อย่างไรจึงถือว่า...อ่านดิจิทัลเก่ง
ที่ผ่านมา....PISA 2009
ไม่ได้ประเมินเฉพาะการให้นักเรียนรวบรวมสาระจากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น
แต่รวมไปถึงการประเมินว่านักเรียนอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ดีเพียงใดด้วย
และได้ข้อมูลว่าบางประเทศสามารถเตรียมนักเรียนให้รับสื่อดิจิทัลได้ดีกว่าประเทศอื่น
ที่ทำให้นักเรียนสามารถมีทักษะและสมรรถนะที่จะใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลได้ดี
เช่น ออสเตรเลีย เกาหลี และนิวซีแลนด์
ซึ่งมากกว่า 17% มีผลการประเมินสูงสุด เป็นต้น
ในขณะเดียวกันในอีกหลายประเทศเกือบไม่มีนักเรียนมีผลการประเมินในระดับสูงเลย
ผลการประเมินชี้ว่าโดยทั่วไป นักเรียนที่ตามปกติก็อ่านสิ่งพิมพ์ได้เก่งอยู่แล้ว
มักมีการอ่านดิจิทัลเก่งด้วย
แต่นักเรียนจากบางประเทศที่มีการใช้สื่อดิจิทัลสูง เช่น ออสเตรเลีย เกาหลี
พบว่า นักเรียนที่อ่านสิ่งพิมพ์ได้ไม่ดีนัก...กลับอ่านดิจิทัลได้ดีกว่า
เมื่อไม่นานมานี้เกาหลีได้พัฒนานโยบาย Smart Education โดยพัฒนาหนังสือเรียนและการประเมินผลให้อยู่ในรูปดิจิทัล และใน ค.ศ. 2015 ได้พัฒนาโรงเรียนโดยรวมเอาเทคโนโลยีใหม่เข้าไว้ในโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมทั้งฝึกอบรมครูให้สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นได้
อย่างไรจึงได้ชื่อว่ามี...ทักษะการอ่านดิจิทัลต่ำและสูง
ผู้ที่มีการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่ำ
ผู้ที่มีการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่ำ
มีการอ่านไม่ถึงระดับ พื้นฐาน
สามารถบอกสาระที่ปรากฏชัดเจนซึ่งเป็นที่คุ้นเคย
หรือที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง
ผู้ที่มีการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์สูง
สามารถจัดการกับกรอบการคิดที่ไม่คุ้นเคย
สามารถใช้สิ่งนามธรรมในการตีความแปลความได้
สามารถอ้างอิงเปรียบเทียบความคล้ายหรือความแตกต่าง
ผู้ที่มีการอ่านดิจิทัลต่ำ
สามารถบอกตำแหน่งของสาระ
และตีความของถ้อยความที่ปรากฏชัดเจน
และมักเกี่ยวข้องกับบริบทในชีวิต
สามารถข้ามไปอ่านเว็บไซต์อื่นได้จำกัด
ถึงแม้จะมีการชี้บอกอย่างชัดเจนให้แล้วก็ตาม
ผู้ที่มีการอ่านดิจิทัลสูง
สามารถหาจุดที่มีสาระหลักว่าสาระอยู่จุดใด
จัดรวบรวมสาระต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่มารวมให้ได้เนื้อความ
อ้างอิงจุดที่สอดคล้องหรือสนับสนุนการตีความ วิเคราะห์
ประเมินสาระนั้น ๆ ในบริบทที่ไม่คุ้นเคย
และที่มีข้อความไม่ชัดเจนตรงไปตรงมา
สามารถข้ามไปอ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีหลากหลาย
โดยไม่ต้องชี้บอก และสามารถจัดการกับถ้อยความในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลายได้
http://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2017-13