Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เป้าหมายการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สพป.ชม.๑ ปี ๒๕๕๖

เป้าหมายการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑
ปีงบประมาณ ๒๕๕๖



คุณภาพผู้บริหาร
๑.ผู้บริหารสามารถบริหารแผนงาน โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการพัฒนาห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
๒. ผู้บริหารเป็นผู้นำในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและส่งเสริมการใช้ห้องสมุด
. ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีในการอ่านและการใช้ห้องสมุด

คุณภาพครู
๑. ครูบรรณารักษ์หรือผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์สามารถบริหารงานห้องสมุดและจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
๒. ครูผู้สอนและครูบรรณารักษ์หรือผู้ที่ทาหน้าที่บรรณารักษ์มีสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่มีคุณภาพและหลากหลาย
. ครูผู้สอนบูรณาการการอ่านกับการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
. ครูผู้สอนและครูบรรณารักษ์หรือผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ ศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด
๕. ครูที่ชนะการประกวดครูรักการอ่าน ปีการศึกษา ๒๕๕๕ เป็นตัวอย่าง “ครูรักการอ่าน” แก่ครูในโรงเรียนและโรงเรียนอื่นๆ

คุณภาพนักเรียน
. นักเรียนทุกคนมีเป้าหมายในการอ่าน คิดรูปแบบ กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่สอดคล้องกับ
ภูมิสังคมของตนเอง
. นักเรียนใช้ห้องสมุดเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ต่อปี และร่วมกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
ด้วยความเต็มใจอย่างสม่ำเสมอ
. นักเรียนอย่างน้อยร้อยละ ๗๕ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ในการแสวงหา
ความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
. นักเรียนใช้เวลานอกเวลาเรียนในการอ่านหนังสือเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ ๖๐ นาที
. นักเรียนเลือกอ่านหนังสืออื่นนอกจากหนังสือแบบเรียนเฉลี่ยอย่างน้อยคนละ ๒๐ เล่มต่อปี
๖.นักเรียนที่ชนะการประกวดนักเรียนรักการอ่าน ปีการศึกษา ๒๕๕๕ เป็นตัวอย่าง “นักเรียนรักการอ่าน”แก่เพื่อนนักเรียนในโรงเรียนและโรงเรียนอื่นๆ

คุณภาพโรงเรียน
. โรงเรียนทุกแห่งมีห้องสมุด ๓ ดี ที่ทันสมัยและมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( ๑.บรรณารักษ์ดี  ๒.หนังสือดี  ๓.บรรยากาศดี)
. โรงเรียนที่ชนะการประกวดห้องสมุด ๕ ดี ปีการศึกษา ๒๕๕๕ มีห้องสมุด ๕ ดี ที่ทันสมัยและมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้ ( ๑.บรรณารักษ์ดี  ๒.หนังสือดี  ๓.บรรยากาศดี  ๔.การจัดการดี  ๕.ผลดี)ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑  เป็นตัวอย่างแก่โรงเรียนทั่วไปได้
๓.ห้องสมุดทุกโรงเรียนมีการใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติในการให้บริการแก่นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน
.ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของโรงเรียนและให้บริการแก่ผู้ปกครองและชุมชน


*****************************************




วิดีโอคลิปการอนุรักษ์หนังสือ


แนะนำวิดีโอคลิป เรื่องการอนุรักษ์หนังสือ 

วิดีโอคลิป :
กิจกรรมห้องสมุด
 
หนังสือมีพัฒนาการกันมาอย่างต่อเนื่อง และก่อประโยชน์แก่ผู้อ่านและสังคมในการส่งเสริมให้เกิดการอ่านอย่างกว้างขวาง ห้องสมุดจะเป็นแหล่งรวมหนังสืออันหลากหลาย และมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการอ่านอย่างแพร่หลาย ดังนั้น ห้องสมุดจึงต้องมีการป้องกันและบำรุงรักษา ทั้งวัสุด ครุภัณฑ์ และอื่นๆ โดยเฉพาะหนังสือ ซึ่งเป็นวัสดุของห้องสมุดที่มีความสำคัญและมีจำนวนมากที่สุด เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้สูงสุด...
ดูคลิปวีดีโอ

แหล่งข้อมูล  ห้องสมุดสำนักงานชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
                      http://www.lib.obec.go.th/portal/node/35

การใช้โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สพฐ.


การใช้โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สพฐ.












