Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การสอนอ่าน การคิด และการเล่น




การสอนอ่าน    การคิด    และการเล่น
            การสอนอ่านและการเรียนอ่านของเด็กวัยประถมศึกษานี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาความคิด  ลักษณะความคิดของมนุษย์เพื่อจะให้ผู้เรียนรู้จักคิดอย่างเป็นระบบซึ่งจะใช้กิจกรรมเกมเล่นของเด็กเป็นตัวนำไปสู่การคิดอย่างเป็นระบบเพื่อเข้าสู่การเรียนรู้  เราอาจกล่าวได้ว่า ถ้าครูสามารถที่จะเข้าใจและเล็งเห็นคุณค่าของการเล่นทั้ง  6  ประเภทที่สามารถเสริมลักษณะการคิดได้ดีประการหนึ่ง  การเล่นเกมดังกล่าวยังเป็นเครื่องมืออย่างสำคัญในการเรียนอ่าน    ซึ่งเด็กจะใช้การเรียนอ่านได้ทั้ง 3  ทาง  (ตา  หู  สมอง)  ให้เกิดประสิทธิภาพอีกประการหนึ่ง  ทั้งกิจกรรมการเล่นและกิจกรรมทางการอ่าน จะเป็นตัวการสำคัญที่จะช่วยให้เด็กวัยประถมศึกษาได้เรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้งปวงที่กำหนดในหลักสูตร  (นอกเหนือจากการพัฒนาการอ่านเป็นการพัฒนาทักษะทางภาษาในตัวของมันเองแล้ว) และยังช่วยให้บังเกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนทั้งปวงอีกด้วย
               
พัฒนาการคิด 6 ลักษณะ    à    การคิดอย่างเป็นระบบ
 

   กิจกรรมการเล่น 6 ประเภท                                                                               การเรียนรู้
 

กิจกรรมการอ่าน à การอ่านที่มีประสิทธิภาพ  à  ทักษะทางภาษา
(อ่านเป็น)

            จากแผนภูมิแสดงการเรียนการสอนอ่าน การคิด และการเล่นนี้  แสดงให้ครูผู้สอน เข้าใจได้ว่า  กิจกรรมการเล่นของเด็กทั้ง 6 ประเภท  ที่ประกอบด้วยการเล่นปนการเรียนและการเรียนปนเล่น  เป็นกุญแจดอกสำคัญ  2  ทาง
            ทางแรก  สนองการพัฒนาการคิดทั้ง  6  ลักษณะ  ส่วนหนึ่งจะพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ ð การเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว เช่น การที่ให้เด็กเล่นดินเหนียว สนองการคิดจินตนาการ  อันมีการคิดแบบระลึกได้  การคิดแบบเพ้อฝัน และคิดหาเหตุผลที่ได้ปั้นภาพนั้นð การส่งเสริมให้เด็กพูดหรือเล่าถึงผลงานของตนออกมาเป็นการจงใจที่จะคิด  ส่วนถูกหรือผิด   ตรงหรือไม่ตรงประเด็นนี้จะช่วยได้โดยเพื่อนและครูช่วยชี้แนะแก้ไขให้ใช้ความคิดอย่างเป็นระบบ  เป็นการเรียนรู้อย่างดีทางหนึ่ง



