Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

ปัญหาการอ่านการเขียนภาษาไทย

เสียงจากครูภาษาไทยแม่ฮ่องสอน
ที่บอกกล่าวถึง
ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทย

        สืบเนื่องจากการได้รับเชิญเป็นวิทยากรการอบรมครูภาษาไทย ของศูนย์ภาษาไทย โรงเรียนในฝัน(โรงเรียนดีใกล้บ้าน) ของสพท.แม่ฮ่องสอน เขต ๑ และ ๒  ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๒  สิงหาคม ๒๕๕๔  ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนสบเมยพิทยาคม  มีคุณครูภาษาไทยเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๘๕  คน จาก ๖๐ โรงเรียน ในทุกอำเภอของแม่ฮ่องสอน 
        นับเป็นโอกาสและโชคดีของชีวิตที่ได้พบปะพูดคุย  แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณครูที่อยู่บนดอยสูง อยู่ในโรงเรียนไกลกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาในการจัดการเรียนการสอนมากมานานาประการ โดยเฉพาะในเรื่องของกลุ่มสาระภาษาไทย  ซึ่งเป็นสาระหลักที่เด็กต้องได้เรียน และเรียนได้  ใช้ภาษาสื่อสารเป็นกิจกรรมแรกที่ผู้เขียนได้เชิญชวนคุณครูเล่าประสบการณ์ของตนเองจากการเป็นครูผู้สอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาว่าพบปัญหาอะไรบ้าง  เพื่อการหาแนวทางในการแก้ไขและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (ในส่วนที่เราพึงทำได้)
        สรุปปัญหาของคุณครู ดังนี้    ผู้เขียนขอนำเสนอทั้งหมดโดยไม่ย่อ หรือตัดทอน หรือ รวมกลุ่มปัญหาเดียวกัน     ทั้งนี้เพื่อที่เพื่อนครูหรือท่านผู้อ่านจะได้รับทราบข้อมูลว่าหลายโรงเรียนประสบปัญหาเดียวกัน 