แหล่งข้อมูล  จากห้องสมุดสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
                      http://lib.obec.go.th/portal/home

แนะนำหนังสือน่าอ่าน

พระมหาชนก พระมหาชนก (ฉบับการ์ตูน ภาพสีฯ)
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
พระมหาชนก ฉบับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เป็นวรรณคดีในพระพุทธศาสนา ปรากฏอยู่ในทศชาติชาดก เนื้อเรื่องกล่าวถึง พระมหาชนกผู้ทรงกระทำความเพียรยิ่งยวด จนกระทั่งได้ครองราชสมบัตินำความเจริญมั่งคั่งแก่กรุงมิถิลาด้วยพระปรีชาสามารถ อยู่มาวันหนึ่งเสด็จประพาสอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วงสองต้น ต้นที่มีผลดีถูกข้าราชบริพารดึงทึ้งจนโค่นลง ส่วนต้นที่ไม่มีลูกกลับตั้งอยู่ตระหง่าน พระมหาชนกทรงบังเกิดธรรมสังเวช ดำริจะออกผนวช
read more
คำพิพากษา คำพิพากษา
ชาติ กอบจิตติ
คำพิพากษา เป็นนวนิยายสะท้อนสังคม เสนอเรื่องราวของฟัก ภารโรงหนุ่ม ผู้ตกเป็นเหยื่อคำพิพากษาของสังคมโดยสังคม โดยแสดงให้เป็นอย่างชัดเจนว่าสังคมมักตัดสินคนจากภาพลักษณ์ภายนอกและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามที่ตาเห็น โดยมิได้ตรวจสอบหรือใช้วิจารณญาณในเรื่องราวเหล่านั้นอย่างจริงจังเลย ...
read more



ร้อยเล่ห์แสนรัก

ปลายสี

ดาดาริน นางแบบสาวสุดฮอตวางแผนการอันพิลึกพิลั่นเพื่อให้ได้ใกล้ชิดกับ"ทองทิม"ชายหนุ่มผู้ไม่เคยอยู่ในสายตา เพราะคาดหวังไว้ว่าเขาจะเบนความสนใจมาหลงเสน่ห์เธอ และได้เป็นข่าวซุบซิบตามสื่อต่างๆ เพื่อให้หญิงสาวที่เธอเห็นว่ากำลังคบหาอยู่กับเขาเข้าใจผิดและแยกทางกันไป ซึ่งจะเป็นการเปิดทางให้ ....
read more

ฝากเธอช่วยซับน้ำตาโลก

สิทธิเดช กนกแก้ว

กวีนิพนธ์ที่มีเนื้อหาสาระเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น การลดภาวะโลกร้อน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีคุณค่ามีแนวคิดเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เสนอแนะให้ประชาชนร่วมมือกันอนุรักษ์ธรรมชาติ และหยุดยั้งการทำลายสิ่งแวดล้อม ชี้ให้เห็นภัยของการทำลายและทำร้ายธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดมหันตภัยต่าง ๆ ดังปรากฏให้เห็น...



แหล่งข้อมูล  http://lib.obec.go.th/portal/home

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คำคมสอนใจ...สื่อส่งเสริมการอ่านและคิดวิเคราะห์


คมเกิ๊น.
..

สื่อหาง่ายใน Internet 
หากเลือกดีๆ...มีสื่อส่งเสริมการอ่าน  สื่อฝึกคิดวิเคราะห์
 สำหรับเด็กๆได้เป็นอย่างดีทีเดียว  สอนแม้กระทั่งคนเป็นผู้ใหญ่
พิจารณาความใช่-ไม่ใช่  ถูก-ไม่ถูก เหมาะ-ไม่เหมาะ
ประเด็นใดใช้ได้  ประเด็นใดควรปรับ
เออหนอ..น่าสนใจจริง  "คำคมสอนใจ"

............................................................................................................
ต่อไปนี้ เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ..แต่สิ่งที่ได้ยิ่งใหญ่ล้ำ
ขอบคุณผู้คิด ผู้ทำ และเผยแพร่ มา ณ โอกาสนี้ค่ะ