            ทางสอง   สนองการเรียนจากการอ่านภาพ  ทายภาพ  ช่วยการอ่าน (ทางตา) ให้อ่านได้  อ่านแล้วรู้เรื่องในสิ่งที่อ่าน หรือฟังการอ่านออกเสียงของเพื่อน แล้วสรุปได้รู้เรื่องว่าเป็นเรื่องอะไร  เกี่ยวกับอะไร  (ในการระลึกประสบการณ์เดิมในการอ่านภาพ  ทางภาพ  คิดแบบจงใจ สรุปเรื่อง)  จะสรุปเรื่องผิดถูกอย่างไร  ครูอาจส่งเสริมให้มีการอ่านออกเสียง (เป็นประโยค)  ฟังการอ่านออกเสียงà ใช้การคิดแบบสมาธิจงใจ  สรุปเรื่องขั้นหนึ่งหรือตอนหนึ่ง  การนำคำศัพท์จากการอ่านมาสู่การแจกลูก  เล่นเกมเสียงเหมือน (เรียนอ่านทางหู)  อ่านแบบเสียงพาไป  (สนองอารมณ์)  คิดอย่างสมาธิจงใจ  ระลึกประสบการณ์  คิดหาเหตุผลและจินตนาการ à ขยายประสบการณ์ในการอ่านคำได้มาก  และนำคำที่แจกหรือคำในบทเรียนมาสร้างแผนภูมิประสบการณ์เป็นบทอ่านทางสมอง (เรียนอ่านทางสมองของเด็ก)  ต่อเมื่อเรื่องราวของแผนภูมิประสบการณ์ได้รับการปรับปรุง จัดรูปแบบประโยค  จังหวะ  ลีลาได้ดีแล้ว à  ผู้เรียนได้หรือใช้ความคิดอย่างเป็นระบบ  เป็นการเรียนรู้นำไปสู่การอ่านเป็นอีกทางหนึ่ง
            สรุปเรื่อง  การเล่นของเด็กเป็นกุญแจดอกสำคัญไปสู่การเรียนรู้หรือคิดอย่างเป็นระบบ และยังนำไปสู่การเรียนอ่านให้อ่านเป็น  โดยยกตัวอย่างให้เห็นขั้นตอนย่อ ๆ ของการใช้กิจกรรมเกมเล่นทั้งการคิดและการอ่าน  (ได้กล่าวย้ำไว้แล้วว่า การเล่นของเด็กและลักษณะการคือ  ไม่สามารถแยกจากกันได้โดยเด็ดขาด  ทั้ง 2 แนวทางแห่งการเล่นของเด็กเป็นทางนำไปสู่การอ่านเป็น  ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของการอ่านที่จะใช้เป็นกิจกรรมสำคัญในการเรียนรู้ทั้งทางวิชาการและการปฏิบัติตนต่อสภาพแวดล้อมทั้งปวง  ทั้งนี้ย่อมเป็นการชี้นำและแนะแนวทางแห่งการจัดการเรียนการสอนแก่  ครูผู้สอนผู้เข้าใจที่จะใช้การเล่นของเด็กช่วยในการสอนอ่าน  แล้วนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอย่างมั่นใจ)










คิดเป็นกับอ่านเป็น
            ในส่วนแรกได้กล่าวถึงลักษณะของคนคิดเป็นไว้แล้ว จะเห็นว่าการคิดเป็นนั้นต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้หรือความคิดที่เป็นระบบ  ดังจะเห็นได้จากทั้ง 6 ประการแห่งลักษณะ การคิด  เช่น  การคิดเป็น  เป็นผลหลอมรวมประสบการณ์ในการแก้ปัญหา  ผู้นั้นจะต้องระลึกถึงประสบการณ์ในการแก้ปัญหาในกรณีเดียวกันมาแล้วคงจะเป็นปัญหาใกล้เคียงหรือใช้เครื่องมือแบบเดียวกันหรือการคิดที่วางแนวป้องกันภัยหรืออันตรายต่าง ๆ  ต้องคิดทบทวนถึงสาเหตุแห่งภัยแม้จะต่างสถานที่ก็อาจดัดแปลงตามสถานการณ์นั้นได้เป็นต้น
            ฉะนั้น  การคิดเป็นจำเป็นต้องได้รับการฝึกการทดลองในห้องเรียนในด้านการเล่นการใช้ภาษา หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะต้องสนองลักษณะความคิด ตามที่กล่าวไว้แล้วว่าลักษณะการคิดไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด  การคิดลักษณะหนึ่งย่อมมีส่วนผูกพันเกี่ยวข้องกันตามที่ยกตัวอย่างไว้
            การอ่านเป็น  เป็นการมุ่งใช้ประโยชน์ของการอ่านในลักษณะต่าง ๆ กัน อาจจำแนกถึงลักษณะและขั้นตอนที่จะฝึกอ่านไปสู่การอ่านเป็น แม้จะจำแนกทั้งลักษณะและขั้นตอนไม่ง่ายนัก  แต่จะเป็นที่จะต้องแยกกล่าวถึงคุณสมบัติของผู้อ่านอย่างคร่าว ๆ ไว้ดังนี้
1.            ขั้นฝึกอ่านเพื่อการอ่านได้  (learning  to  read)  ควรดำเนินการฝึก
1.1          อ่านออกเสียงในการอ่านเรื่องราว  จะต้องอ่านเป็นประโยคและชัดถ้อย
ชัดคำ
                   1.2  อ่านออกเสียงและอ่านในใจแล้วรู้เรื่องที่อ่าน หรือฟังการอ่านเป็นประโยคแล้วรู้เรื่อง สรุปได้ว่าเป็นเรื่องอะไร
                  1.3  อ่านคร่าว ๆ  เพื่อสำรวจ  ค้นหาคำยาก  คำศัพท์ และสิ่งที่น่าสนใจ
                  1.4   อ่านออกเสียงเพื่อทบทวน หรือตรวจสอบผลการอ่าน หาแหล่งคำตอบ 
และข้อเท็จจริงจากการอ่าน
                 1.5  อ่านในใจเพื่อเลือกเสียงสัมผัส (scanning)  ซึ่งเป็นผลแห่งการแจกลูก (เกมเสียงเหมือนซองเลื่อนคำ  สมุดผสมคำ)  เพื่อการฝึกอ่านคำประพันธ์ร้อยกรองให้ลงจังหวะสัมผัส
2.            ขั้นใช้การอ่านได้ไปเรียนรู้   (learning  to  learn)   
2.1          อ่านด้วยความเข้าใจ สามารถที่จะตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง
2.2          อ่านแล้วจัดลำดับเหตุการณ์  เหตุผลจากเรื่องที่อ่าน


