Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย เรื่อง รูปแบบการส่งเสริมการอ่านของเด็กปฐมวัยในทรรศนะของครูและผู้ปกครอง



รูปแบบการส่งเสริมการอ่านของเด็กปฐมวัยในทรรศนะของครูและผู้ปกครอง:
(Attitude of Teachers and Parents towards the Reading Encouragement Model for Early Childhood).
สุขุม  เฉลยทรัพย์.  (2553). 
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.  108 หน้า. (ส.ร. 372.4 424 ) 01/2554/48
             ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และความคาดหวังในการส่งเสริมการอ่าน  ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการอ่านเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และความคาดหวังกับปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมการอ่าน รวมทั้งสร้างรูปแบบการส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็กปฐมวัย   โดยศึกษาจาก ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ใช้วิธีการวิจัยคือ การสัมภาษณ์เชิงลึก จากประชากรกลุ่มเป้าหมายรวม 38 คน และสนทนากลุ่มรวม 21 คน   และ แบบสอบถาม สอบถามครูและผู้ปกครองเด็กปฐมวัยจำนวน 3,221 คน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 - พฤษภาคม 2553  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยคือ t-test และการหาความสัมพันธ์อย่างง่าย (Pearson Correlation Coefficient)
            ผลการศึกษาพบว่า ความรู้ ทัศนคติ และความคาดหวังในการส่งเสริมการอ่านให้เด็กปฐมวัยของครูและผู้ปกครอง พบว่า การจัดการเรียนการสอนถูกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นพัฒนาการ จะส่งเสริมการอ่านตามความต้องการและธรรมชาติของเด็กปฐมวัย การอ่านในลักษณะนี้จะเข้าใจว่าเด็กอ่านได้ แต่จะอ่านไม่ออก เป็นการอ่านจากจินตนาการ อ่านตามผู้ใหญ่ เป็นการสร้างความคุ้นเคยระหว่างเด็กกับหนังสือ  กับเน้น การแข่งขัน จะเป็นการสอนอ่านแบบสะกดคำ อ่านตามความต้องการของผู้ใหญ่ เด็กสามารถอ่านได้ แต่ไม่ได้เกิดจากความต้องการของตนเอง ทำให้ไม่อยากอ่าน  ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการอ่านของเด็ก คือการอ่านให้เด็กฟัง ไม่บังคับให้เด็กอ่านให้ออก รวมทั้งสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก พ่อแม่ หรือคนที่ใกล้ชิด  สื่อหรือหนังสือควรเหมาะสมกับวัย มีรูปภาพประกอบ หนังสือควรมีหลายประเภท 
ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และความคาดหวังกับปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมการอ่าน พบว่า ความรู้ ทัศนคติ ความคาดหวังและปัจจัยในการส่งเสริมการอ่านด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญามีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสติปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  รูปแบบการส่งเสริมการอ่าน คือต้องมีนโยบายที่ชัดเจนจากกระทรวงหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
            รูปแบบ “3 มีแบบ “3เส้า คือ ต้องมีนโยบาย ต้องมีความเข้าใจ และต้องมีกิจกรรม โดยทั้ง 3 ส่วน ต้องมีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน ดำเนินงานด้วยจิตอาสา และจิตสาธารณะ

ขอบคุณข้อมูลดี เพื่อการแบ่งปัน  http://library.cmu.ac.th/rsc/?newsdetail.php&id=284
ขอบคุณภาพประกอบจาก Google



การอ่านหนังสือของคนไทย...ในวันนี้



การอ่านหนังสือของคนไทย 
 
  • จากวันนี้ไป นับถอยหลังอีก 31 วัน จะเข้าสู่ปี 2556
  • และในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
  • ประกอบด้วยไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคนโดยประมาณ 

มั่นใจกันถึงขนาดว่า ประชากรในกลุ่มอาเซียนขนาดนี้ น่าจะทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนเข้ามามากขึ้น ในทำนองว่าสิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียวว่างั้นเถอะ 

แต่พอมาดูผลการสํารวจการอ่านหนังสือของประชากรไทย ปี 2554 ของสํานักงานสถิติแห่งชาติ เผยแพร่ในปี 2555แล้ว ขอสรุปมาให้เห็นถึงความน่าสนใจในหลายประเด็นที่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการนำไปคิดต่อที่ว่า 

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการอ่านหนังสือของประชากร ซึ่งสํารวจไว้ในปี 2551 กับปี 2554 พบว่า
  • กลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ มีอัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.0 เป็นร้อยละ 53.5 
  • ขณะที่กลุ่มผู้ที่มีอายุ 6 ขวบขึ้นไป มีอัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย จากร้อยละ 66.3 เป็นร้อยละ 68.6 เท่านั้น
  • และยังพบว่าในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตเทศบาล 
  •  
ที่น่าสนใจ คือ
  • เด็กเล็กมีความถี่ในการอ่านหนังสืออย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์มีเพิ่มมากขึ้น
  • เด็กเล็กในกรุงเทพมหานครมีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด
  • ขณะที่ภาคอีสานเด็กเล็กมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุด 
สําหรับวัยเยาวชนและวัยทํางานส่วนใหญ่อ่านหนังสือพิมพ์ อ่านนิตยสาร
วัยสูงอายุส่วนใหญ่อ่านหนังสือ/เอกสารเกี่ยวกับคําสอนทางศาสนา รองลงมาคือ หนังสือพิมพ์ 
หนังสือพิมพ์ยังคงเป็นประเภทที่มีผู้อ่านสูงสุด ถึงร้อยละ 63.4
รองลงมา คือ ตําราเรียน/เอกสารที่ให้ความรู้ นวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น นิตยสาร 
 
 
ผู้อ่านหนังสือที่มีอายุตั้งแต่ 6ขวบขึ้นไปทั้งหมด
  • ใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทํางานเฉลี่ย 35นาทีต่อวัน
  • กลุ่มเด็กและเยาวชนใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ย 39-43 นาทีต่อวัน
  • มากกว่ากลุ่มวัยทํางานและสูงอายุที่ใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ย ประมาณ 31-32นาทีต่อวัน 

ที่มา ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เลาะเลียบคลองผดุงฯ 
ตุลย์ ณ ราชดำเนิน tulacom@gmail.com