  • ถ้าท่าน ไปตรงๆไม่ได้  ก็จงไป 'ทางอ้อม' และถ้าท่านไปข้างบนไม่ได้  ก็จงไปข้างล่าง อย่ายอมแพ้ง่ายๆ  เป็นอันขาด
  • ถ้าอยากจะ "ประสบความสำเร็จ" ต้องกล้าที่จะ "เปลี่ยนแปลง" ตัวเอง
  • ทางข้างหน้า 'ลางเลือน' เหมือนว่างเปล่า แดดจะเผาผิวผ่อง เธอหมองไหม้ ที่ตรงนั้นมีหุบเหว มีเปลวไฟ ถ้าอ่อนแอจะฝ่าไป อย่างไรกัน
  • จงฟังความรู้สึกของผู้พูด ไม่ใช่ 'คำพูด'
  • จุดที่ต่ำสุดของ 'ชีวิต' ที่ทุกคนมีโอกาส 'ประสบ'  ..เป็นได้ทั้ง 'จุดจบ' และ 'บทเรียน' ที่ดี
  • คนเราจะไม่ต้องใช้สมองเลย ถ้าพูดแต่ 'ความจริง'
  • ยิ่งบทเรียนยากขึ้น 'เท่าไหร่' ถ้าเราผ่านมันไปได้เราก็จะยิ่ง 'เก่งขึ้น' เท่านั้น
  • ถ้าคุณไม่ลอง 'ก้าว' จะไม่มีวันรู้เลยว่า 'ข้างหน้า' เป็นอย่างไร
  • อย่ากังวลกับสิ่ง ที่ยังมาไม่ถึง แต่ให้ คำนึงถึง สิ่งที่ 'กำลังทำ'
  • หนทางยาวไกลนับ 'หมื่นลี้' ต้องเริ่มต้นด้วย 'ก้าวแรก' ก่อนเสมอ




  • เหตุผลของ 'คนๆหนึ่ง'  อาจจะไม่ใช่เหตุผลของ 'คนอีกคนหนึ่ง'
  • แม้แต่นิ้วของคนเรายังยาว 'ไม่เท่ากัน' นับประสาอะไรกับ 'ความยั่งยืนของชีวิต'
  • ทุกคนได้ยินในสิ่งที่ 'คุณพูด'  แต่เพื่อนที่ดีที่สุดจะได้ยินแม้ในสิ่งที่คุณ 'ไม่ได้พูด'
  • ทุก 'หนึ่งนาที' ที่คุณใช้ไปในการ 'วางแผน' จะประหยัดเวลาได้อย่างน้อย 'สามนาที' ในการปฎิบัติตามแผน
  • ถ้าคุณ ไม่ลองก้าว จะไม่มีวันรู้เลยว่า ข้างหน้า เป็นอย่างไร


คําคมสอนใจ

  • คนเรา เจ็บปวดครั้งแรก พอที่จะโทษคนอื่นได้  .. แต่เจ็บปวด ครั้งที่สอง มีแต่ "ต้องโทษตัวเอง"
  • ท้อแท้ได้ แต่อย่า "ท้อถอย"  ..อิจฉาได้แต่อย่า "ริษยา" พักได้แต่ "อย่าหยุด"
  • เพื่ออะไร 'กับการรอคอย' ที่ 'ไม่มีความหมาย'
  • เมื่อวาน 'ก็สายเกินแก้' พรุ่งนี้ 'ก็สายเกินไป'
  • แม้แต่นิ้วของคนเรา 'ยังยาวไม่เท่ากัน' นับประสาอะไรกับ 'ความยั่งยืนของชีวิต'
  • โลกใบนี้เต็มไปด้วย "ความมหัศจรรย์" ถ้าไม่ออกเดินทางก็ "ไม่มีวันค้นพบ"
  • ตึก ยังรู้พัง 'สตางค์' ยังรู้หมด แต่ 'ไมตรี' อันสวยสดไม่มีหมดเหมือนสตางค์
  • บางครั้ง เราก็เหมือน "คนตาบอด"  มีวิธีเดียวที่จะพาเรามุ่งหน้าไปได้ คือ "การคลำทางเดินหน้าต่อไป"
  • บางสิ่งของชีวิต "ไม่จำเป็นต้องจำ" ถ้ามันทำให้เจ็บ, แต่บางสิ่งก็ควรจะเก็บ "ถ้ามันเป็นความเจ็บที่น่าจำ"
  • คนฉลาด เรียนรู้จาก "ความผิดพลาดของผู้อื่น"
    คนโง่ เรียนรู้จาก     "ความผิดพลาดของตัวเอง"
  • หลังผ่านปัญหา จะรู้ว่า
    "ปัญหานั้นเล็กนิดเดียว"
  • เราน่าจะ "เปลี่ยนปัญหากันได้" เพราะเรามักจะ "แก้ปัญหาของผู้อื่นได้"
  • อย่าเกลียด "น้ำตา" เพราะมันคือ "เพื่อนแท้",
    อย่าเกลียด "ความอ่อนแอ" เพียงเพราะมันไม่ใช่ "ความเข้มแข็ง"
  • มีแต่วันนี้ "ที่มีค่า"
    ไม่มีวันหน้า วันหลัง
คําคมสอนใจ
คําคมสอนใจ