2.3          อ่านเรื่องราวแล้วถอดโครงเรื่อง  อันเป็นแนวทางไปสู่การเรียงความ
outline)  ย่อเรื่องได้
2.4          อ่านบทความ  ย่อเรื่อง  หรือสรุปสาระสำคัญได้
2.5          อ่าน (ใบงาน)  แล้วปฏิบัติตามขั้นตอน  การประดิษฐ์สิ่งของ  การดำเนิน
การทดลองได้ถูกต้อง
                  2.6  อ่านเพื่อค้นหาความรู้   ข้อเท็จจริง  นำมารายงาน  ใช้ในการบรรยายและอภิปรายได้
                  2.7  อ่านแล้วเลือกชั่งใจ  ตัดสินใจ  ตลอดจนการวิจารณ์ได้ (อ่านอย่างพินิจ)
                  2.8  อ่านแล้วประเมินเรื่องราวที่อ่านได้
                  2.9  อ่านบทประพันธ์แล้วถอดคำประพันธ์โดยใช้การตีความ แปลความได้
ถูกต้อง
3.            ขั้นใช้ทักษะในการอ่านและอ่านเร็ว   (progressive  reading & speed  reading) 
3.1          อ่านหนังสือหลายลักษณะ  หลายรส และอ่านได้เร็ว
3.2          สามารถเลือกตามความต้องการ  ความเพลิดเพลิน  รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็น
ประโยชน์  มีนิสัยรักการอ่าน
                  3.3   อ่านแล้วเข้าใจคำคม  คำพังเพย  สุภาษิต  ใช้ยกขึ้นกล่าวอ้างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อ่าน
                 3.4   สามารถนำความเข้าใจในข้อ 3.3  มาแต่งเรื่องราวประกอบคำคม คำพังเพย  สุภาษิตให้เห็นจริงได้

