Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

กรอบโครงสร้างของการประเมินการอ่านใน PISA 2018




PISA ประเมินอะไร 

การประเมินของ PISA ต้องการให้ครอบคลุมภารกิจการอ่านที่กว้างและลึก และให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมายผู้อ่านที่หลากหลาย เพราะไม่ว่าใครจะมีเป้าหมายชีวิตอย่างไร การอ่านก็มีความสำคัญเป็นอันดับแรกเพราะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้รู้เรื่อง (Literate) ทุกด้านสำหรับทุกคนที่จะสามารถมีส่วนร่วมในสังคม เศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตได้ อย่างมีคุณภาพ นั่นหมายถึงว่าการประเมินต้องให้เชื่อมโยงไปถึงสิ่งที่นักเรียนจะต้องไปเผชิญในชีวิตจริงนอกโรงเรียนในวันหน้า การประเมินการอ่านที่ออกแบบมาตั้งแต่ต้นจึงต้องกำหนดถ้อยความ (Text) ที่ให้อ่านให้มีสถานการณ์ (Situation) หรือบริบท (Context) ซึ่งครอบคลุมในบริบทส่วนตัว บริบทสังคม สาธารณะ การงานอาชีพ และการศึกษา แต่มิใช่ว่าแต่ละบริบทจะแยกกันเด็ดขาด แต่ในถ้อยความจะสร้างให้เกี่ยวข้องหรือทับซ้อนกันหลาย ๆ บริบท PISA 2018 ถือว่าการอ่านเป็น “กระบวนการทางสติปัญญา” ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ทั้งทักษะและประสิทธิภาพประกอบกัน


กรอบโครงสร้างของการประเมินการอ่านใน PISA 2018 

เพื่อจะชี้วัดว่านักเรียนมีความสามารถในการอ่าน “ที่อยู่นอกเหนือจากห้องเรียน” เพียงใด ดังนั้นการประเมินการอ่านของ PISA จึงเน้นความเข้าใจในสื่อที่ได้อ่าน การสร้างความหมายจากสิ่งที่อ่านโดยใช้ความรู้เดิมผสมผสานกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ทั้งนี้รวมถึงการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิมและสื่อดิจิทัล (Digital reading) PISA 2018 จึงปรับกรอบโครงสร้างการประเมินให้ขยายไปครอบคลุมสื่อดิจิทัลด้วย และต่อไปนี้คือโครงสร้างสังเขปว่า PISA 2018 จะประเมินอะไร ทั้งนี้เพื่อเตือนให้ทบทวนว่านักเรียนมีสมรรถนะเหล่านั้นพร้อมมากน้อยเพียงใดและต้องทำอะไรต่อ 

การอ่านดิจิทัลไม่ใช่เพิ่งเริ่มต้นใน PISA 2018 แต่ได้เริ่มประเดิมมาบ้างแล้วในการประเมินการอ่านรอบก่อน คือ PISA 2009 และ PISA 2015 เท่าที่พบสำหรับนักเรียนไทยมีจุดอ่อนมากในการอ่านดิจิทัล เพราะนักเรียนส่วนใหญ่จะอ่อนด้อยในการตอบสนองคำสั่งที่ให้ใช้เหตุผลจากถ้อยความ ให้บอกสาระสำคัญที่ถ้อยความที่กำหนดให้สื่อสารออกมา หรือให้โต้แย้งบนพื้นฐานของประจักษ์พยานที่ปรากฏ แต่ส่วนมากนักเรียนไทยจะใช้วิธีคัดลอกถ้อยความมาวาง (copy – paste) เป็นคำตอบที่ทำให้ไม่ได้คะแนน 

การอ่านดิจิทัล (Digital reading)




การอ่านดิจิทัล (Digital reading) 


    เนื่องจากคอมพิวเตอร์ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในโลกใบนี้ และประมาณได้ว่าประชากรของโลกเกือบครึ่งที่มีอินเทอร์เน็ตเข้าถึงบ้านแล้ว และยิ่งในระยะหลังมีทั้งไอแพด แทบเล็ต และสมาร์ทโฟน

     จากรายงานของ UNESCO ที่สำรวจในประเทศกำลังพัฒนา 5 ประเทศว่า ประชาชนสนใจการอ่านเพิ่มขึ้น เพราะสามารถอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือ (UNESCO, 2014) การอ่านจึงเปลี่ยนจากการอ่านสิ่งพิมพ์เป็นการอ่านจากดิจิทัล

     ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมีจุดสำคัญ คือ การนิยามว่าการอ่านเป็นทักษะ เพราะรูปแบบของสื่อที่เปลี่ยนไปจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่เคยชิน เพื่อให้ได้สาระหรือสามารถสื่อสารได้หลากหลาย ผู้อ่านต้องจดจ่ออ่านสื่อที่แสดงบนหน้าจอที่เล็ก มีเครือข่ายเชื่อมโยงที่ท้าทายความสนใจ และยังสามารถรวมสื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์บนหน้าจอ เช่น อีเมล ข้อความสั้น กระดานสนทนา การคุยบนหน้าจอ (Chat) และเครือข่ายสังคม (Social network) การอ่านและการเขียนจึงเข้ามาแทนที่การสื่อสารด้วยวาจา

    ทั้งนี้หมายความว่า ประชาชนต้องมีความเข้าใจในสื่อการเขียนเป็นฐาน และเมื่อมีสื่อรูปแบบต่าง ๆ กระหน่ำเข้ามาอย่างหลากหลายประชาชนจึงต้องรู้ทันว่าจะเลือกอ่านอะไร เมื่อไรจะต้องอ่านเพิ่มจากแหล่งอื่น ๆ  ประเมินความถูกต้องเป็นจริง และสามารถสื่อสารในรูปของการเขียนได้ตามบริบทของสังคมรุ่นใหม่  ดังนั้นเกือบทุกส่วนของโลกปัจจุบัน ทักษะในการใช้สื่อดิจิทัล นับเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จ 

    ผู้อ่านในยุคดิจิทัลจึงต้องมี..ลักษณะ ดังนี้
         👍มีทักษะใหม่ ๆ อีกหลากหลาย
        👍ต้องรู้จักการใช้ ICT เพื่อสามารถใช้เครื่องมือและโปรแกรมได้ 
        👍สามารถค้นหาและเข้าถึงสาระถ้อยความที่ต้องการจากการใช้เครื่องมือ เมนู การเชื่อมต่อ ฯลฯ 

   และเนื่องจากบนอินเทอร์เน็ตมีทุกอย่างล้นหลามเกินการควบคุม ผู้อ่านต้องรู้และเลือกว่าต้องการอะไร สามารถประเมินคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องเป็นจริง และที่สำคัญในที่สุดผู้อ่านต้องรู้จักค้นหาถ้อยความจากหลายแหล่ง และประเมินว่าแต่ละแหล่งมีอะไรที่แตกต่างหรือขัดแย้งกันแล้วตัดสินออกมาเป็นมติของตนเอง

    ดังนั้นทักษะการอ่านดิจิทัล....จึงเป็นสิ่งสำคัญคนรุ่นใหม่ต้องรู้

    การอ่าน PISA 2018 ได้ปรับกรอบการประเมินการอ่าน ที่ต้องสัมผัสกับการอ่านจากสื่อดิจิทัลด้วย และนี่คือนาฬิกาปลุกขึ้นมาว่านักเรียนไทยพร้อมหรือไม่ที่จะรับการประเมินการอ่านดิจิทัล 

http://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2017-13

การอ่าน Digital



การอ่านดิจิทัล: นักเรียนไทยพร้อมหรือยัง?


การประเมิน PISA 2018 จะเป็นการประเมินระบบดิจิทัลทั้งหมด โดยมีการอ่านเป็นการประเมินหลัก แต่คราวนี้ไม่ใช่การอ่านสื่อแบบดั้งเดิม  แต่จะเป็นการอ่านจากสื่อดิจิทัล (Digital Reading)  ซึ่งเชื่อว่าแม้นักเรียนไทยบางส่วนจะคุ้นเคยอยู่บ้างแต่ส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นชิน  ไม่ว่าจะเป็นการอ่านสื่อแบบดั้งเดิมหรือสื่อดิจิทัลแล้วเราจะเตรียมตัวรับมือกันอย่างไร 


เป้าหมายของ PISA  คือให้สาระสำคัญถึงประสิทธิภาพของระบบการศึกษาแก่ประเทศในโครงการทุก ๆ สามปี การประเมินรอบสุดท้ายที่ผ่านมา คือ PISA 2015 ซึ่งชี้ว่า นักเรียนไทยมีผลการประเมินการอ่านต่ำมากและต่ำกว่าทุกครั้งในทุกรอบการประเมินนับตั้งแต่ PISA 2000 เป็นต้นมา