  • ที่ที่ดีที่สุดที่จะพบ "มือที่พร้อมจะช่วยเหลือ คุณ"
    คือ ที่สุด "ปลายแขนของคุณเอง" 
  •  ......................................................
  • มีเพียงชีวิตที่ทำ "เพื่อคนอื่นเท่านั้น"
    ที่ควรค่าแก่การ "มีชีวิต"
  • ....................................
  • ความเหงาเป็น "เพื่อนแท้"
    อ่อนแอเป็น "เพื่อนเก่า"
    ความเงียบก็ "เพื่อนเรา"
    ใจบางเบาคือ "เพื่อนตาย"


  • ความเห็นอกเห็นใจ
    คือ "กฎสำคัญ" ของ "ชีวิตมนุษย์"

  • คนที่ว่าคนอื่น "โง่" บุคคลนั้น "โง่ยิ่งกว่า"
    คนที่ว่าคนอื่น "ฉลาด" บุคคลนั้นคือ "ผู้ฉลาดอย่างแท้จริง"

  • ความโศรกเศร้า สามารถเยียวยาตัวเองได้ "โดยลำพัง"
    แต่การจะได้รับ ความเบิกบาน อย่างเต็มเปี่ยม
    จำเป็นต้องมี "ใครสักคน" มาแบ่งปัน

  • ทุกสิ่งในชีวิต โดยพื้นฐานแล้ว คือ "ของขวัญ"
    จงกางมือรับ "สิ่งนั้น" และ "ถือไว้"


ขอบคุณอีกครั้งค่ะ... จากที่นี่ http://www.rakjung.com/quip-no169.html

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เกณฑ์การอ่านการเขียนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา ปี 2556




ความสามารถและทักษะด้านการอ่าน-การเขียนภาษาไทย  ระดับประถมศึกษา
ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  ปี ๒๕๕๖

นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓


อ่านออก  หมายถึง  ความสามารถรับรู้ และเข้าใจความหมายของคำ ประโยค ข้อความสั้น ๆ
                  เรื่องราวในสื่อต่าง ๆ หรือในหนังสือได้ตามระดับชั้นของผู้เรียน

ความสามารถในการอ่าน  คือ อ่านหนังสือเรียนประจำชั้นที่เรียนไปแล้วหรือหนังสืออื่นที่มีความยากง่ายเท่าๆ กัน อ่านผิดไม่เกินหนึ่งในสี่ของคำ โดยไม่นับคำซ้ำ ความเร็วปกติ ไม่ช้าเกินไปเกินไป ถ้าอ่านติดให้เวลาสะกดคำ ๖-๗ วินาที(ป.๑ ประมาณ ๔-๕ วินาที) 
       
ชั้น ป.๑   ข้อความมีความยาว ๔๐ – ๕๐ คำ
ชั้น ป.๒   ข้อความมีความยาว ๖๐ – ๗๐ คำ
ชั้น ป.๓   ข้อความมีความยาวไม่เกิน ๑๐๐ คำ

เขียนได้    หมายถึง ความสามารถเขียนคำ ประโยค ข้อความสั้น ๆ เรื่องราวได้ถูกต้อง
                   เหมาะสมตามระดับชั้นของผู้เรียน

นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖

อ่านคล่อง  หมายถึง ความสามารถอ่านออกเสียงชัดเจนถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์การอ่าน ในระยะเวลาที่เหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน และสามารถจับใจความของเรื่องที่อ่านได้
ความสามารถในการอ่าน  แยกดังนี้
(๑)   ชั้น ป. ๔-๕ เรื่องหรือข้อความมีความยาว  ๑๖๐-๒๐๐ คำ อ่านหนังสือเรียนประจำชั้นที่เรียนไปแล้ว หรือหนังสืออื่นที่มีความยากง่ายเท่าๆ กัน
(๒)  ชั้น ป.๖ เรื่องหรือข้อความมีความยาว ๒๐๐ คำขึ้นไป เรื่องและบทความควรเป็นข่าวหนังสือพิมพ์  บทความทั่วไป  สุนทรพจน์ หรือพระบรมราโชวาท 
การอ่านจะอ่านผิดไม่เกินหนึ่งในสี่ของคำ โดยไม่นับคำซ้ำ ท่าทางมั่นใจ ความเร็วปกติ ไม่ช้าเกินไป
         