๑.ด้านนักเรียน
              (๑)พูดไม่ชัด
                   (๒)สะกดไม่ถูกต้อง
                   (๓)ใช้ภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย
                   (๔)อ่านไม่ได้เขียนไม่ออก
                   (๕)ออกเสียงคำควบกล้ำไม่ถูกต้อง
                   (๖)ใช้คำไม่ตรงความหมาย
                   (๗)คิดวิเคราะห์ไม่เป็น
                   (๘)ขาดทักษะการอ่านและการเขียน
                   (๙)เขียนตามภาษาพูดของตน
                   (๑๐)จำสระบางตัวไม่ได้
                   (๑๑)อ่านสะกดคำไม่เป็น  อ่านไม่ออก  เขียนไม่ได้
                   (๑๒)ลายมือไม่สวย
                   (๑๓)จำมาตราตัวสะกดไม่ได้
                   (๑๔)มีพื้นฐานทางภาษาไทยไม่แน่น
                   (๑๕)มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านทักษะการอ่าน-เขียน
                   (๑๖)คิดวิเคราะห์ไม่เป็น   ตีความไม่ได้
                   (๑๗)ผันวรรณยุกต์ไม่เป็น
                   (๑๘)ขาดนิสัยรักการอ่าน  ไม่แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
                   (๑๙)สนใจสื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากกว่าการอ่านเพื่อเสริมความรู้
(๒๐)เด็กอ่านไม่ออก
                   (๒๑)เด็กไม่สนใจเรียน
                   (๒๒)นักเรียนไม่ชอบอ่านหนังสือ
                   (๒๓)นักเรียนไม่สนใจเรียน 
                   (๒๔)สะกดคำไม่ได้
                   (๒๕)เขียนเรียงความไม่ได้  ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง
                   (๒๖)ขาดทักษะในการพูดภาษาไทย
                   (๒๗)คิดไม่เป็น
                   (๒๘)อ่านออกเสียง  ร  ล  คำควบกล้ำไม่ถูกต้อง
                   (๒๙)อ่านสะกดคำไม่ถูกต้อง
                   (๓๐)อ่านออกเสียงไม่ตรงตามตัวสะกด
                   (๓๑)ไม่สามารถเรียงประโยคได้ถูกต้อง
                   (๓๒)ไม่สามารถสรุปใจความของเรื่องได้  แนวคิดของเรื่อง  (บทประพันธ์)
                   (๓๓)ไม่สามารถถอดความและแปลความได้
                   (๓๔)เรียงลำดับของเรื่องยังไม่ได้
                   (๓๕)คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านไม่ได้
                   (๓๖)ผันวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง
                   (๓๗)เขียนตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
                   (๓๘)เขียนสะกดผิด           
                   (๓๙)พูดไม่ชัด  เช่น  คำควบกล้ำ  ตัวสะกด
                   (๔๐)เขียนตามคำพูดของตัวเอง
                   (๔๑)ขาดเรียนบ่อย
                   (๔๒)ไม่มีความคิดสร้างสรรค์  ไม่มีจินตนาการ
                   (๔๓)พูดภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย
                   (๔๔)เด็กไม่รักการอ่าน
                   (๔๕)เด็กมีความหลากหลายในชนเผ่า
                   (๔๖)เด็กไม่รู้จักวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรอง
                   (๔๗)นักเรียนรู้จักพยัญชนะและสระ  แต่ไม่สามารถประสมคำได้
                   (๔๘)เขียนสะกดคำตามการออกเสียงของตนเองซึ่งใช้ตัวสะกดผิดเช่นช้าง-ช้าน
                   (๔๙)นักเรียนผันวรรณยุกต์ไม่ได้
                   (๕๐)เวลาอ่านออกเสียงจะไม่ออกเสียงตัวสะกดเช่นโรงเรียน-โรงเรีย เขียน- เขีย
                   (๕๑)เวลาเขียนคำ  มักวางตำแหน่งรูปสระหรือวรรณยุกต์ผิด  เช่น  หูน
                   (๕๒)คิดวิเคราะห์และตีความไม่เป็น
                   (๕๓)เขียนเรื่องราวไม่ได้ใจความ
                   (๕๔)ลืมเรื่องที่เรียนได้ง่าย
                   (๕๕)ไม่สามารถตีความจากบทความ
                   (๕๖)สรุปใจความสำคัญไม่ได้
                   (๕๗)ไม่สามารถผันคำได้
                   (๕๘)จำแนกคำไม่ได้
                   (๕๙)สะกดคำไม่ได้
                   (๖๐)เป็นชาวเขาเผ่าต่าง ๆ  ใช้ภาษาถิ่น  อ่านตัวสะกดไม่ได้
                   (๖๑)มีเด็ก LD ไม่สนใจในการเรียน
                   (๖๒)เด็กไม่มีความตระหนักในวิชาภาษาไทย
                   (๖๓)เด็กไม่มีพื้นฐานในการเรียนภาษาไทยทำให้ประสบปัญหาการเรียนที่สูงขึ้น
                   (๖๔)เด็กไม่ยอมคิด ไม่ยอมทำกิจกรรม
                   (๖๕)เด็กติดเกม
                   (๖๖)ขาดเรียนบ่อย
                   (๖๗)เด็กไม่รักการอ่าน

