Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำที่ประสมสระ-า


การอ่านสะกดคำและแจกลูก


วิธีสอนภาษาไทย เรื่อง การสอนสะกดคำ


วิ๊ธีสอนภาษาไทย เรื่อง นิทานสระ


วิธีสอนภาษาไทย เรื่อง คำที่มีสระเอือ (เ-ือ)


ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทย

เสียงจากครูภาษาไทยแม่ฮ่องสอน
ที่บอกกล่าวถึง
ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทย

        สืบเนื่องจากการได้รับเชิญเป็นวิทยากรการอบรมครูภาษาไทย ของศูนย์ภาษาไทย โรงเรียนในฝัน(โรงเรียนดีใกล้บ้าน) ของสพท.แม่ฮ่องสอน เขต ๑ และ ๒  ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๒  สิงหาคม ๒๕๕๔  ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนสบเมยพิทยาคม  มีคุณครูภาษาไทยเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๘๕  คน จาก ๖๐ โรงเรียน ในทุกอำเภอของแม่ฮ่องสอน 
        นับเป็นโอกาสและโชคดีของชีวิตที่ได้พบปะพูดคุย  แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณครูที่อยู่บนดอยสูง อยู่ในโรงเรียนไกลกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาในการจัดการเรียนการสอนมากมานานาประการ   โดยเฉพาะในเรื่องของกลุ่มสาระภาษาไทย  ซึ่งเป็นสาระหลักที่เด็กต้องได้เรียน  และเรียนได้  ใช้ภาษาสื่อสารเป็น   กิจกรรมแรกที่ผู้เขียนได้เชิญชวนคุณครูเล่าประสบการณ์ของตนเองจากการเป็นครูผู้สอนภาษาไทย ในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ว่าพบปัญหาอะไรบ้าง  เพื่อการหาแนวทางในการแก้ไขและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (ในส่วนที่เราพึงทำได้)
        สรุปปัญหาของคุณครู ดังนี้    ผู้เขียนขอนำเสนอทั้งหมดโดยไม่ย่อ หรือตัดทอน หรือ รวมกลุ่มปัญหาเดียวกัน     ทั้งนี้เพื่อที่เพื่อนครูหรือท่านผู้อ่านจะได้รับทราบข้อมูลว่าหลายโรงเรียนประสบปัญหาเดียวกัน 