เขียนคล่อง      หมายถึง ความสามารถเขียนคำ ประโยค ข้อความ เรื่องราวถูกต้องตามหลักเกณฑ์
                   ทางภาษาได้รวดเร็ว ในระยะเวลาที่เหมาะสมตามระดับชั้นของผู้เรียน


เกณฑ์คุณภาพ
การประเมินความสามารถการอ่าน-การเขียนภาษาไทย

การอ่านออกเขียนได้  ชั้น ป.๒
การอ่านออก     คือ     อ่านคำ  อ่านประโยค  อ่านข้อความ  ต้องผ่านเกณฑ์  ร้อยละ   ๖๐  ขึ้นไป
ระดับคุณภาพ   แยก ๔ ระดับ คือ
คะแนน    ๘๐  -  ๑๐๐    ระดับดีมาก
คะแนน    ๗๐  -  ๗๙      ระดับดี
คะแนน    ๖๐  -  ๖๙      ระดับพอใช้           
คะแนน     ๑   -  ๕๙      ปรับปรุง   (ต่ำกว่าเกณฑ์)

การเขียนได้     คือ   เขียนคำ  เขียนประโยค  เขียนข้อความ    ต้องผ่านเกณฑ์  ร้อยละ   ๕๐  ขึ้นไป
ระดับคุณภาพ  แยก ๔ ระดับ คือ
คะแนน    ๘๐  -  ๑๐๐     ระดับดีมาก
คะแนน    ๖๕  -  ๗๙       ระดับดี
คะแนน    ๕๐  -  ๖๔       ระดับพอใช้
คะแนน     ๑   -  ๔๙       ปรับปรุง   (ต่ำกว่าเกณฑ์)

สรุป  :   การอ่านออกเขียนได้ นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์  ทั้งอ่านออก ร้อยละ ๖๐ และเขียนได้ ร้อยละ ๕๐
จึงจะถือว่า   :   อ่านออกเขียนได้

การอ่านคล่องเขียนคล่อง   ชั้น ป.๔

การอ่านคล่อง   คือ   อ่านคำ  อ่านประโยค  อ่านข้อความ  ต้องผ่านเกณฑ์  ร้อยละ   ๖๐  ขึ้นไป
ระดับคุณภาพ  แยก ๔ ระดับ คือ
คะแนน    ๘๐  -  ๑๐๐    ระดับดีมาก
คะแนน    ๗๐  -  ๗๙      ระดับดี
คะแนน    ๖๐  -  ๖๙      ระดับพอใช้           
คะแนน     ๑   -  ๕๙      ปรับปรุง   (ต่ำกว่าเกณฑ์)
การเขียนคล่อง :  เขียนคำ  เขียนประโยค เขียนข้อความ    ต้องผ่านเกณฑ์  ร้อยละ   ๕๐  ขึ้นไป
ระดับคุณภาพ  แยก ๔ ระดับ คือ
คะแนน    ๘๐  -  ๑๐๐     ระดับดีมาก
คะแนน    ๖๕  -  ๗๙       ระดับดี
คะแนน    ๕๐  -  ๖๔       ระดับพอใช้
คะแนน     ๑   -  ๔๙       ปรับปรุง   (ต่ำกว่าเกณฑ์)                      
สรุป  :   การอ่านคล่องเขียนคล่อง นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์  ทั้งอ่านคล่อง ร้อยละ ๖๐ เขียนคล่องร้อยละ ๕๐
จึงจะถือว่า   :    อ่านคล่องเขียนคล่อง 

แหล่งข้อมูล : สถาบันภาษาไทย  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

อ่านวิเคราะห์ คิดวิเคราะห์และเขียน




รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก
ในการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


การอ่าน 
มีองค์ประกอบ 2 อย่าง คือการสะกดคำ, การเข้าใจความหมายของคำ การอ่านเป็นกระบวนการ 2 ทาง สิ่งที่ผู้อ่านนำมาสู่หนังสือ ได้แก่ ทักษะการคิด และความรู้เดิม สิ่งที่ผู้อ่านได้รับจากหนังสือ ได้แก่ ความหมาย และความเข้าใจ

ประโยชน์จากการอ่าน
1.ผู้อ่านค้นพบแนวคิดที่ดีนำไปประยุกต์เป็นความคิดของผู้อ่านได้
2.ผู้อ่านได้สาระความรู้มากกว่าการหาความรู้ในวิธีอื่นๆ เพราะสามารถอ่านโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
3.การอ่านช่วยพัฒนาให้เกิดกระบวนการคิด และจินตนาการส่งเสริมให้สมองดี มีสมาธิ

