Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

ข้อสอบการแข่งขันปริศนาสร้างสรรค์วรรณคดีไทย

ข้อสอบการแข่งขัน ปริศนาสร้างสรรค์วรรณคดีไทย
ระดับชั้น ป.๑-๓ (ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๒)
ณ โรงเรียนอนุบาลเกาะคา  อำเภอเกาะคา  จังหวัดลำปาง
สอบวันที่ ๖  กันยายน  ๒๕๕๙  เริ่มสอบเวลา ๐๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น.  คะแนนเต็ม ๖๐  คะแนน
......................................................................................................................................................
ชื่อ – สกุล ......................................................................................................................ชั้น...............
ชื่อ – สกุล ......................................................................................................................ชั้น...............
ชื่อ – สกุล ......................................................................................................................ชั้น...............
โรงเรียน............................................................อำเภอ...........................จังหวัด................................

 
 
คำชี้แจง
๑.      ข้อสอบชุดนี้มีถ้อยความให้อ่าน  มีคำถามจำนวน ๑๑ ข้อ และมีจำนวน ๗ หน้า
๒.    การตอบคำถามทุกข้อ ให้ทำในชุดข้อสอบ
๓.     ให้นักเรียนอ่านคำถามทุกข้ออย่างละเอียดรอบคอบแล้วตอบคำถามให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
๓.๑  บางคำถามจะมีคำตอบให้เลือกตอบ ให้นักเรียนเลือกตอบเพียง ๑  ข้อ โดยเขียนคำตอบลงในช่องที่กำหนด
๓.๒ บางคำถามให้นักเรียนเขียนตอบสั้นๆ ให้นักเรียนเขียนตอบเป็นตัวหนังสือ 
๓.๓ บางคำถามให้นักเรียนอธิบายคำตอบหรือให้เหตุผลประกอบ
๓.๔  บางคำถามมีคำตอบถูกได้หลายคำตอบ 
นักเรียนจะได้คะแนนจากการเขียนตอบที่แสดงถึงความเข้าใจคำถามและลักษณะการคิด

ใช้บทความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๑-๑๑
เพลงกล่อมเด็ก  เจ้านกกาเหว่า
เจ้านกกาเหว่าเอย
ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก
แม่กาก็หลงรัก
คิดว่าลูกในอุทร
คาบเอาข้าวมาเผื่อ
ไปคาบเอาเหยื่อมาป้อน
ถนอมไว้ในรังนอน
ซ่อนเอาเหยื่อมาให้กิน
ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล
ท้อแท้จะสอนบิน
แม่กาพาไปกิน
ที่ปากน้ำพระคงคา
ตีนเจ้าเหยียบสาหร่าย
ปากก็ไซร้หาปลา
กินกุ้งแลกินกั้ง
กินหอยกระพังแมงดา
กินแล้วก็โผมา
จับที่ต้นหว้าโพธิ์ทอง
ยังมีนายพราน
เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง
ยกปืนขึ้นส่อง
จ้องเอาแม่กาดำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม
อีกตัวหนึ่งว่าจะยำ
กินนางแม่กาดำ
ค่ำวันนี้อุแม่นา.

คำถามที่ ๑                                                                                                       ๑  คะแนน
จากความเชื่อของคนสมัยก่อน  เพลงกล่อมเด็ก มีไว้เพื่อจุดประสงค์ใด
๑.     เพื่อเล่านิทานให้เด็กฟัง                  ๒.  เพื่อให้เด็กเพลิดเพลินและหลับง่าย
๓.  เพื่อเป็นบทร้องเล่นในสมัยก่อน    ๔.  เพื่อให้เด็กไม่งอแงเวลาตื่นนอน
ข้อ
คำตอบ


                                                                                                           
คำถามที่ ๒                                                                                                      ๑  คะแนน
            ในเนื้อเพลงกล่อมเด็ก  เจ้านกกาเหว่า  แสดงให้เห็นถึงสิ่งใด
       การแสดงความรักความห่วงใย    
๒.  กล่าวถึงสิ่งแวดล้อม
๓.  เป็นการเล่านิทาน                         
๔.  เป็นการเสียดสีสังคม
ข้อ
คำตอบ



