Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

หนังสือเรียนเปลี่ยนสมอง แบบ BBL


หนังสือเรียนเปลี่ยนสมอง แบบ BBL

หนังสือเรียนเปลี่ยนสมอง [Brainy Books]
1.หนังสือแบบฝึกหัด BBL    แบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับหลักสูตร  เหมาะกับวัย  ตื่นใจ  น่าอ่าน  มีการออกแบบแบบฝึกหลากหลายประเภท  เพื่อพัฒนาเด็ก  และเชื่อมโยงความรู้ให้ขึ้นสู่การคิดระดับสูง (higher  thinking) องค์ประกอบของหนังสือแบบฝึกหัดที่ดี  คือ

1.ออกแบบรูปเล่ม  ขนาดตัวหนังสือเลือกเนื้อหาและความยากง่ายเหมาะสมกับวัย 
     เรื่องราวในหนังสือต้องมีลักษณะสร้างสรรค์  น่าสนใจ  ใกล้ชิดกับชีวิตของเด็ก  หรือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น  ภาพประกอบมีความอ่อนโยน  เหมาะสมกับวัย  และมีความเป็นท้องถิ่น(local)   หนังสือสมัยใหม่ได้นำเอาความรู้ด้นคอมพิวเตอร์กราฟิกมาออกแบบจัดหน่าหนังสือ  ทำภาพประกอบ ช่วยให้นักอ่านทั้งหลายรู้สึกเห็นจริงเห็นจังไปตามเรื่องที่อ่านมากยิ่งขึ้น  

2.มีภาพประกอบมากพอ  และเหมาะสมกับเนื้อหา
     หนังสือที่ดีควรมีภาพประกอบในสัดส่วนที่มากพอไม่ใช่มีตัวอักษรเต็มหน้าไปหมด  ภาพช่วยสื่อความหมาย  ช่วยให้เด็กเข้าใจคำศักท์ คำสำคัญ และเนื้อเรื่องได้ง่าย

3.แบบฝึกหัดไม่น่าเบื่อ  ท้าทายให้นักเรียนอยากรู้  อยากลอง  อยากทำ
     แบบฝึกหัดต้องมีการออกแบบที่น่าสนใจ  เช่น ออกแบบคล้ายเกม  มีภาพเข้าช่วย  และแบ่งกิจกรรมออกเป็นขั้นเป็นตอน  ช่วยให้เด็กก้าวไปที่ละขั้น  จนสามารถทำได้สำเร็จในที่สุด

4.วิธีนำเสนอช่วยชี้นำให้การเรียนรู้ในหัวข้อนั้นๆ เกิดได้ง่าย
     มีการออกแบบจัดวางเนื้อหาและแบบฝึกหัด  อย่างเป็นขั้นตอน  จากง่ายไปยาก  ช่วยสร้างความเข้าใจ  เรียกว่ามี  instructional  system desingn  ช่วยให้เกิด concept  ง่ายขึ้น

5.นำเสนอความรู้โดยให้ความสำคัญกับภาพและใช้ Graphic  Organizers เพื่อให้สมองสร้าง (construct) ความรู้ได้ง่าย
     เพื่อให้การนำเสนอความรู้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่  ควรมีการจัดระบบข้อมูลในหนังสือ  โดยใช้ Graphic  Organizers ต่างๆ เช่น ตารางกรอบสี่เหลี่ยม  อธิบาย  Concept  โดยใช้ภาพ  ไม่ถ่ายทอดความรู้โดยเขียนบรรยายอย่างเดียว

หนังสือน่าเบื่อ
     เรื่องราวในหนังสือไม่น่าสนใจ  ห่างไกลจากชีวิตเด็ก  เป็นวิชาการโดดๆ จะทำให้เด็กเบื่อและไม่อยากเรียนรู้
หนังสือยากเกินไป
     ไม่ควรนำมาใช้เรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนท้อแท้  รู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว  ซึ่งนำไปสู่การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้นักเรียนไม่มีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้
หนังสือไม่มีภาพ  มีแต่ตัวอักษรเต็มหน้า
     หนังสือที่มีแต่ตัวอักษร  ไม่จัดทำภาพประกอบ  ทำให้เด็กไม่สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้  และหมดความสนใจ