๒.ด้านครูผู้สอน               
(๑)ครูไม่จบเอกภาษาไทย
                   (๒)ครูสอนไม่ครบชั้น
                   (๓)ครูสอนหลายสาระการเรียนรู้
                   (๔)ครูสอนไม่ตรงวิชาเอก             
                   (๕)ครูขาดเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ
                   (๖)ครูไม่มีความถนัดในการสอนบางเนื้อหาสาระ
                   (๗)ครูใช้สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ            
                   (๘)ครูขาดเทคนิคการสอนภาษาไทย / สอนไม่ตรงตามเอก
                   (๙)ครูสอน ๑  คน ต่อ๒  ชั้น          
                   (๑๐)ครูบางท่านไม่ได้จบเอกภาษาไทย  ขาดความแน่นในเนื้อหา
                   (๑๑)วิธีการสอน  สื่อการสอน  ยังไม่มีเทคนิควิธีการที่ไม่หลากหลาย
                   (๑๒)ครูมีภาระงานมาก ไม่สามารถสอนเสริมหรือติดตามพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กที่สอนได้อย่างเต็มที่
                   (๑๓)ครูสอนไม่ตรงตามวุฒิ
                   (๑๔)ครูสอนภาษาไทยมีน้อย
                   (๑๕)ครูน้อยรับผิดชอบหลายชั้นเรียน
                   (๑๖)ครูไม่เปิดใจเข้าหาเด็ก
                   (๑๗)ครูไม่รักการอ่าน
                   (๑๘)ครูมีความรู้ไม่แน่นในเรื่องหลักภาษา
                   (๑๙)สอนควบชั้น  ทำให้ดูแลนักเรียนไม่ทั่วถึง
                   (๒๐)ครูสอนไม่ตรงเวลา
                   (๒๑)ครูไม่ใช้สื่อ
                   (๒๒)ครูมีภาระงานมาก
                   (๒๓)สอนไม่ครบชั้น
                   (๒๔)ขาดสื่อและเทคโนโลยี
                   (๒๕)ครูย้าย
                   (๒๖)ครูไม่รักการอ่าน                
๓.ด้านผู้บริหารสถานศึกษา
                   (๑)ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของสาระภาษาไทย 
(๒)ผู้บริหารไม่สนับสนุน ส่งเสริมให้ครูไปอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง
(๓)ไม่จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเพิ่มทักษะภาษาไทยให้ครู
(๓)ไม่สนับสนุนงบประมาณให้กับครูภาษาไทย
                   (๔)ผู้บริหารไม่สนับสนุนครูในการไปพัฒนาตน
                   (๕)ผู้บริหารขาดการนิเทศติดตาม
                   (๖)ผู้บริหารขาดงบประมาณในการสนับสนุนสื่อ / กิจกรรม
                   (๗)ไม่เห็นความสำคัญของวิชาภาษาไทย

๔.ด้านผู้ปกครอง
(๑)ผู้ปกครองไม่ให้ความสนใจ
                   (๒)ผู้ปกครองบางท่านไม่มีเวลาฝึกเพิ่มเติม และติดตามดูแลเมื่อเด็กอยู่บ้าน       
ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่มีเวลาให้ลูกไม่มีความรู้ ทำให้เด็กไม่มีความรับผิดชอบในภาระงาน และการบ้านของตน

๕.ด้านสื่อการเรียนการสอน
                   (๑)สื่อการเรียนการสอนไม่หลากหลาย
                   (๒)เนื้อหาวิชาบางสาระไม่น่าสนใจ  ยากเกินไปสำหรับเด็ก
                   (๓)ขาดแหล่งเรียนรู้
                   (๔)สื่อการสอนไม่เพียงพอ
                   (๕)นักเรียนยังขาดแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 
(๖)สื่อไม่พอเพียงต่อจำนวนนักเรียน

๖.ด้านอื่นๆ
                   (๑)ขาดการติดตามดูแล  ส่งเสริม  และให้ความสำคัญการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
                   (๒)ขาดงบประมาณในการสนับสนุน


        ทั้งหมดเป็นภาษาเขียนของกลุ่มคุณครูภาษาไทยที่บางประโยคอาจสื่อความไม่ชัด  ท่านผู้อ่านที่สงสัย กรุณาถามได้นะคะ  ในตอนต่อไปผู้เขียนจะขอสรุปและจัดกลุ่มปัญหา พร้อมนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมที่ได้จัด ณ โรงเรียนสบเมยพิทยาคม  เพื่ออาจจะเป็นแนวทางแก่คุณครูผู้สอนภาษาไทยได้บ้างไม่มากก็น้อย



ด้วยความจริงใจและมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ค่ะ
วัชราภรณ์  วัตรสุข


วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

เพลงสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา


 

เพลงสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา
  

๑.   เพลงไตรยางศ์    (ทำนองราซาซายัง)
     จงจำไว้เธอจ๋า          เวลาเรียนอักษรไตรยางศ์ 
พยัญชนะมีเสียงต่าง ๆ     จึงจัดวางสามหมู่นะเธอ
อย่าละเมอเผลอไผล        เสียงสูงไซร้มีสิบเอ็ดตัว  
เสียงกลางนั้นอย่าได้เมามัว     มีเก้าตัวเสียงออกง่ายดาย
อักษรที่เหลือนั้น         เสียงของมันต่ำกว่าใคร ๆ 
เขาจัดไว้ยี่สิบสี่           จำให้ดีนะนี่ไตรยางศ์
ไข่  ขวด  ฉิ่ง  ถุง  ฐาน         ผึ้ง   ฝา   ศาล   ฤๅษี  และ เสือ   
  หีบ   นั้นเข้ามาจุนเจือ     เมื่อครบครันนั่น  สิบเอ็ดตัว
ไก่ และ จาน เด็ก นั้น         เดินตามกัน  อีก เต่า ชฎา 
ทั้งปฏัก  ใบไม้  ป ปลา       อ่าง นั้นมา  ครบ เก้าพอดี
อักษรที่เหลือนั้น                 คิดเร็วพลัน  ควายคู่ระฆัง 
ยักษ์  ลิง  เรือ  โซ่  มีพลัง     ญ หญิงยัง มีอีกมากมาย
             --------------------------------  

๒. เพลงไตรยางศ์ (ทำนองผู้ใหญ่ลี)
ไตรยางศ์...คืออักษรสามหมู่
               พวกเรารู้นั่นคืออะไร
อักษรสูง  อักษรกลาง  อักษรต่ำ (ซ้ำ)   พวกเราจงจำกันไว้ให้ดี (จำไว้ให้ดี)
อักษรกลางมีเก้าตัวนะน้องพี่ (ซ้ำ)      อักษรสูงนั้นมีทั้งหมดสิบเอ็ดตัว
จำไว้นะจ๊ะทูนหัว ๆ  อีกยี่สิบสี่ตัว       อักษรต่ำธรรมดา  อักษรต่ำธรรมดา
            --------------------------------

 ๓. เพลง วรรณยุกต์  (ทำนองป่าดงพงพี)
           เด็กไทยเราเอย     หนูเคยเรียนรู้เรื่องคำไทย     
จำได้ไหมเสียงนั้นต่างไปมากมี     วรรณยุกต์นั้นกำหนดซิ 
สี่รูปหนูเอยจำมั่น         ไม้เอก  ไม้โท  ไม้ตรี  ไงนั่น
 อีกจัตวาเขียนไว้ไหนกัน        อ๋อ..บนพยัญชนะต้นคำ
         เด็กไทยเราเอย  หนูเคยเรียนรู้เรื่องคำไทย  
อยากจำขึ้นใจ   หนูจงรีบไปท่องจำ
วรรณยุกต์ห้าเสียงอย่าซ้ำ  แรกนำด้วยเสียงสามัญ
เอก  โท  ตรี  แล้วจัตวาไงนั่น  กา ก่า  ก้า  ก๊า  ก๋า  เรียงกัน   
หนูจำให้มั่นเรื่องวรรณยุกต์ไทย
      ----------------------------

๔. เพลงเสียงในภาษาไทย    (ทำนองพม่าเขว/เพลงช้าง)
       เสียง เสียง เสียง           น้องเคยเรียนเสียงหรือเปล่า
เสียงนั้นสำคัญไม่เบา   ถ้าหากพวกเราสนใจๆ 
เรียนได้ง่ายดายเหลือเกิน
       เสียง  เสียง เสียง           เสียงแท้น้องรู้หรือเปล่า
เสียงแท้ คือ สระ ของเรา     ถ้าหากพวกเราสนใจ ๆ
เรียนได้ง่ายดายเหลือเกิน
      เสียง  เสียง เสียง       เสียงแปรน้องรู้หรือเปล่า
เสียงแปรพยัญชนะของเรา    ถ้าหากพวกเราสนใจ ๆ
เรียนได้ง่ายดายเหลือเกิน
      เสียง  เสียง เสียง            เสียงดนตรีน้องรู้หรือเปล่า
เสียงดนตรี วรรณยุกต์ ของเรา    ถ้าหากพวกเราสนใจ ๆ
เรียนได้ง่ายดายเหลือเกิน
          ----------------------------