คำถามที่ ๓                                                                                                      ๑  คะแนน
            เพราะเหตุใดแม่กาจึงดูและเอาใจใส่เจ้ากาเหว่าน้อยเป็นอย่างดี
        เพราะเป็นลูกของตนที่เกิดมา      
      เพราะแม่กาและแม่กาเหว่าเป็นเพื่อนกัน
       เพราะคิดว่าลูกกาเหว่าเป็นลูกของตนจริงๆ
       เพราะกาเหว่ามาไข่ในรังแม่กา
ข้อ
คำตอบ





คำถามที่ ๔                                                                                                      ๑  คะแนน
            ลักษณะของเพลงกล่อมเด็กเป็นอย่างไร
๑.     ร้องเร็ว  มีจังหวะคล้องจอง           ๒. ร้องช้า  มีจังหวะคล้องจอง
๓.  ร้องเร็ว  ไม่มีจังหวะคล้องจอง      ๔. ร้องช้า ไม่มีจังหวะคล้องจอง
ข้อ
คำตอบ



คำถามที่ ๕                                                                                                      ๑  คะแนน
            เพลงกล่อมเด็ก “อื่อจา”  เป็นเพลงกล่อมเด็กภาคใด
๑.     ภาคเหนือ                                       ๒.  ภาคกลาง
๓.  ภาคอีสาน                                      ๔.  ภาคใต้
ข้อ
คำตอบ



คำถามที่ ๖                                                                                                       ๕  คะแนน
            ให้นักเรียนบอกลักษณะของการดูแลเอาใจใส่ของแม่กาที่มีต่อลูกกาเหว่า   ๕  ข้อ
โดยเขียนคำตอบอ่านง่ายชัดเจนด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
สิ่งที่แม่กาคอยดูแลเอาใจใส่ลูกกาเหว่า
๑.
๒.
๓.
๔.
๕.

  

คำถามที่ ๗                                                                                                      ๑๐  คะแนน
            จากบทประพันธ์ข้างต้นข้อความต่อไปนี้เป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริง
            ข้อความ  เป็นความจริง   จงเขียนเครื่องหมาย  X  ในช่อง “ใช่”
            ข้อความ  ไม่เป็นความจริง   จงเขียนเครื่องหมาย  X  ในช่อง “ไม่ใช่”
ที่
ข้อความ
ใช่
ไม่ใช่
เพลงกล่อมเด็กเป็นบทเพลงที่ฟังสบาย  ให้เด็กทารกหลับง่าย


เพลงกล่อมเด็ก ปรากฏอยู่เพียง ๓ ภูมิภาค คือ
ภาคเหนือ   ภาคกลาง   ภาคอีสาน


เพลงกล่อมเด็กเจ้านกกาเหว่า แสดงให้เห็นถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูก


คำว่า   เจ้ากาเหว่า   มีอักษรนำ


ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก”  มีวรรณยุกต์ครบทุกเสียง


กินหอยกระพังแมงดา”  มีอักษรสูง


“ปากก็ไซร้หาปลา”  มีคำควบกล้ำ


“เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง”  คำที่ขีดเส้นใต้ เป็นคำซ้อน


“แม่กาพาไปกิน” คำว่า กิน  เป็นคำนาม


๑๐
“ตัวหนึ่งว่าจะต้ม   อีกตัวหนึ่งว่าจะยำ”  เป็นประโยคบอกเล่า



คำถามที่ ๘                                                                                                      ๑๐  คะแนน
            เพลงกล่อมเด็ก  “เจ้ากาเหว่า”  ตอนใดที่มีความน่าสงสารที่สุด   เพราะเหตุใด  ให้นักเรียนยกตัวอย่างและแสดงเหตุผลประกอบ  โดยเขียนคำตอบด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัดที่อ่านง่ายและชัดเจน
ยกตัวอย่างตอนที่น่าสงสาร
เหตุผลประกอบ