2.หนังสืออ่านเพิ่มเติม
     หนังสืออ่านเพิ่มเติม  หมายถึง หนังสือที่กำหนดให้อ่านเพิ่มเติมตามหลักสูตร  รวมทั้งหนังสือที่มิได้กำหนดไว้  แต่คุณครู  ผู้ปกครอง  และนักเรียนเป็นผู้เลือกเองการเลือกหนังสืออ่านเพิ่มเติมมีความสำคัญยิ่ง  ควรเลือกหนังสือที่สอดคล้องกับพัฒนาการของแต่ละช่วงวัย  ต้องจัดหาหนังสือที่กระตุ้นให้อยากรู้  อยากเรียน  รวมทั้งรู้จักต่อยอดรากฐานที่มีอยู่แล้ว  อย่าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ที่ว่า ตั้งแต่เด็กจนโต  นักเรียนก็สนใจอ่านแต่การณ์ตูนเท่านั้น

     1.ประเภทหนังสืออ่านเพิ่มเติม  ที่เหมาะสมกับวัย
     หนังสือที่ช่วยกระตุ้นการอ่านของนักเรียนชั้น ป.1-3  ควรครอบคลุมหนังสือประเภทต่อไปนี้
      * หนังสือบทร้อยกรอง
      * หนังสือบทร้องเล่น  เพลงกล่อมเด็ก  และบทเพลงเด็ก
      * นิทานพื้นบ้าน
      * นิทานชาดก นิทานวรรณคดี
      * หนังสือแนวอื่นๆ เช่น แนวผจญภัย  สืบสวน  หนังสือ
     หนังสือที่ช่วยกระตุ้นการอ่านของนักเรียนชั้น ป.4- 6 ควรเพิ่มประเภทหนังสืที่ยาวขึ้นและซับซ้อนขึ้น  เช่น
      * บทคล้องจอง  คำกลอน  บทเพลงเด็ก
      * วรรณกรรมเยาวชน
      * เรื่องสั้น
      * สารคดี
      * นิทานนานาชาติ
      * นิทานผจญภัย (adventures)

    2. ประเภทหนังสือที่ไม่เหมาะสมกับวัยเด็ก
     หนังสือที่ไม่ควรอยู่ในมุมอ่าน  แต่มักพบบ่อยในห้องเรียนของนักเรียน  ได้แก่หนังสือต่อไปนี้
       * นวนิยายสำหรับผู้ใหญ่
       * นิตยสารบันเทิงต่างๆ
       * หนังสือคู่มือครู  แนวการสอน
       * หนังสืออ้างอิงวิชาการ
       * หนังสือการ์ตูนที่มีเนื้อหาหรือภาพไม่เหมาะสม

Don't

    1.หนังสือที่ไม่เหมาะสมกับวัย ไม่ควรนำมาไว้ในมุมอ่าน  หรือนำมาอ่านให้เด็กฟัง  ซึ่งรวมถึงหนังสือที่มีเนื้อหายากเกินไป  หรือหนังสือที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม
    2.หนังสือไม่หลากหลาย  มุมอ่านไม่ควรมีหนังสือประเภทเดียว  โดยเฉพาะไม่ควรมีแต่หนังสือแปล  หรือการ์ตูนเพราะเราต้องการปลูกฝังให้เด็กรู้จักสังคมไทย  และรู้จักอ่านหนังสือแบบอื่นๆ  ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิด  จินตนาการ  ความรู้สึก ฯลฯ ที่แตกต่างไปจากหนังสือแนวการ์ตูนทั่วไป
    3.หนังสือเก่าชำรุดจนอ่านไม่ได้  ควรนำออกจากชั้นหนังสือให้หมด  เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะเก็บไว้  ได้แก่  หนังสือที่ภาพเลือน  ตัวเล่มฉีกขาด  หรือเก่ามากจนเปิดอ่านไม่ได้แล้ว  เป็นต้น  ควรจะหาหนังสือที่อยู่ในสภาพดีมาทดแทน

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : http://www.namsongkram.com/2015/06/blog-post_28.html