๕. เพลงเสียงในภาษาไทย   (ทำนองพวงมาลัยของฉัน)
      เสียงในภาษาไทย               มีเท่าไรรู้ไหมคนดี
เสียงแท้ เสียงแปร เสียงดนตรี      มีสามนะซี  คนดีจำไว้
เสียงแท้..นั่นหรือจ๊ะ               แทนเสียงสระโปรดจงแน่ใจ
เสียงแปร..พยัญชนะนั่นไง ๆ    เสียงดนตรี..นั้นใช้แทนวรรณยุกต์เอย
                          ----------------------------

๖. เพลงมาตราตัวสะกดเก้ามาตรา   (ทำนองแคนลำโขง)
       มาตราตัวสะกดของไทย    รวบรวมไว้มีเก้ามาตรา 
 มาตราแม่ ก กา    อย่าชักช้าจำให้ดี
 คำที่ไม่มีตัวสะกด     อย่าละลด  เช่น   เต่า   ปู ปลา
       มาตราตัวสะกดแม่กน   อีกแม่กม และแม่กง
 เกย   เกอว   อย่าใหลหลง   ให้เราจงจำให้มั่น
ห้าแม่นั้นสะกดต่างกัน    มาเร็วพลันจำให้ขึ้นใจ
      มาตราแม่กก กด กบ  จำให้ครบเก้าแม่พอดี
มาตราทั้งสามแม่นี้   อย่ารอรีออกเสียงสั้น ๆ
ให้คำนั้นผันเป็นคำตาย   เราทั้งหลายจำได้ไม่ลืม
               ----------------------------

 ๗. เพลงมาตรา แม่ ก กา    (ทำนองรำวงดาวพระศุกร์)
          มาเร็วมา มาเรียนแม่กา ให้ร่าเริงใจ
พวกเราเริงร่า อุราแจ่มใส มาเรียนแม่ไอแม่เอา
มะมาพวกเราเร็วมา ใช้เสียงอะ อา อุ ไอ อำ เอา
เราไม่ใส่ตัวสะกด เราตัดออกหมดสะกดไม่เอา
ใช้แต่สระ เช่น ว่า เรา เขา พ่อ ตัว หัวเข่า เรามี
ฤ ฤๅ  เอะ เอ  อุ อู อัวะ อัว  อึ อือ  อะ อา อิ อี
ใช้สระให้ดี  แม่กาไม่มีตัวสะกดเติม จำไว้ ๆ ให้ดี  
ถ้าเป็นอย่างนี้เราเรียกแม่ กา ไม่ระอาเพราะใช้ถูกเอย
             ------------------------

๘. เพลงมาตราแม่กก (ทำนองเพลง Are you sleeping)
        มาตราแม่กก ๆ          ไก่ ไข่ ควาย ๆ
ฆ ระฆัง ตีดังกังวาน ๆ       สราญสุขใจ ๆ
โยกเยกเลขหก ๆ                เมฆ โรค โชค ๆ
 ล้วนสะกดด้วยแม่กก ๆ    มีสี่ตัว ๆ
         -----------------------


๙. เพลงมาตราแม่กด  (ทำนองเพลงช้าง)
         คด มด งด          รู้จักแม่กดหรือไม่
เห็น "ด" สะกดที่ใด    เป็นมาตราไทย แม่กด นะ ๆ
จำไว้ซิจ๊ะ มีหลายคำ
       พจน์ รถ ยศ       ก็เป็นมาตราแม่กด
เหมือน "ด" สะกดทุกคำ    เราต้องจดจำกันให้ดี ๆ
ลองหาดูซิ มีหลายคำ
              ----------------------------

