรปรากฏอยู่ จะทำให้นักเรียนรู้จักสังเกตและเรียนรู้อย่างสนุกสนาน

            7. ใช้วิธีการที่เร้าความสนใจให้นักเรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสมากที่สุด  เช่น
การจำแนกเสียง  การจำแนกด้วยสายตา  การอ่านบัตรอักษร  เป็นต้น
            8. ครูควรทำบัตรพยัญชนะไทยทั้ง  44 ตัว ไว้หลาย ๆ ชุด โดยใช้ตรายางพยัญชนะไทยขนาดใหญ่ จะทำให้นักเรียนสังเกตตัวอักษรชัดเจนขึ้น และจัดทำบัตรภาพประกอบพยัญชนะไว้เท่ากับจำนวนกลุ่มนักเรียน


*********************************************************************

แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คำที่มี ร ล



แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เรื่อง คำที่มี  ร  ล

            แนวคิด
            การพูด หรืออ่านออกเสียงคำที่ใช้  ร  ล  ได้ถูกต้อง  ชัดเจน  ทำให้ผู้ฟังสื่อความหมายได้ถูกต้อง และช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้พูดและผู้อ่าน

            จุดประสงค์
            นักเรียนออกเสียงคำ วลี และประโยคที่มี  ร  ล  ได้ถูกต้อง ชัดเจน

            แนวการจัดกิจกรรม
            1.  ทายปริศนาเกี่ยวกับคำที่มี  ร  ล  เช่น
                 1)  โรงอะไร  ให้ความรู้                                           (โรงเรียน)
                 2)  โรงอะไร  ให้ที่พัก                                              (โรงแรม)
                 3)  โรงอะไร  มีไว้ทำข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร        (โรงสี)
                 4)  โรงอะไร  ให้ความสุขทุกรสชาติ             (โรงภาพยนตร์, โรงละคร)
                 5)  โรงอะไร  ให้ผลผลิตจำนวนมาก                       (โรงงาน)
                 6)  โรงอะไร  มีไว้เก็บพาหนะ                                  (โรงรถ)
            2. นักเรียนช่วยกันรวบรวมคำที่มี  ร  และ  ล  ที่มีพยางค์เดียว และฝึกอ่าน
                        ล    :     ลม    ลวด   ลำ   ล้าง   ล้วง   ลอด   ฯลฯ
                        ร    :      รด   ร่ม    รวก   รวย  รอ   รอด     ฯลฯ
            3. แบ่งกลุ่มนักเรียนหาคำที่มี  ร และ ล  เป็นคำพยางค์เดียว ใช้ตัวสะกดแม่เดียวกัน
และฝึกอ่าน
                    กลุ่มที่ 1       คำที่ขึ้นต้นด้วย  ร และ ล  ประสมด้วย  สระโอะ  มีตัวสะกด
                                   รด ลด     รบ ลบ      รน ลน
                    กลุ่มที่ 2       คำที่ขึ้นต้นด้วย  ร และ ล  ประสมด้วย  สระออ   มีตัวสะกด
                                   รอย ลอย      รอง ลอง      รอด ลอด
                    กลุ่มที่ 3       คำที่ขึ้นต้นด้วย  ร และ ล  ประสมด้วย  สระอา  มีตัวสะกด
                                   ราด ลาด     ราก ลาก      ราง ลาง     ร้าง - ล้าง
                                                ฯลฯ
            4.  รวบรวมคำที่มี  ร และ ล    2  พยางค์ให้ได้มากที่สุดและฝึกอ่าน
                        ร    :     รกราก   รวดเร็ว    ริเริ่ม   รวบรัด   เรียบร้อย   ฯลฯ
                        ล    :     ลดละ   ลนลาน    ลบเลือน   ล้มเลิก   ล้อเลียน   ล่อลวง
            5.  แข่งขันกันหาคำที่มี   ร   และ  ล   อยู่ด้วยกัน
                        เร้นลับ   รอบโลก   ระลึก  รู้แล้ว   รูปหล่อ   ล้อมรั้ว
            6.  แต่งประโยคจากคำที่มี   ร  และ  ล   และอ่าน
                        รุ่งริ่ง                      :      เขาสวมเสื้อผ้าขาดรุ่งริ่ง
                        เลือดไหล      :       ทหารถูกข้าศึกแทงจนเลือดไหลทะลัก
                        ร่อแร่             :      ชายคนนั้นถูกยิงที่ศีรษะอาการร่อแร่
                                             ฯลฯ
7.            อ่านข้อความหรือบทร้อยกรองที่มี  ร  และ  ล  แล้วคัดลายมือ

    คำไทยใช้ตัวรอ             ประโยชน์หนอมีมากมาย
                        คำที่ใช้   ร   เรียงราย                 สืบทอดไว้ไม้ร้างรา
                            รัฐ  ราช  ราษฎร์ร่วมใจ         รักษาไว้ให้นานหนา
                   รักเรือนเร่งรู้ค่า                              เรือนสะดวกปราศโรคภัย
                            นักเรียนเพียรรู้รอบ              ชมชื่นชอบอย่าร่ำไร
                   ร่าเริงบันเทิงใจ                              ชมสายรุ้งรุ่งเรืองรอง
                            เรื่องราวข่าวรบรา                 น่าระอาอุราหมอง
                    เหล่าดรุณขอเรียกร้อง                   ให้หยุดรบสบสุขสันต์



****************************

แนวการสอนซ่อมเสริม เรื่อง การเขียนสะกดคำ

(ภาพจากกัลยาณมิตรใน Facebook)

แนวการสอนซ่อมเสริม เรื่อง การเขียนสะกดคำ
กิจกรรมของครู
ครูให้นักเรียนเขียนตามคำบอก