ห้องเรียนที่กระตุ้นสมอง

ห้องเรียนที่กระตุ้นสมอง

ห้องเรียนที่กระตุ้นสมอง (Brainy Classroom)
1.จัดให้มี "มุมอ่าน" (reading corner) ในห้องเรียน
       ในห้องเรียนควรมีมุมอ่าน (reading corner) เพื่อจัดวางหนังสือที่น่าสนใจ  ที่นักเรียนอยากจะหยิบมาอ่าน  อีกทั้งคุณครูสามารถจะใช้เพื่ออ่านเพิ่มเติมให้นักเรียนฟัง  ไม่ควรให้นักเรียนต้องรอถึงจนชั่วโมงห้องสมุดกว่าจะได้อ่านหนังสือที่ชอบ  การมีมุมอ่านอยู่ในห้องเรียนจะปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
มุมอ่าน - ควรจัดหาชั้นหนังสือแบบโชว์  วางให้ตั้งฉากกันเป็นมุม  เพื่อให้เกิดพื้นที่ปิด (enclosed area) ไม่ควรอยู่ติดกับประตูห้อง  เพราะมีคนเดินผ่านไปมารบกวนสมาธิของนักเรียน
โต๊ะและสื่อ - ช่วยให้พื้นที่สำหรับการอ่านเกิดขึ้นมีขอบเขตบริเวณชัดเจนขึ้น
ครูอ่านหนังสือให้ฟัง - ที่มุมอ่านนี้  คุณครูควรอ่านหนังสือให้นักเรียนฟังเป็นประจำ  ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
เข้ามุมอ่าน - ทั้งครูและนักเรียนใช้มุมอ่าน  เมื่อครูต้องการอ่านหนังสือให้ฟัง  หรือเมื่อนักเรียนต้องการอ่านในช่วงพัก  หรือทำงานในชั่วโมงเสร็จแล้ว
มุมอ่านดีอย่างไร
     - สร้างพื้นที่สำหรับการอ่าน  ไว้ในห้องเรียน
     - ชั้นวางหนังสือมีสีสัน  ดึงดูดใจ  เห็นปกหนังสือได้ชัดเจน
     - สร้างนิสัยรักการอ่าน
To-do List  วิธีจัดมุมอ่าน
     - เลือกมุมหนึ่งของห้องเรียน  จัดเป็นมุมอ่าน
     - ต้องมีหนังสือหลากหลาย  หนังสือแต่ละเรื่องมีจำนวนมากพอ  สำหรับนักเรียนทุกคน
     - ชั้นวางหนังสือ  เป็นแบบโชว์หน้าปก  กระตุ้นการอ่าน
     - หนังสือที่วางบนชั้น  เป็นหนังสือที่สอนในสัปดาห์นั้น  และหนังสือเสริมการอ่าน
     - วางเสื่อไว่ที่มุมอ่าน  เพื่อกำหนดให่มีพื้นที่ปิด (enclosed area) ที่แน่นอน
เข้ามุมอ่าน  เมื่อไหร่บ้าง
     - เวลาคุณครูอ่านหนังสือให้เด็กฟัง  ให้นักเรียนนั่งฟังในมุมอ่าน
     - เมื่อเด็กทำงานของตัวเองในชั่วโมงเสร็จแล้วให้เข้ามุมอ่าน
     - ช่วงเวลาพัก  ให้เด็กเข้ามุมอ่านได้
2.ใช้กระดานเคลื่อนที่
    ให้ห้องเรียนควรมีกระดานเคลื่อนที่  เพื่อให้ครูสามารถนำเสนอความรู้ที่โดดเด่นและใกล้ชิดกับนักเรียน  รวมถึงใช้ในการติดบัตรภาพ  บัตรคำ  สื่อการสอนต่างๆและผลงานนักเรียน  การใช้แต่กระดานดำหน้าห้องในกิจกรรมการสอน  ไม่เพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจของสมอง  เพราะกระดานดำอยู่ห่างจากสายตานักเรียน
   สีอ่อน    สีกระดานควรเป็นสีอ่อน  ชมพูอ่อน  ฟ้าอ่อน  เขียวอ่อน  หลีกเลี่ยงสีเข้มและสีมืด
   ความสูง 1.70 เมตร    สำหรับเด็กประถม  กระดานสูง 1.70 เมตร  ส่วนกระดานห้องอนุบาลควรสูง  1.50 เมตร
   มีล้อ   เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน  เช่น  หมุนกลับด้าน  หรือเลื่อนกระดานเข้าไปใกล้ตัวนักเรียนได้ง่าย
       ด้านหนึ่งเป็นกระดานเป็นแผ่นสังกะสี  ติดแม่เหล็ก  ส่วนอีกด้านเป็นตะแกรงใช้ไใ้หนีบข้อมูลต่างๆและชาร์ตได้  
3.จัดให้มีบอร์ดความรู้ในห้องเรียน