๑.ด้านนักเรียน
              (๑)พูดไม่ชัด
                   (๒)สะกดไม่ถูกต้อง
                   (๓)ใช้ภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย
                   (๔)อ่านไม่ได้เขียนไม่ออก
                   (๕)ออกเสียงคำควบกล้ำไม่ถูกต้อง
                   (๖)ใช้คำไม่ตรงความหมาย
                   (๗)คิดวิเคราะห์ไม่เป็น
                   (๘)ขาดทักษะการอ่านและการเขียน
                   (๙)เขียนตามภาษาพูดของตน
                   (๑๐)จำสระบางตัวไม่ได้
                   (๑๑)อ่านสะกดคำไม่เป็น  อ่านไม่ออก  เขียนไม่ได้
                   (๑๒)ลายมือไม่สวย
                   (๑๓)จำมาตราตัวสะกดไม่ได้
                   (๑๔)มีพื้นฐานทางภาษาไทยไม่แน่น
                   (๑๕)มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านทักษะการอ่าน-เขียน
                   (๑๖)คิดวิเคราะห์ไม่เป็น   ตีความไม่ได้
                   (๑๗)ผันวรรณยุกต์ไม่เป็น
                   (๑๘)ขาดนิสัยรักการอ่าน  ไม่แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
                   (๑๙)สนใจสื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากกว่าการอ่านเพื่อเสริมความรู้
(๒๐)เด็กอ่านไม่ออก
                   (๒๑)เด็กไม่สนใจเรียน
                   (๒๒)นักเรียนไม่ชอบอ่านหนังสือ
                   (๒๓)นักเรียนไม่สนใจเรียน 
                   (๒๔)สะกดคำไม่ได้
                   (๒๕)เขียนเรียงความไม่ได้  ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง
                   (๒๖)ขาดทักษะในการพูดภาษาไทย
                   (๒๗)คิดไม่เป็น
                   (๒๘)อ่านออกเสียง  ร  ล  คำควบกล้ำไม่ถูกต้อง
                   (๒๙)อ่านสะกดคำไม่ถูกต้อง
                   (๓๐)อ่านออกเสียงไม่ตรงตามตัวสะกด
                   (๓๑)ไม่สามารถเรียงประโยคได้ถูกต้อง
                   (๓๒)ไม่สามารถสรุปใจความของเรื่องได้  แนวคิดของเรื่อง  (บทประพันธ์)
                   (๓๓)ไม่สามารถถอดความและแปลความได้
                   (๓๔)เรียงลำดับของเรื่องยังไม่ได้
                   (๓๕)คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านไม่ได้
                   (๓๖)ผันวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง
                   (๓๗)เขียนตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
                   (๓๘)เขียนสะกดผิด           
                   (๓๙)พูดไม่ชัด  เช่น  คำควบกล้ำ  ตัวสะกด
                   (๔๐)เขียนตามคำพูดของตัวเอง
                   (๔๑)ขาดเรียนบ่อย
                   (๔๒)ไม่มีความคิดสร้างสรรค์  ไม่มีจินตนาการ
                   (๔๓)พูดภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย
                   (๔๔)เด็กไม่รักการอ่าน
                   (๔๕)เด็กมีความหลากหลายในชนเผ่า
                   (๔๖)เด็กไม่รู้จักวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรอง
                   (๔๗)นักเรียนรู้จักพยัญชนะและสระ  แต่ไม่สามารถประสมคำได้
                   (๔๘)เขียนสะกดคำตามการออกเสียงของตนเองซึ่งใช้ตัวสะกดผิดเช่นช้าง-ช้าน
                   (๔๙)นักเรียนผันวรรณยุกต์ไม่ได้
                   (๕๐)เวลาอ่านออกเสียงจะไม่ออกเสียงตัวสะกดเช่นโรงเรียน-โรงเรีย เขียน- เขีย
                   (๕๑)เวลาเขียนคำ  มักวางตำแหน่งรูปสระหรือวรรณยุกต์ผิด  เช่น  หูน
                   (๕๒)คิดวิเคราะห์และตีความไม่เป็น
                   (๕๓)เขียนเรื่องราวไม่ได้ใจความ
                   (๕๔)ลืมเรื่องที่เรียนได้ง่าย
                   (๕๕)ไม่สามารถตีความจากบทความ
                   (๕๖)สรุปใจความสำคัญไม่ได้
                   (๕๗)ไม่สามารถผันคำได้
                   (๕๘)จำแนกคำไม่ได้
                   (๕๙)สะกดคำไม่ได้
                   (๖๐)เป็นชาวเขาเผ่าต่าง ๆ  ใช้ภาษาถิ่น  อ่านตัวสะกดไม่ได้
                   (๖๑)มีเด็ก LD ไม่สนใจในการเรียน
                   (๖๒)เด็กไม่มีความตระหนักในวิชาภาษาไทย
                   (๖๓)เด็กไม่มีพื้นฐานในการเรียนภาษาไทยทำให้ประสบปัญหาการเรียนที่สูงขึ้น
                   (๖๔)เด็กไม่ยอมคิด ไม่ยอมทำกิจกรรม
                   (๖๕)เด็กติดเกม
                   (๖๖)ขาดเรียนบ่อย
                   (๖๗)เด็กไม่รักการอ่าน

