การประเมิน PISA 2018 จะเป็นการประเมินระบบดิจิทัลทั้งหมด โดยมีการอ่านเป็นการประเมินหลัก แต่คราวนี้ไม่ใช่การอ่านสื่อแบบดั้งเดิม แต่จะเป็นการอ่านจากสื่อดิจิทัล (Digital Reading) ซึ่งเชื่อว่าแม้นักเรียนไทยบางส่วนจะคุ้นเคยอยู่บ้างแต่ส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นชิน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านสื่อแบบดั้งเดิมหรือสื่อดิจิทัลแล้วเราจะเตรียมตัวรับมือกันอย่างไร
เป้าหมายของ PISA คือให้สาระสำคัญถึงประสิทธิภาพของระบบการศึกษาแก่ประเทศในโครงการทุก ๆ สามปี การประเมินรอบสุดท้ายที่ผ่านมา คือ PISA 2015 ซึ่งชี้ว่า นักเรียนไทยมีผลการประเมินการอ่านต่ำมากและต่ำกว่าทุกครั้งในทุกรอบการประเมินนับตั้งแต่ PISA 2000 เป็นต้นมา
ซึ่งเป็นนาฬิกาปลุกให้ตื่นจากความนิ่งเฉยและลุกขึ้นมาปรับปรุงสมรรถนะการอ่านของนักเรียนซึ่งไม่อาจรีรอได้อีกต่อไป เพราะการประเมินการอ่าน PISA ครั้งต่อไปเป็นการอ่านแบบเปลี่ยนรูปที่นักเรียนไม่คุ้นชิน กำลังเคาะประตูเรียกอยู่ ระบบโรงเรียนจึงควรตระหนักและเตรียมพร้อมสำหรับการอ่านแบบใหม่นี้ให้ทั้งนักเรียนและครู
การที่ PISA ใช้คำว่า การรู้เรื่องการอ่าน (Reading literacy) เพราะมีความหมายมากกว่าการอ่านถูกต้องและรู้ความหมายของคำที่อ่านเหมือนแบบเด็ก ๆ
แต่การอ่านในความหมายของ PISA เป็น...
👉 กระบวนการการใช้ความรู้ ทักษะ และกลยุทธ์ที่สร้างสมตลอดชีวิต
👉 รวมทั้งการอ่านคล่อง
👉 ตีความหมายคำ
👉 การเชื่อมโยงระหว่างประโยค
👉 สกัดใจความสำคัญ โดยอ้างอิงความรู้และประสบการณ์เดิม
👉 ทักษะการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล จากข้อมูลสำหรับการอ่านถ้อยความที่ซับซ้อนและมีจุดประสงค์จำเพาะ
ความสามารถในการอ่าน....จึงครอบคลุมไปถึงสมรรถนะการค้นหาสาระ
การค้นหาระดับความจริงหรือความถูกต้องของถ้อยความที่อ่าน
การเปรียบเทียบความคล้ายหรือความแตกต่างของการอ่านจากหลายแหล่ง
การบูรณาการสาระจากหลายแหล่งเหล่านั้นมาเป็นมติของตนเอง เป็นต้น
นี่คือ การอ่าน ในความหมายของ Reading literacy
http://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2017-13