 ๑๐.เพลงมาตราแม่กด (ทำนองเพลงสามัคคีชุมนุม)
      มาตราสะกดแม่กด     จำไว้ให้หมดสิบแปดตัวมี
จ จาน ฉ ฉิ่ง เข้าที              ช ช้าง เร็วรี่ อีก ฌ กระเฌอ
ซ โซ่ ฎ ชฎา ฏ ปฏัก             ช่างงามน่ารัก ฑ นางมณโฑ
ฒ เฒ่า ฐ ฐานใหญ่โต           ด เด็กมากโข เดินโซ ต เต่า
ท ทหาร ถ ถุง ธ ธง               ต่างมุ่งหน้าตรง ยัง ศ ศาลา
ส เสือร้าย อยู่ในพนา             ท่านมีเมตตา ษ ฤๅษีอยู่ไพร
มาตราสะกดแม่กด                จำไว้ให้หมดสิบแปดตัวนี้
มาท่องเร็วไวเข้าซิ                 อย่าได้รอรีจำให้ขึ้นใจ
                         --------------------

๑๑. เพลงมาตราแม่กบ (ทำนองเพลงตบแผละ)
     จับกบ ตะปบ ประจบ         เสียงดังอบ อบ อบ อบ
เห็น บ สะกดที่ใด                  ไม่ต้องสงสัย นั่นคือแม่กบ
ประสพ  ถูกสาป ก่อบาป     มีลาภ แม่กบ อบ อบ
ดูซิ ยีราฟ นั่นไง                    คำเหล่านี้ไซร้ เหมือน บ สะกด
              ---------------------------
  
๑๒. เพลงมาตราแม่กง  (ทำนองเพลงเจ็ดวันที่ฉันเหงา)
    มาซิเชิญออกมา        หาตัวสะกดแม่กง 
จง ดำรง มั่นคง              ยืนตรง ธงชาติไทย
จูง นกยูง บินสูง            ฝูงปลาร่าเริงใจ
ลงลำคลองว่องไว         กางใบเรือไม่โคลง
ดูซิดู ง งู อยู่ท้าย           ใคร ๆ ก็มอง
หนู ๆ จงกู่ร้อง             หาตัวสะกดแม่กง
      ------------------------

๑๓. เพลงมาตราแม่เกย (ทำนองเพลงช้าง/พม่าเขว)
         ยักษ์ ยักษ์ ยักษ์             หนูรู้จักยักษ์หรือไม่
เห็น ย ยักษ์ อยู่หลังใคร         เป็นมาตราไทย เรียกแม่เกย (ซ้ำ)
เช่น เฉย เลย ลาย ตาย เอย
            --------------------------------

๑๔. เพลงมาตราแม่เกอว (ทำนองเพลงช้าง/พม่าเขว) 
       แหวน แหวน แหวน          หนูเคยเห็นแหวนหรือไม่
แหวนงามตามอยู่หลังใคร            เรียกคำนั้นไซร้ว่าแม่เกอว ๆ
แมว ขาว หิวข้าว แล้วเอย
                --------------------------------

๑๕.  เพลง มาตราแม่ ก กา (ทำนอง 500 miles)
       เด็กทั้งหลาย  ยังจำได้ไหม    แม่ ก กา ในมาตราไทย
เป็นคำไทย  ไม่มีตัวสะกด            เราต้องจดจำ
เต่า วัว เสือ หมี งู ไก่ กา               ปลาโลมา  ม้า  ลา  จระเข้
คำเหล่านี้  ไม่มีตัวสะกด              นั่นคือ  แม่ ก กา
         ----------------------------

๑๖.  เพลง มาตราแม่กน (ทำนอง Joey)
ตัวสะกดมาตราในแม่กน           อย่าสับสน หก ตัวจำได้
มี ณ เณร  ล ลิง  ร เรือพายไป    น หนู ไซร้  ญ หญิงไทย  ฬ จุฬา
เดิน เวียนวน ปืนกล และรถยนต์    บนถนน  สับสน  จราจล
เริงสราญ  ปลาวาฬ  มันว่ายวน       บุญคุณ  ล้น  ดลจิต  คิดพากเพียร
        ----------------------------
  