       ซึ่งเป็นนาฬิกาปลุกให้ตื่นจากความนิ่งเฉยและลุกขึ้นมาปรับปรุงสมรรถนะการอ่านของนักเรียนซึ่งไม่อาจรีรอได้อีกต่อไป เพราะการประเมินการอ่าน PISA ครั้งต่อไปเป็นการอ่านแบบเปลี่ยนรูปที่นักเรียนไม่คุ้นชิน กำลังเคาะประตูเรียกอยู่ ระบบโรงเรียนจึงควรตระหนักและเตรียมพร้อมสำหรับการอ่านแบบใหม่นี้ให้ทั้งนักเรียนและครู 


 การที่ PISA ใช้คำว่า การรู้เรื่องการอ่าน (Reading literacy)  เพราะมีความหมายมากกว่าการอ่านถูกต้องและรู้ความหมายของคำที่อ่านเหมือนแบบเด็ก ๆ  

          แต่การอ่านในความหมายของ PISA เป็น...

                👉 กระบวนการการใช้ความรู้ ทักษะ และกลยุทธ์ที่สร้างสมตลอดชีวิต  
                
👉 รวมทั้งการอ่านคล่อง
                
👉 ตีความหมายคำ
                
👉 การเชื่อมโยงระหว่างประโยค
                
👉 สกัดใจความสำคัญ โดยอ้างอิงความรู้และประสบการณ์เดิม
                
👉 ทักษะการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล  จากข้อมูลสำหรับการอ่านถ้อยความที่ซับซ้อนและมีจุดประสงค์จำเพาะ

ความสามารถในการอ่าน....จึงครอบคลุมไปถึงสมรรถนะการค้นหาสาระ
การค้นหาระดับความจริงหรือความถูกต้องของถ้อยความที่อ่าน
การเปรียบเทียบความคล้ายหรือความแตกต่างของการอ่านจากหลายแหล่ง
การบูรณาการสาระจากหลายแหล่งเหล่านั้นมาเป็นมติของตนเอง เป็นต้น

นี่คือ 
การอ่าน ในความหมายของ Reading literacy 


http://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2017-13

PISA 2018




ศธ.เตรียมเด็กไทยรับสอบพิซ่าปี 2018 

    นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่าได้หารือร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อเตรียมวางแผนโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติหรือพิซ่า(PISA)ที่จะสอบในปี2018 ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการวางรากฐานด้านภาษาอังกฤษ ไอซีที และการออกข้อสอบแนวอัตนัยให้มากขึ้น 


       ทั้งนี้ ศธ.จะมีการตั้งคณะทำงานการวางรากฐานเรื่องดังกล่าวทั้ง 3 ด้าน เพื่อให้การสอบพิซ่าของเด็กไทยมีคุณภาพมากที่สุด เนื่องจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) ได้สุ่มตัวอย่างนักเรียนอายุ 15 ปี หรือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากทั่วโลกใน 65 ประเทศ โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน

      ดังนั้น เราจำเป็นต้องเร่งเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้   “เด็กไทยก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสอบพิซ่า เพราะเห็นว่าไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการสอบ ซึ่งจะต้องสร้างแรงจูงใจในการสอบพิซ่าให้แก่นักเรียน เหมือนสร้างความฮึกเหิมว่าการสอบครั้งนี้เราต้องทำเพื่อประเทศชาติ โดยอาจจะมีการมอบรางวัลให้ด้วย ทั้งนี้ สสวท.และ สพฐ.จะต้องไปวางแนวทางเตรียมความพร้อมให้โรงเรียนอย่างไรบ้าง”

      รมว.ศธ. กล่าวและว่าอย่างไรก็ตาม ในการมอบนโยบายเรื่องดังกล่าวให้ สพฐ.และ สสวท.ไปดำเนินการนั้น ตนไม่อยากให้เป็นช่องทางในการให้เด็กแห่ไปติวเตอร์ แต่ต้องการให้ครูมุ่งเน้นการเรียนการสอนในห้องเรียนให้เข้มข้นมากขึ้น เช่น สอบวัดความรู้วันต่อวันว่าเด็กเข้าใจในบทเรียนหรือสิ่งที่ครูได้สอนไปหรือไม่.



แหล่งข้อมูล
http://www.kroobannok.com/82910
https://www.thairath.co.th/content/1072937