            แนวทางสู่การสอนอ่านให้เป็นและขั้นตอนการฝึก  เป็นเพียงแนวทางที่จะต้องฝึก
ไม่จำเป็นต้องฝึกตามลำดับขั้นเสมอไป  อาจสลับขั้นตอนได้  ทั้งนี้เพราะการสอนอ่านนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะบทอ่าน  บทเรียนในหนังสือเรียนย่อมมีส่วนในการกำหนดแนวการฝึกอ่าน การใช้ประโยชน์จากการอ่าน  ครูจำเป็นต้องตรวจสอบบทอ่านและวางแผนการสอนก่อนว่าจะฝึกการอ่านแบบใด  เพื่อใช้ประโยชน์ด้านใด  มีความต่อเนื่องกับความรู้ความสามารถหรือพื้นฐานของผู้เรียนได้ดี  เช่น  พื้นฐานจากการเล่นเกมเสียงเหมือน และการอ่านคำแจกลูก นำมาฝึกอ่านแบบ  scanning  เลือกคำลงจังหวะสัมผัสในการอ่านบทประพันธ์ร้อยกรอง    เป็นต้น  ส่วนการอ่านเพื่อค้นคว้ารายงานจะต้องได้รับการฝึกอ่านแบบย่อความและยกตัวอย่างประกอบเพื่อสรุปเป็นแนวคิดความเข้าใจจากการอ่านรายงานให้ได้ความกะทัดรัด เป็นต้น  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญในการสอนของครูและลักษณะของสิ่งที่อ่านนั่นเอง
            หากพิจารณาความหมายของการอ่านเป็นตามความหมายของการอ่าน เพื่อความเข้าใจอาจแบ่งได้  3  ระยะ  กล่าวคือ
            1.  ระดับแรก หรือระดับต่ำ  หรือขั้นอ่านออก  หมายถึง  การที่ผู้อ่านสามารถอ่านออกเสียงเป็นคำเป็นประโยค  ซึ่งผู้อ่านไม่จำเป็นต้องทราบหรือเข้าใจความหมายหรือแปลความหมายของคำทุกคำ
                  เมื่อเปรียบเทียบความเข้าใจการอ่านขั้นนี้  คือ การอ่านตามตัวอักษร (literal reading)  เป็นการอ่านตรงตามบรรทัดหรือประโยค  “reading  the  lines”  ก็สามารถตอบคำถามได้  ซึ่งหมายถึงการอ่านที่ผู้อ่านใช้ระดับความสามารถในการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระที่ผู้เขียนเขียนออกมาโดยตรง  เป็นการอ่านที่มุ่งให้ได้ข้อเท็จจริงจากเรื่องที่อ่าน ซึ่งจะสังเกตจากคำถามที่ถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเป็นใคร  ทำอะไร  ที่ไหน และเมื่อไร  เป็นต้น
            2  ระดับที่สูงขึ้น   หมายถึง  การที่ผู้อ่านสามารถวิเคราะห์หาเหตุผลและสรุปเรื่องที่อ่าน (interpretive  reading)   หรือใช้คำว่า  “reading  between  the  lines”  คือ  การอ่านตีความ  แปลความ หรือถอดความ   ผู้อ่านจะต้องเสาะแสวงหาความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในข้อความที่ปรากฏอยู่ที่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวไว้โดยตรง   ในการนี้ผู้อ่านต้องอาศัยพื้นความรู้ ความสามารถในการอ่านตามตัวอักษร (ระดับแรก)  เพื่อช่วยให้สามารถตีความ  แปลความ วิเคราะห์ และสังเคราะห์สิ่งที่อ่าน  โดยตรวจสอบได้จากการตั้งคำถามแบบตีความ (interpretive  questions)  เช่น  ทำไม  เหตุใด  อย่างไร  ได้แก่  การเปรียบเทียบ กล่าวสรุป จัดลำดับเหตุการณ์  การเข้าใจ  สำนวนภาษา  รวมทั้งการบ่งชี้ถึงอุปนิสัยหรือบุคลิกของตัวละคร  เป็นต้น
            3.  ระดับสูงสุด   คือ การอ่านแบบใช้วิจารณญาณ หรือการอ่านอย่างพินิจ
(critical  reading)  หรือ  “reading  beyond  the  lines”  การอ่านแบบนี้  ผู้อ่านจะต้องใช้ความเป็นพหูสูตที่จะตรวจสอบ  ตัดสินใจ  ประเมินค่าของสิ่งที่อ่านว่าเป็นเรื่องจริง  หรือความคิดเห็น ควรเชื่อหรือไม่  เป็นประโยชน์หรือโทษ  เลือกที่จะปฏิบัติหรือวางแนวการป้องกัน  สามารถประเมินค่าของสิ่งที่อ่าน หรือเรียกว่า  evaluative  reading
           
            การอ่านแบบนี้เรียกว่า อ่านเป็น  นับเป็นขั้นสูงสุดของการอ่านจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง  โดยผู้อ่านสามารถที่จะใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ในการพิจารณาตัดสินใจ  โดยการตีความ  วิเคราะห์  สังเคราะห์  ประเมินค่า  สามารถใช้ความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี


            ถ้าจะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการคิดเป็นกับการอ่านเป็นแล้ว  คงจะกล่าวได้ว่าคนโบราณมักพูดเสมอว่า หากประสบปัญหาใด ๆ แล้วต้องตั้งสติ ค่อย ๆ คิดอ่าน คิดกับอ่าน เป็นของคู่กันอย่างแยกกันไม่ออกประการหนึ่ง  อีกประการหนึ่งทั้งการอ่านและการคิดต้องอาศัยการคิดหลายรูปแบบเป็นพื้นฐานในการที่จะตัดสินใจแก้ปัญหา วางแนวป้องกันหรือดำเนินการใด ๆ  ซึ่งกล่าวได้ว่าการคิดอ่านจะต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ คิดถึงทางได้ (สำเร็จ)  ทางเสียง (ล้มเหลว)  อันเป็นความรู้สึกนึกคิดหรือความเข้าใจแบบสามัญสำนึกเท่านั้น  เราจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของการคิดเป็นกับการอ่านเป็นให้กระจ่างต่อไป