๒.ด้านครูผู้สอน               
(๑)ครูไม่จบเอกภาษาไทย
                   (๒)ครูสอนไม่ครบชั้น
                   (๓)ครูสอนหลายสาระการเรียนรู้
                   (๔)ครูสอนไม่ตรงวิชาเอก             
                   (๕)ครูขาดเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ
                   (๖)ครูไม่มีความถนัดในการสอนบางเนื้อหาสาระ
                   (๗)ครูใช้สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ            
                   (๘)ครูขาดเทคนิคการสอนภาษาไทย / สอนไม่ตรงตามเอก
                   (๙)ครูสอน ๑  คน ต่อ๒  ชั้น          
                   (๑๐)ครูบางท่านไม่ได้จบเอกภาษาไทย  ขาดความแน่นในเนื้อหา
                   (๑๑)วิธีการสอน  สื่อการสอน  ยังไม่มีเทคนิควิธีการที่ไม่หลากหลาย
                   (๑๒)ครูมีภาระงานมาก ไม่สามารถสอนเสริมหรือติดตามพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กที่สอนได้อย่างเต็มที่
                   (๑๓)ครูสอนไม่ตรงตามวุฒิ
                   (๑๔)ครูสอนภาษาไทยมีน้อย
                   (๑๕)ครูน้อยรับผิดชอบหลายชั้นเรียน
                   (๑๖)ครูไม่เปิดใจเข้าหาเด็ก
                   (๑๗)ครูไม่รักการอ่าน
                   (๑๘)ครูมีความรู้ไม่แน่นในเรื่องหลักภาษา
                   (๑๙)สอนควบชั้น  ทำให้ดูแลนักเรียนไม่ทั่วถึง
                   (๒๐)ครูสอนไม่ตรงเวลา
                   (๒๑)ครูไม่ใช้สื่อ
                   (๒๒)ครูมีภาระงานมาก
                   (๒๓)สอนไม่ครบชั้น
                   (๒๔)ขาดสื่อและเทคโนโลยี
                   (๒๕)ครูย้าย
                   (๒๖)ครูไม่รักการอ่าน                
๓.ด้านผู้บริหารสถานศึกษา
                   (๑)ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของสาระภาษาไทย 
(๒)ผู้บริหารไม่สนับสนุน ส่งเสริมให้ครูไปอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง
(๓)ไม่จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเพิ่มทักษะภาษาไทยให้ครู
(๓)ไม่สนับสนุนงบประมาณให้กับครูภาษาไทย
                   (๔)ผู้บริหารไม่สนับสนุนครูในการไปพัฒนาตน
                   (๕)ผู้บริหารขาดการนิเทศติดตาม
                   (๖)ผู้บริหารขาดงบประมาณในการสนับสนุนสื่อ / กิจกรรม
                   (๗)ไม่เห็นความสำคัญของวิชาภาษาไทย

๔.ด้านผู้ปกครอง
(๑)ผู้ปกครองไม่ให้ความสนใจ
                   (๒)ผู้ปกครองบางท่านไม่มีเวลาฝึกเพิ่มเติม และติดตามดูแลเมื่อเด็กอยู่บ้าน       
ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่มีเวลาให้ลูกไม่มีความรู้ ทำให้เด็กไม่มีความรับผิดชอบในภาระงาน และการบ้านของตน

๕.ด้านสื่อการเรียนการสอน
                   (๑)สื่อการเรียนการสอนไม่หลากหลาย
                   (๒)เนื้อหาวิชาบางสาระไม่น่าสนใจ  ยากเกินไปสำหรับเด็ก
                   (๓)ขาดแหล่งเรียนรู้
                   (๔)สื่อการสอนไม่เพียงพอ
                   (๕)นักเรียนยังขาดแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 
(๖)สื่อไม่พอเพียงต่อจำนวนนักเรียน

๖.ด้านอื่นๆ
                   (๑)ขาดการติดตามดูแล  ส่งเสริม  และให้ความสำคัญการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
                   (๒)ขาดงบประมาณในการสนับสนุน


        ทั้งหมดเป็นภาษาเขียนของกลุ่มคุณครูภาษาไทยที่บางประโยคอาจสื่อความไม่ชัด  ท่านผู้อ่านที่สงสัย กรุณาถามได้นะคะ  ในตอนต่อไปผู้เขียนจะขอสรุปและจัดกลุ่มปัญหา พร้อมนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมที่ได้จัด ณ โรงเรียนสบเมยพิทยาคม  เพื่ออาจจะเป็นแนวทางแก่คุณครูผู้สอนภาษาไทยได้บ้างไม่มากก็น้อย



ด้วยความจริงใจและมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ค่ะ
วัชราภรณ์  วัตรสุข




สระ-ะ


สระ -า