คำถามที่ ๙                                                                                                       ๑๐  คะแนน
            ให้นักเรียนเขียนเติมข้อความลงในช่องว่าง  ด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัด  ให้ความสัมพันธ์ด้านการกระทำของแม่กามีให้ต่อลูกกาเหว่า  ตามหัวข้อที่กำหนดให้ในตาราง  โดยใช้ข้อมูลจากเนื้อเรื่องสนับสนุนคำตอบ
การกระทำของแม่กา
ลูกกาเหว่าได้รับ
ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก




ได้อาหาร
ถนอมไว้ในรังนอน




ได้รับการสั่งสอน
แม่กาพาไปกิน





คำถามที่ ๑๐                                                                                                     ๑๐  คะแนน
เพลงกล่อมเด็กช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้คนไทยมีความอ่อนโยน  
กตัญญู  และรักธรรมชาติ
นักเรียนเห็นด้วยกับข้อความข้างต้นหรือไม่  ทำไมจึงคิดเช่นนั้น  ให้เหตุผลประกอบ
๑.      ให้นักเรียนเลือกเครื่องหมายวงกลมล้อมรอบข้อความข้างล่างนี้เพียง ๑  ข้อความ

เห็นด้วย                                   ไม่เห็นด้วย                  เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

๒.   ให้นักเรียนเขียนอธิบายเหตุผลด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด  จำนวน ๒  ข้อที่สอดคล้องความคิด  การเลือกในข้อที่ ๑
ความคิดเห็นคล้อยตาม
ความคิดเห็นโต้แย้ง
๑.
๑.




๒.
๒.








คำถามที่ ๑๑                                                                                                     ๑๐  คะแนน
หากนักเรียนได้รับฟังเพลงกล่อมเด็กแล้ว   นักเรียนจะมีความรู้สึกอย่างไร
 และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองอย่างไร
            ให้เขียนคำตอบจำนวน ๒ ข้อ  ให้แสดงเหตุผลและพฤติกรรมของตนที่เกิดการเปลี่ยนแปลง  ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
ความรู้สึกที่ได้จากเพลงกล่อมเด็ก
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง
๑.





๒.






  

เฉลย


คำถามที่ ๑                                                                                                       ๑  คะแนน
จากความเชื่อของคนสมัยก่อน  เพลงกล่อมเด็ก มีไว้เพื่อจุดประสงค์ใด
๒.   เพื่อเล่านิทานให้เด็กฟัง                  ๒.  เพื่อให้เด็กเพลิดเพลินและหลับง่าย
๓.  เพื่อเป็นบทร้องเล่นในสมัยก่อน    ๔.  เพื่อให้เด็กไม่งอแงเวลาตื่นนอน
ข้อ
คำตอบ
เพื่อให้เด็กเพลิดเพลินและหลับง่าย
                                                                                                           
คำถามที่ ๒                                                                                                      ๑  คะแนน
            ในเนื้อเพลงกล่อมเด็ก  เจ้านกกาเหว่า  แสดงให้เห็นถึงสิ่งใด
       การแสดงความรักความห่วงใย    
๒.  กล่าวถึงสิ่งแวดล้อม
๓.  เป็นการเล่านิทาน                         
๔.  เป็นการเสียดสีสังคม
ข้อ
คำตอบ
การแสดงความรักความห่วงใย

คำถามที่ ๓                                                                                                      ๑  คะแนน
            เพราะเหตุใดแม่กาจึงดูและเอาใจใส่เจ้ากาเหว่าน้อยเป็นอย่างดี
        เพราะเป็นลูกของตนที่เกิดมา      
      เพราะแม่กาและแม่กาเหว่าเป็นเพื่อนกัน
       เพราะคิดว่าลูกกาเหว่าเป็นลูกของตนจริงๆ
       เพราะกาเหว่ามาไข่ในรังแม่กา
ข้อ
คำตอบ
เพราะคิดว่าลูกกาเหว่าเป็นลูกของตนจริงๆ