การคิดวิเคราะห์
1.การคิดวิเคราะห์เป็นกระบวนการเรียนรู้ในการจำแนก แยกแยะสิ่งต่างๆ มีองค์ประกอบอย่างไรเชื่อมโยง และสัมพันธ์กันอย่างไร
2.การคิดวิเคราะห์จะนำสู่การค้นหาความเป็นจริง จากสิ่งที่พบ ประกอบด้วยอะไร เหมือนหรือ แตกต่างจากสิ่งอื่นอย่างไร

การเขียน
เป็นกระบวนการถ่ายทอดในรูปแบบการบันทึกด้วยตัวอักษร หรือสัญลักษณ์เพื่อถ่ายทอดเผยแพร่ความรู้ ความคิด ความรู้สึก และบอกถึงความต้องการของผู้เขียนให้ผู้อ่านเกิดความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการ

จุดมุ่งหมายการเขียน
1.การแสดงความคิดเห็น
2.การอธิบาย
3.การเล่าเรื่องราว
4.การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อจูงใจ และโน้มน้าวให้ผู้อ่านคล้อยตาม
5.การสร้างจินตนาการ

การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียน มีบทบาท ทั้งด้านร่างกาย ความคิด ความรู้สึก ผู้เรียนได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติ โดยผู้สอนออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม และคำนึงถึง ความสามารถของเด็กแต่ละคน 

การเรียนรู้แบบบูรณาการ
1.เป็นรูปแบบสำคัญในการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
2.เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงวิชาต่างๆ จนกลายเป็นเรื่องเดียวกัน สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นองค์รวม

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
1. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านการลงพื้นที่สนามหรือการออกไปทัศนศึกษา
3. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน และสัมพันธ์กับตนเอง
5. การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย
6.การพัฒนาการเรียนรู้โดยครอบครัว
7. การพัฒนาการเรียนรู้โดยผ่านการจดบันทึก

1. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

-การรู้จักสังเกต
-การรู้จักบันทึก
-การรู้จักฟัง
-การรู้จักถาม
-การรู้จักตั้งสมมุติฐาน
-การรู้จักหาคำตอบ
-การรู้จักวิธีวิจัย
-การรู้จักนำมาบูรณาการให้เป็นหนึ่งเดียว
-การรู้จักเขียนเรียบเรียงความคิด
-การรู้วิธีการนำเสนอ

2. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านการลงพื้นที่สนาม หรือการไปทัศนศึกษา
-การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะโรงเรียน
-เป็นการเชื่อมโยงประสบการณ์ของเด็กกับโลกกว้างในชุมชน
- เด็กเกิดความสุขสนุกสนาน

3. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น
- เด็กเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
-ได้ศึกษาหาความรู้จากผู้อาวุโสในท้องถิ่น 

4. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านเหตุการณ์ ในชีวิตประจำวัน และสัมพันธ์กับตนเอง 
-จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของเด็ก

5. การพัฒนาการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัย 
-การวิจัยในที่นี้ หมายถึง การวิจัยในรูปแบบใหม่ สัมพันธ์กับการจัดการเรียนการสอนโดยครูผู้สอนสามารถดำเนินการวิจัยร่วมไปกับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ และถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียน การสอน
-การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
-การวิจัยในชั้นเรียน แสวงหาวิธีการแก้ปัญหา และตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร
-ใช้วิธีการศึกษานักเรียนเป็นกรณีเฉพาะหรือวิจัยกลุ่ม

6. การพัฒนาการเรียนรู้ โดยครอบครัว 

-ครอบครัวเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ เพราะเด็กจะใช้เวลาส่วนใหญ่ อยู่กับครอบครัว
-ถ้าครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาการเรียนรู้ ของเด็ก ย่อมส่งผลดีต่อตัวเด็กต่อไป
-จัดให้มีความรู้แก่บุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลเด็กที่บ้าน เช่น พี่เลี้ยงเด็ก ปู่ ย่า ตา ยาย เพื่อพัฒนาเด็กไปในทางเดียวกัน

7. การพัฒนาการเรียนรู้ โดยผ่านการสังเกต และจดบันทึก
-นักการศึกษา กู๊ดแมน (Goodman,1986) กล่าวว่า หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของครูคือ การเฝ้าสังเกตเด็ก ฟังเด็กขณะที่พูดคุย อภิปราย รวมถึงในการเล่น โดยมีการจดบันทึกคำพูดของเด็ก เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก

การสังเกต คือ
-การให้ความสนใจในสิ่งที่เด็กทำ หรือปฏิบัติ
- การให้ความสนใจในคำพูดของเด็ก

การบันทึก
-การเขียนบันทึกความคิด
- การเขียนบันทึกการกระทำ
-การเขียนบันทึกความเชื่อ
-การเขียนบันทึกทัศนคติ

โดย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 
จาก learners.in.th




วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สังคมก้มหน้า



 มาแรงจริงคำนี้    "สังคมก้มหน้า"   ..น่าห่วงอย่างยิ่ง..
  • นักการศึกษาเผยผลสำรวจ...ชีวิตเด็กไทย ใช้ 1วันใน "สังคมก้มหน้า"..!
  • ติดแหงกอยู่กับมือถือ 24 ชม. เช้าเช็คอิน-กดไลค์-เล่นไลน์ จนเข้านอน
  • ร้อยละ 40 อยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีมือถือ
  • กระทบสัมพันธภาพครอบครัว
  • เกิดภัยคุมคามทางเพศบนโซเชียลมีเดีย
  • ระบุระบบการศึกษายิ่งย่ำแย่ กลายเป็นระบบการเรียน(ไม่)รู้ แบบcopy/paste คัดลอกข้อมูลมาแปะส่งงาน
  • สะท้อนมีปริญญาแต่ไร้ปัญญา
  • เตือน "รัฐ ใส่ใจการศึกษาอย่างจริงจัง พลเมืองคุณภาพต่ำห่วงอนาคตประเทศ
  •             
    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดเสวนาหัวข้อ "ทิศทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต" ซึ่งมีผู้บริหารสถานศึกษา นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาจำนวน 150 คนเข้าร่วม  ที่โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.56 

        นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ถือเป็นองค์กรหลักขนาดใหญ่ ที่รับผิดชอบเด็กกว่า 7 ล้านคน และบุคลากรครูอีก 4 แสนคน ดังนั้นการขับเคลื่อนการศึกษา จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงวิธีการและเป้าหมาย  หากทำงานเป็นแบบต่างคนต่างทำ การศึกษาคงไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องมีการพลิกโฉมการศึกษาไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วย ซึ่งอยากให้มีการดำเนินการตามนโยบายของ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ที่ต้องการให้นำรูปแบบการจัดการศึกษาของแต่ละพื้นที่ ที่ประสบความสำเร็จไปขยายผลในพื้นที่อื่นๆ เพราะเชื่อว่าจะทำให้การศึกษาไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้นได้

         ขณะเดียวกัน จะทำอย่างไรให้การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนนั้นลดเนื้อหาลง แต่เพิ่มการคิดวิเคราะห์ของเด็กให้มากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม เพราะขณะนี้ยังไม่มีการปฎิบัติที่ชัดเจน ซึ่งจะต้องทำให้ขึ้นเป็นแนวปฎิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากมีตัวชี้วัดว่าปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กกลับเพิ่มมากขึ้น 

         เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า จากการประชุมคณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุม ได้เสนอว่าควรมีการกระจายภาระการจัดการศึกษาให้สมดุลมากขึ้น ทั้ง สพฐ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และท้องถิ่น ควรมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของ สพฐ.จากหน่วยงานที่จัดการศึกษาเอง เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาการเป็นต้นแบบของการจัดการศึกษา และควรมีการพัฒนาอบรมครูในเชิงสมรรถนะที่ความก้าวหน้าต้องควบคู่ไปกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก เพราะจะเห็นได้ว่าปัจจุบันครูมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานแต่ผลการเรียนของเด็กกลับย่ำอยู่กับที่
       






     นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาวิชาการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวว่า สสค.ได้ทำการสำรวจในโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กในหัวข้อ"1 วันในชีวิตเด็กไทย" เมื่อเดือน ม.ค.56 ที่ผ่านมา จากกลุ่มตัวอย่าง 3,058 คน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด พบสิ่งที่น่าสนใจว่า พฤติกรรมเด็กไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และเปลี่ยนแปลงเร็วเกินกว่าที่ระบบการศึกษาไทยจะไล่ตามทัน
     นายอมรวิชช์ กล่าวต่อว่า วงจรชีวิตของเด็กไทยใน 1 วัน จะเริ่มตื่นนอนตั้งแต่เวลา 06.18 น. และเข้านอนในเวลา 22.21น. วันหยุดจะนอน 23.39น. เฉลี่ยเด็กไทยมีเวลานอนเฉลี่ย 7-8 ชั่วโมง ถือว่าเด็กไทยมีเวลานอนไม่น้อยมาก ที่น่าสนใจพบว่า สิ่งแรกที่เด็กส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 51.1 ทำหลังตื่นนอน คือ การเช็คโทรศัพท์มือถือ และสิ่งสุดท้ายที่เด็กร้อยละ 35 ทำก่อนนอน คือ ใช้โทรศัพท์มือถือเล่นเฟซบุ๊ก และไลน์ (Line) ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันเด็กไทยอยู่กับสื่อมากขึ้น ตัวเลขเด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือ พุ่งพรวด 2-3 เท่าใน 1 ปี
     ทั้งนี้ เพราะในโทรศัพท์มือถือมีทุกสิ่งที่เด็กต้องการทั้งอินเตอร์เน็ต เฟซบุ๊ก ไลน์ กล้องถ่ายรูป โดยเด็ก ร้อยละ 75.7 เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์คบ่อยถึงประจำ ซึ่งนักเรียนหญิงจะเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์คมากกว่านักเรียนชาย และยังพบเด็กร้อยละ 20.3 ใช้มือถือระหว่างคาบเรียนบ่อยถึงประจำ เด็กร้อยละ 42.5 รู้สึกทนไม่ได้ถ้าอยู่คนเดียวโดยไม่มีโทรศัพท์ และเด็กร้อยละ 28.7 โดยเฉพาะเด็กชายระบุว่า เคยถูกคุกคามทางเพศจากเพื่อนใหม่ที่รู้จักกันทางโซเชียลมีเดีย
     นายอมรวิชช์ กล่าวต่อว่า รูปแบบการใช้ชีวิตของเด็กไทยขณะนี้เปลี่ยนไปมาก ต่างตกอยู่ในภาวะที่ต้องการความรัก ความใส่ใจจากครูมากขึ้น แต่เมื่อดูจากความเป็นจริงจะพบว่าระบบการศึกษาไทย ทำให้ครูมีเวลาให้แก่เด็กน้อยลง เพราะครูยุ่งอยู่กับภาระงานที่ไม่ใช่เรื่องการสอนค่อนข้างมาก จึงทำให้เด็กขาดที่พึ่ง และออกไปเผชิญกับความเสี่ยงต่างๆ ทั้งเรื่อง เพศ ความรุนแรง อบายมุข และสื่อไม่ดี ทั้งที่เด็กไทยยังขาดทักษะชีวิตอีกมาก เพราะครูมัวแต่สอนเรื่องวิชาการมากกว่า เด็กจึงเรียนรู้ด้วยระบบที่เรียนแบบไม่รู้ แบบ copy/paste หรือคัดลอกข้อมูลมาแปะส่งงาน

     "จากการสำรวจข้อมูลเด็กไทย 3,000 กว่าคนทั่วประเทศ เกี่ยวกับ 1 วันในชีวิตเด็กไทย พบว่า เด็กทำการบ้านด้วยการ copy/paste ถึงร้อยละ 45.7 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าอีกหน่อย เราจะผลิตคนซึ่งเรียนแบบไม่รู้เยอะมาก และยังมีข้อมูลระบุด้วยว่า เด็กที่เกิดปีเดียวกัน 8 แสนคน เรียนจบระดับอุดมศึกษาเพียง 2-3 แสนคนเท่านั้น ที่เหลือมีวุฒิแค่ ม.6 ม.3 หรือต่ำกว่านั้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการสอนที่เน้นแต่วิชาการมันตอบโจทย์เด็กแค่ 3 ใน 10 คนเท่านั้น


     จึงถึงเวลาแล้วที่โจทย์การศึกษาต้องถูกยกระดับ และเปลี่ยนไปเป็นโจทย์เพื่อการมีชีวิตและการมีงานทำ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทั้งภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น จะปล่อยให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทำเพียงลำพังไม่ได้ และไม่ควรปล่อยให้การศึกษาไทย เป็นเหมือนกบอยู่ในหม้อน้ำร้อน เพราะเรามีอนาคตประเทศชาติเป็นสิ่งเดิมพัน ถ้าผลิตคนออกมาทั้งระบบ เป็นคนที่ไม่รู้ มีแต่ใบปริญญาไม่มีปัญญา ประเทศชาติจะอยู่ไม่ได้ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเลิกการทะเลาะและวิจารณ์กัน ควรช่วยกันและขยายผลสิ่งที่ประสบความสำเร็จไปในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป" นายอมรวิชช์ กล่าว





ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์สยามรัฐ