                        ป้าสงบมักจะเตือนให้ เด็ก ๆ ทิ้งขยะลงในถังขยะ 
      และให้แยกขยะเปียกกับขยะแห้ง  ขยะแห้ง ได้แก่  เศษกระดาษ
     ถุงพลาสติก   ใบไม้แห้ง   เป็นต้น     ส่วนขยะเปียก   ได้แก่
     เศษอาหาร   น้ำแข็ง   และของเหลว   เป็นต้น   ประโยชน์ของ
     การแยกขยะ   เห็นได้ชัด  คือ  สะดวกในการเก็บขยะ  
     และการนำขยะที่ยังใช้ประโยชน์ได้  ไปย่อยสลาย    เพื่อ
     นำกลับมาใช้ใหม่    ป้าสงบรักเด็ก   เหมือนลูกหลาน
     ถ้าใครทิ้งขยะถูกที่    ก็จะมีขนมอร่อย  ๆ  /ให้เป็นรางวัลเสมอ

            ๒. รวบรวมคำที่นักเรียนเขียนผิดในแบบสรุปการเขียนตามคำบอก
            ๓. จัดกลุ่มคำที่นักเรียนเขียนผิด ตามหลักเกณฑ์ทางภาษา  เช่น
                        [    ]   คำที่ประสมสระใอ
                        [    ]   คำที่ควบกล้ำ
                        [    ]   คำที่มีอักษรนำ
                        [    ]   คำที่มีตัวการันต์
                        [    ]   คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงแม่
                                            ฯลฯ
๔.วิเคราะห์ข้อบกพร่องคำที่นักเรียนเขียนผิดในแบบวิเคราะห์ข้อบกพร่อง
การเขียนคำ  ตัวอย่างเช่น
                  ๑คำที่ประสม  สระโอ   เช่นคำว่า  ใช้
                            ลักษณะที่นักเรียนเขียนผิด
                        ใช้        ลักษณะที่บกพร่อง        เขียนพยัญชนะต้นผิด
                        ไซ้                     ”                        เขียนพยัญชนะต้นผิดและใส่สระผิด
                        ไช้                     ”                       เขียนสระผิด
                        ใช                     ”                     ไม่เขียนวรรณยุกต์
                        ใช่                            ”              เขียนวรรณยุกต์ผิด
                                         เป็นต้น
                  ๒คำควบกล้ำ    เช่น  คำว่า  กลับ
                            ลักษณะที่นักเรียนเขียนผิด
                        กับ        ลักษณะที่บกพร่อง    ไม่เขียนพยัญชนะตัวตาม
                        ลับ                     ”                    ไม่เขียนพยัญชนะตัวต้น
                        กะบ                   ”                       ไม่เขียนตัวตามและวางตำแหน่งสระผิด
                        กัลบ                  ”                       วางตำแหน่งสระผิด
                        กัล                ”               ไม่เขียนตัวสะกดและวางตำแหน่งสระผิด
                        กลบ                         ”                     ไม่เขียนสระ
                        กบัล                         ”                เขียนตัวสะกดผิดที่


                  ๓คำที่มีอักษรนำ    เช่น  คำว่า  ขยะ
                            ลักษณะที่นักเรียนเขียนผิด
                        คยะ        ลักษณะที่บกพร่อง   เขียนพยัญชนะต้นผิด
                        ขะยะ                 ”                    เขียนตามคำอ่าน
                        ขะหยะ              ”                      เขียนตามคำอ่าน
                        ขย                     ”                     ไม่เขียนสระ
                        ขะย             ”              วางตำแหน่งสระผิดที่


                  ๔คำที่มีตัวการันต์     เช่น  คำว่า  ประโยชน์
                            ลักษณะที่นักเรียนเขียนผิด
                        ประโยชน์     ลักษณะที่บกพร่อง   ไม่เขียนตัวควบ
                        ประโยค                 ”                       ไม่เขียนตัวการันต์และตัวสะกดผิด
                        ประโยช                 ”                          ไม่เขียนตัวการันต์
                        ประโหยด              ”                          เขียนตามคำอ่าน
                        ประโยชน์              ”                          เขียนตัวการันต์ผิด
        ประหยด                        ”                       เขียนสระและตัวสะกดผิด
                                                     ไม่เขียนตัวการันต์



                  ๕คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด    เช่น  คำว่า  อาหาร
                            ลักษณะที่นักเรียนเขียนผิด
                        อาหา     ลักษณะที่บกพร่อง        ไม่เขียนตัวสะกด
                        อาหาร                 ”                       เขียนตัวสะกด
                        อาหาถ                 ”                         เขียนตัวสะกดผิด
                        อาหร                  ”                          ไม่เขียนสระ
                                      เป็นต้น

                  ๖ การใช้เครื่องหมาย  เช่น  เครื่องหมายไม้ยมก  เด็ก ๆ
                            ลักษณะที่นักเรียนเขียนผิด
                         เด็ก       ลักษณะที่บกพร่อง        ไม่เขียนเครื่องหมายไม้ยมก
                                      เป็นต้น

            ร่วมคิด  พิจารณากิจกรรมและสื่อซ่อมเสริม ซึ่งอาจจะนำกิจกรรมและสื่อซ่อมเสริมจากเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องการสอนซ่อมเสริม ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจกให้ โดย
                 [     ]   นำกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมที่ตรงกับข้อบกพร่องไปใช้
                 [     ]   พัฒนาและปรับกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมที่นำเสนอให้เหมาะสม
                            กับข้อบกพร่องของนักเรียนและสภาพแวดล้อม
                 [     ]   พัฒนากิจกรรมการสอนซ่อมเสริมเพิ่มเติมจากตัวอย่าง ให้ตรงกับ
                            ข้อบกพร่องของนักเรียน


***********************