คำถามที่ ๔                                                                                                      ๑  คะแนน
            ลักษณะของเพลงกล่อมเด็กเป็นอย่างไร
๒.   ร้องเร็ว  มีจังหวะคล้องจอง           ๒. ร้องช้า  มีจังหวะคล้องจอง
๓.  ร้องเร็ว  ไม่มีจังหวะคล้องจอง      ๔. ร้องช้า ไม่มีจังหวะคล้องจอง
ข้อ
คำตอบ
ร้องช้า  มีจังหวะคล้องจอง

คำถามที่ ๕                                                                                                      ๑  คะแนน
            เพลงกล่อมเด็ก “อื่อจา”  เป็นเพลงกล่อมเด็กภาคใด
๑.     ภาคเหนือ                                       ๒.  ภาคกลาง
๓.  ภาคอีสาน                                      ๔.  ภาคใต้
ข้อ
คำตอบ
ภาคเหนือ

คำถามที่ ๖                                                                                                       ๕  คะแนน
            ให้นักเรียนบอกลักษณะของการดูแลเอาใจใส่ของแม่กาที่มีต่อลูกกาเหว่า   ๕  ข้อ
โดยเขียนคำตอบอ่านง่ายชัดเจนด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
สิ่งที่แม่กาคอยดูแลเอาใจใส่ลูกกาเหว่า
                         ๑.    การฟักไข่
๒.     การป้อนอาหาร
๓.    นอนกล่อมในรัง
๔.    สอนบิน
๕.    สอนวิธีหากิน   การเอาตัวรอด




คำถามที่ ๗                                                                                                      ๑๐  คะแนน
            จากบทประพันธ์ข้างต้นข้อความต่อไปนี้เป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริง
            ข้อความ  เป็นความจริง   จงเขียนเครื่องหมาย  X  ในช่อง “ใช่”
            ข้อความ  ไม่เป็นความจริง   จงเขียนเครื่องหมาย  X  ในช่อง “ไม่ใช่”
ที่
ข้อความ
ใช่
ไม่ใช่
เพลงกล่อมเด็กเป็นบทเพลงที่ฟังสบาย  ให้เด็กทารกหลับง่าย
X

เพลงกล่อมเด็ก ปรากฏอยู่เพียง ๓ ภูมิภาค คือ
ภาคเหนือ   ภาคกลาง   ภาคอีสาน

X
เพลงกล่อมเด็กเจ้านกกาเหว่า แสดงให้เห็นถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูก
X

คำว่า   เจ้ากาเหว่า   มีอักษรนำ
X

ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก”  มีวรรณยุกต์ครบทุกเสียง

X
กินหอยกระพังแมงดา”  มีอักษรสูง
X

“ปากก็ไซร้หาปลา”  มีคำควบกล้ำ
X

“เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง”  คำที่ขีดเส้นใต้ เป็นคำซ้อน