ความสัมพันธ์ของการอ่านเป็นกับลักษณะการคิดและการคิดเป็นระบบ

การอ่านเป็น
(อ่านอย่างพินิจ)
ลักษณะการคิด
การคิดเป็นระบบ
ความรู้ (ประสบการณ์หลายลักษณะ)
จำ ระลึกได้ ทบทวน  เหตุผล ต่อเนื่อง  คิดทบทวนประสบการณ์  ใช้แนวคิด
หลอมรวมประสบการณ์ในการแก้ปัญหา
ความเข้าใจในการอ่าน
ระลึก  ประสบการณ์เดิม ตี แปลความ  คิดอย่างมีสมาธิ  ขบคิดที่จะแก้ปัญหา  ใช้ประสบการณ์ในการที่เคยแก้ปัญหามาแล้ว
ประยุกต์ใช้วิธีการแก้ปัญหา
วิเคราะห์  สังเคราะห์
ใช้การคิดแบบจินตนาการ คาดการณ์
ล่วงหน้า
วางแนวป้องกันภัยอันตราย
ประเมินค่า
คิดแบบเพ้อฝันที่เป็นพื้นฐาน  (รู้ถูกรู้ผิด)  คิดแบบพิจารณา คิดหาเหตุผล เหตุการณ์ที่ผ่านมา  คิดแบบมีสมาธิ จงใจ
รอบคอบในการปฏิบัติ
สุขุม  ประณีตในการคิด
ปฏิบัติ
การนำไปใช้
คิดแบบมีสมาธิจงใจ ทบทวนประสบการณ์ที่ผ่านมราโดยคิดแบบคาดการณ์ล่วงหน้า
สุขุม  รอบคอบ  ประณีตในการปฏิบัติหรือ
แก้ปัญหาคล่องแคล่ว
ในการคิด


            อาจกล่าวได้ว่า  การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง อ่านเป็นกับคิดเป็นนั้น  แม้ว่าจะแยกการคิดจากกันได้ไม่กระจ่างนัก  เพราะการคิดเป็น  เป็นการคิดที่ถูกจัดระบบไว้ในตัวของมันเอง คือ หลอมรวมการคิด  ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา  มีสมาธิจงใจในการค้นคิดถึงต้นเหตุแห่งปัญญา  จึงถูกนำมาใช้ได้หลายลักษณะ  หลายสถานการณ์  สิ่งเหล่านี้เกิดจากการฝึกทักษะทางเชาวน์ปัญญาส่วนหนึ่งที่สามารถสั่งสมไว้  ทั้งนี้สอดคล้องกับความรู้ คือ ประสบการณ์  ซึ่งได้จากการอ่าน  การทำงาน และการทดลอง  ตามที่กล่าวไว้ในบทที่ 1 แล้วนั้น  ความจริงอีกประการหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ  ไม่มีสถาบันใดที่จะสามารถประสิทธิ์ประสาทวิทยาการทั้งปวงให้สมบูรณ์ทุกด้าน  นอกจากเขาผู้นั้นจะสามารถใช้ทักษะในการอ่านหรืออ่านเป็นมาเพิ่มเติมเสริมต่อตามความสนใจของเขาผู้นั้นได้อย่างสมใจ
            หากจะวิเคราะห์ให้กระจ่างกว่านี้  จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของลักษณะคำถามที่จะใช้ตรวจสอบโดยใช้คำถาม  ความสามารถในการอ่านตั้งแต่อ่านออก อ่านได้ และอ่านเป็น  (critical  reading  หรือ  evaluative  reading)  อาจทดสอบด้วยคำถามประเมิน  เช่น
-                   การแยกข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น
-                   การแยกเรื่องที่เป็นจริงกับเพ้อฝัน
-                   การหาเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องหรือที่ไม่เกี่ยวข้อง
-                   การพิจารณาโฆษณาชวนเชื่อ
-                   การพิจารณาเหตุผลที่ชวนให้เชื่อ
-                   การพิจารณาความเหมาะสมในคุณค่าและยอมรับความคิด
-                   การบ่งชี้ถึงวัตถุประสงค์ของผู้แต่ง
-                   ความสามารถในการแสดงออกและความรู้สึก
เฉพาะการอ่านประเภทนำไปใช้นั้น  ย่อมเป็นการหลอมรวมความรู้ใหม่ที่ประสาน
กับความรู้เดิม  นำไปสู่การปฏิบัติได้ทั้งในด้านความคิด  การกระทำ  และการแก้ปัญหาทั้งปวง