     บอร์ดในห้องเรียนมีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียน  เพราะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอน  คุณครูต้องใช้บอร์ดในการนำเสนอความรู้ใหม่ๆ  และติดผลงานของนักเรียน
     - บอร์ดตะแกรง   นำตะแกรงมาตอกตะปูติดไว้ที่บอร์ด  แล้วนำบัตรภาพบตรคำ  หรือข้อมูลอื่นๆ มาหนีบไว้ด้วยไม้หนีบ
     - ปรับเปลี่ยนข้อมูล   ข้อมูลบนบอร์ดควรปรับเปลี่ยนให้ตรงกับสิ่งที่เรียน เช่น  ติดคำศัพท์หรือ Concept  ที่สำคัญในสัปดาห์นั้นๆ อย่าปล่อยให้ข้อมูลใดๆ ติดทิ้งไว้ตลอดทั้งปี
     - ขนาดตัวหนังสือใหญ่   ตัวหนังสือที่ใช้ควรมีขนาดประมาณ 2 นิ้ว  โดยเฉพาะในชั้น ป.1  เด็กยังอ่านหนังสือไม่คล่อง  ต้องใช้ขนาดตัวหนังสือใหญ่ตัวหนังสือควรเป็นสีเข้มบนพื้นขาว  เห็นได้ชัดเจน
     - มีบอร์ดในวิชาที่สำคัญ   คุณครูอาจแบ่งวิชาตามสีบอร์ด  แล้วปรับเปลี่ยนข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ  ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนในแต่ละสัปดาห์
4.จัดแสดงผลงานนักเรียนเป็นประจำ
      การแสดงผลงานนักเรียนในห้องเรียนมีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียน  เพราะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนสอนสอน  คุณครูนิยมแสดงผลงานของนักเรียนบนบอร์ด  แต่นอกเหนือจากการใข้บอร์ดแล้ว  คุณครูยังสามารถแสดงผลงานของนักเรียนในพื้นที่ต่างๆ  ของห้องเรียน  แตไม่ควรติดผลงานไว้จนนรกห้องไปหมด  ผลงานเก่าควรเก็บให้เรียบร้อย
      - ขึงเชือกแขวนผลงานของนักเรียน     การนำผลงานของนักเรียนมาแขวนไว้กลางห้องเรียน  ไม่เก็บเข้าตู้ทันที  ช่วยให้นักเรียนได้เกิดความรู้สึกว่าตัวเองทำได้สำเร็จ  เกิดแรงจูงใจ  (motivation) ที่จะเรียนรู้ต่อไป
      - ใต้กระดานก็แขวนได้     นักเรียนสามารถนำผลงานมาแขวนไว้ที่ใต้กระดานดำ  โดยใช้เชือกขึงแล้วนำไม้หนีบมาหนีบไว้  ควรจะเปลี่ยนบ่อยๆ อย่างน้อยทุกสัปดาห์  ไม่แขวนผลงานเก่าทิ้งไว้เป็นเดือน
Let's  Check
ห้องเรียนที่กระตุ้นสมอง  (Brainy Classroom)
     1. ผนังห้องเรียนสะอาดสะอ้าน  มีสีสัน  กระตุ้นความสนใจ เปิดสมอง
     2. มีมุมอ่านในห้องเรียน  เพื่อจัดกิจกรรมการอ่าน  และกระตุ้นให้รักการอ่าน
     3. โต๊ะเก้าอี้ของนักเรียน  ควรอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้  ทาสีใหม่  หรือใช้โฟเมก้าปิดทับที่ชำรุด  หรือที่เก่าเกินไป
     4. จัดโต๊ะเรียนเป็นกลุ่ม  เพื่อสะดวกในการจัดกิจกรรมกลุ่ม
     5. ภาพและสื่อที่ติดอยู่บนฝาผนัง และบอร์ดต่างๆต้องสอนคล้องกับเนื้อหาที่เรียน  ไม่ติดตายไว้ตลอดปี
     6. มีป้ายนิเทศ  บอร์ดความรู้  และพื้นที่แสดงผลงานนักเรียน
     7. มีโต๊ะเพื่อใช้ในการสาธิตการสอน  ต่างหากจากโต๊ะครู
     8. มีชั้นแยกเก็บอุปกรณ์  เครื่องเขียน  หนังสือ  สมุดแบบฝึกหัดเป็นสัดส่วน
     9. มีที่แขวนหรือตู้เก็บกระเป๋าหนังสือ  ของนักเรียนเป็นสัดส่วน
    10. มีกระดานเคลื่อนที่  เพื่อนำเสนอความรู้ให้โดดเด่น และใกล้ชิดกับนักเรียน




http://www.namsongkram.com/2015/07/blog-post.htmlขอบคุณแหล่งข้อมูลค่ะ