X
“แม่กาพาไปกิน” คำว่า กิน  เป็นคำนาม

X
๑๐
“ตัวหนึ่งว่าจะต้ม   อีกตัวหนึ่งว่าจะยำ”  เป็นประโยคบอกเล่า
X


คำถามที่ ๘                                                                                                      ๑๐  คะแนน
            เพลงกล่อมเด็ก  “เจ้ากาเหว่า”  ตอนใดที่มีความน่าสงสารที่สุด   เพราะเหตุใด  ให้นักเรียนยกตัวอย่างและแสดงเหตุผลประกอบ  โดยเขียนคำตอบด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัดที่อ่านง่ายและชัดเจน
ยกตัวอย่างตอนที่น่าสงสาร
เหตุผลประกอบ
     ยังมีนายพราน        เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง
ยกปืนขึ้นส่อง             จ้องเอาแม่กาดำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม          อีกตัวหนึ่งว่าจะยำ
กินนางแม่กาดำ          ค่ำวันนี้อุแม่นา.
เพราะหลังจากที่ดูแลลูกเป็นอย่างดีก็ถูกนายพรานฆ่าตาย  จับตัวไปกินเป็นอาหารของมนุษย์
คำถามที่ ๙                                                                                                       ๑๐  คะแนน
            ให้นักเรียนเขียนเติมข้อความลงในช่องว่าง  ด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัด  ให้ความสัมพันธ์ด้านการกระทำของแม่กามีให้ต่อลูกกาเหว่า  ตามหัวข้อที่กำหนดให้ในตาราง  โดยใช้ข้อมูลจากเนื้อเรื่องสนับสนุนคำตอบ
การกระทำของแม่กา
ลูกกาเหว่าได้รับ
ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก

ได้รับความอบอุ่น
คาบเอาข้าวมาเผื่อ

ได้อาหาร
ถนอมไว้ในรังนอน

ได้ที่อยู่อาศัย
ท้อแท้จะสอนบิน

ได้รับการสั่งสอน
แม่กาพาไปกิน

ได้รับความเอาใจใส่  ห่วงใย


คำถามที่ ๑๐                                                                                                     ๑๐  คะแนน
เพลงกล่อมเด็กช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้คนไทยมีความอ่อนโยน  
กตัญญู  และรักธรรมชาติ
นักเรียนเห็นด้วยกับข้อความข้างต้นหรือไม่  ทำไมจึงคิดเช่นนั้น  ให้เหตุผลประกอบ
๓.     ให้นักเรียนเลือกเครื่องหมายวงกลมล้อมรอบข้อความข้างล่างนี้เพียง ๑  ข้อความ
เห็นด้วย                                   ไม่เห็นด้วย                  เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

๔.    ให้นักเรียนเขียนอธิบายเหตุผลด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด  จำนวน ๒  ข้อที่สอดคล้องความคิด  การเลือกในข้อที่ ๑
ความคิดเห็นคล้อยตาม
ความคิดเห็นโต้แย้ง
๑. เพราะเนื้อหาเพลงกล่อมเด็กบางตอน
๑.  เพราะเด็กได้รับฟังตั้งแต่อายุยังน้อย
สอนเกี่ยวกับความรักของแม่ที่มีต่อลูก 
ไม่เข้าใจเนื้อหา  ฟังไปก็หลับ เพียงแค่ทำนอง
ความห่วงใย เราต้องมีความกตัญญู
ช้า ทำให้เด็กหลับง่าย
๒. เพราะ เพลงกล่อมเด็กเป็นเพลงช้า 
๒.  เพราะเพลงกล่อมเด็กไม่ได้ช่วยให้เด็ก
ฟังสบาย  ทำให้จิตใจอ่อนโยนขึ้น
รักธรรมชาติ  เพียงเพราะเขาคลุกคลีกับ

ธรรมชาติมากกว่าที่ได้ยินจากเนื้อเพลง



คำถามที่ ๑๑                                                                                                     ๑๐  คะแนน
หากนักเรียนได้รับฟังเพลงกล่อมเด็กแล้ว   นักเรียนจะมีความรู้สึกอย่างไร
 และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองอย่างไร
            ให้เขียนคำตอบจำนวน ๒ ข้อ  ให้แสดงเหตุผลและพฤติกรรมของตนที่เกิดการเปลี่ยนแปลง  ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
ความรู้สึกที่ได้จากเพลงกล่อมเด็ก
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง
๑.  สบายใจ  ผ่อนคลาย
ใจเย็นมากขึ้น




๒.  รักและคิดถึงแม่
จะกตัญญู  และดูแลแม่ให้มากขึ้น










..ด้วยความขอบคุณผู้แบ่งปัน..
จึงนำมาแบ่งปันต่อ เพื่อเป็นประโยชน์แก่คุณครูภาษาไทย
ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จากที่นี่..
https://www.facebook.com/groups/600596030019949/1170114589734754/