๑๗. เพลง มาตราแม่กม (ทำนอง CLEMENTINE : จังหวะวอลซ์)
นวล   งาม  ยาม  ย่อม      น้อม  พร้อม   ล้อม   ซ่อม
คำเหล่านี้ล้วนมี  ตัว       ขอให้เราจงจำไว้ให้มั่น
มาตราไทย  นั่นคือ  แม่กม
        ---------------------

๑๘. เพลง มาตรา แม่ กบ (ทำนอง โด เร มี)
บ ใบไม้  ป ปลา  พ พาน           ฟ ฟัน  ภ สำเภา  สหาย
ห้าตัวนี้ร่วมเป็นเพื่อนตาย               มอบกายใจไว้เคียวคู่กัน
ล้วนต้องพึ่งซึ่งกันและกัน               มาช่วยกันเปล่งเสียงให้ดี
มีอยู่ในมาตราของไทย                  มา มาเรียนมาตราแม่กบ
อบ อบ อบ อบ
             ------------------------------

๑๙. เพลงอักษรต่ำ   (ทำนองแคนลำโขง)
       อักษรเสียงต่ำของไทย  รวบรวมไว้เป็นหมู่ด้วยกัน
 นับดูโดยเร็วพลัน              พวกของมันยี่สิบสี่ตัว
 คน เป่า แคน  งูนอนส่ายหัว   ฆ ระฆัง ระรัว  
ช้าง  โซ่ขาดหนีไป                 ฟัน  ยักษ์  เรือ  ลิง   แหวน  ม้า
หญิง  โสภา  ฑ นางมณโฑ     สดใส  ฒ ผู้เฒ่า   ณ เณร เดินไม่ไกล
ฌ เฌอต้นไม้  ธงใส่พานมา    ท ทหาร  และ จุฬา  ภ สำเภาแล่นมา  ฮ นก ฮูก ตาโต 
           ---------------------------

๒๐. เพลงอักษรต่ำเดี่ยว  (ทำนองสามสิบยังแจ๋ว)
พอทราบอักษรขวัญตา       น้องเอยที่มานั่งทำตาปริบ ๆ
อักษรต่ำเดี่ยวมีสิบ              มีสิบตัวจริง ๆ หนา
งู ใหญ่  ใยน้องนี้นอน         ณ ริมวัดมอญโมฬีโลก
น้องคงเศร้าโศก                  วิโยค  ไร้คู่คอยเคียง
           -------------------------------

๒๑. เพลงคำเป็น-ตำตาย  (ทำนองตาอินกะตานา)
       คำเป็นกับคำตาย      รู้ไหมว่ามันต่างกัน
เจ้าคำเป็นนั้น                   เสียงมันสระเสียงยาว
แม้มีตัวสะกด                  ใช้ กง กน กม เกย เกอว
เช่น  ชม  ดวง  ดาว         พริ้ง  แพรว  พราว  เมื่อยามราตรี
แต่คำตายนั้น                  เสียงของมันแสนสั้นเต็มที่
ตัวสะกดถ้ามี                   ใช้ กก  กด  กบ  เร็วไว
เช่น คิด  รัก  กับ  กร        มด  สอบ  มะกอก  นั่นไง 
หมั่นจดจำไว้                   คำตายนั้นไม่ยากเอย
         ---------------------
                
๒๓. เพลงคำเป็น-คำตาย (ทำนองอยากรักแม่หม้าย)
       Yเถอะร้องกันเล่น      เรื่องคำเป็นคำตาย
จดจำง่ายดาย       คำเป็นนั้นหมายเสียงยาว
แม่กง แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกอว     นั้นเอยแพรวพราว
ตัวสะกด เช่น   เสื้อกันหนาว    ลุง ป้า น้า สาว ชม เชย  (นอย ๆๆ ๆๆๆ)   
    Yพูดถึง   คำตาย     ดูช่างง่ายดายเสียจริง  
อยากรักแอบอิง      เสียงสั้นเสียจริงเพื่อนเอย
แม่ กก แม่กด แม่กบ อบ อาบ   มะลิ กุหลาบ อบ เอย
ขอจง จำจด บทบาทเฉลย  ดูซิไม่เคยลืมเลือน

            -------------------------