การอ่านดิจิทัล (Digital reading)
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในโลกใบนี้ และประมาณได้ว่าประชากรของโลกเกือบครึ่งที่มีอินเทอร์เน็ตเข้าถึงบ้านแล้ว และยิ่งในระยะหลังมีทั้งไอแพด แทบเล็ต และสมาร์ทโฟน
จากรายงานของ UNESCO ที่สำรวจในประเทศกำลังพัฒนา 5 ประเทศว่า ประชาชนสนใจการอ่านเพิ่มขึ้น เพราะสามารถอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือ (UNESCO, 2014) การอ่านจึงเปลี่ยนจากการอ่านสิ่งพิมพ์เป็นการอ่านจากดิจิทัล
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมีจุดสำคัญ คือ การนิยามว่าการอ่านเป็นทักษะ เพราะรูปแบบของสื่อที่เปลี่ยนไปจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่เคยชิน เพื่อให้ได้สาระหรือสามารถสื่อสารได้หลากหลาย ผู้อ่านต้องจดจ่ออ่านสื่อที่แสดงบนหน้าจอที่เล็ก มีเครือข่ายเชื่อมโยงที่ท้าทายความสนใจ และยังสามารถรวมสื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์บนหน้าจอ เช่น อีเมล ข้อความสั้น กระดานสนทนา การคุยบนหน้าจอ (Chat) และเครือข่ายสังคม (Social network) การอ่านและการเขียนจึงเข้ามาแทนที่การสื่อสารด้วยวาจา
ทั้งนี้หมายความว่า ประชาชนต้องมีความเข้าใจในสื่อการเขียนเป็นฐาน และเมื่อมีสื่อรูปแบบต่าง ๆ กระหน่ำเข้ามาอย่างหลากหลายประชาชนจึงต้องรู้ทันว่าจะเลือกอ่านอะไร เมื่อไรจะต้องอ่านเพิ่มจากแหล่งอื่น ๆ ประเมินความถูกต้องเป็นจริง และสามารถสื่อสารในรูปของการเขียนได้ตามบริบทของสังคมรุ่นใหม่ ดังนั้นเกือบทุกส่วนของโลกปัจจุบัน ทักษะในการใช้สื่อดิจิทัล นับเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จ
จากรายงานของ UNESCO ที่สำรวจในประเทศกำลังพัฒนา 5 ประเทศว่า ประชาชนสนใจการอ่านเพิ่มขึ้น เพราะสามารถอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือ (UNESCO, 2014) การอ่านจึงเปลี่ยนจากการอ่านสิ่งพิมพ์เป็นการอ่านจากดิจิทัล
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมีจุดสำคัญ คือ การนิยามว่าการอ่านเป็นทักษะ เพราะรูปแบบของสื่อที่เปลี่ยนไปจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่เคยชิน เพื่อให้ได้สาระหรือสามารถสื่อสารได้หลากหลาย ผู้อ่านต้องจดจ่ออ่านสื่อที่แสดงบนหน้าจอที่เล็ก มีเครือข่ายเชื่อมโยงที่ท้าทายความสนใจ และยังสามารถรวมสื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์บนหน้าจอ เช่น อีเมล ข้อความสั้น กระดานสนทนา การคุยบนหน้าจอ (Chat) และเครือข่ายสังคม (Social network) การอ่านและการเขียนจึงเข้ามาแทนที่การสื่อสารด้วยวาจา
ทั้งนี้หมายความว่า ประชาชนต้องมีความเข้าใจในสื่อการเขียนเป็นฐาน และเมื่อมีสื่อรูปแบบต่าง ๆ กระหน่ำเข้ามาอย่างหลากหลายประชาชนจึงต้องรู้ทันว่าจะเลือกอ่านอะไร เมื่อไรจะต้องอ่านเพิ่มจากแหล่งอื่น ๆ ประเมินความถูกต้องเป็นจริง และสามารถสื่อสารในรูปของการเขียนได้ตามบริบทของสังคมรุ่นใหม่ ดังนั้นเกือบทุกส่วนของโลกปัจจุบัน ทักษะในการใช้สื่อดิจิทัล นับเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จ
ผู้อ่านในยุคดิจิทัลจึงต้องมี..ลักษณะ ดังนี้
👍มีทักษะใหม่ ๆ อีกหลากหลาย
👍ต้องรู้จักการใช้ ICT เพื่อสามารถใช้เครื่องมือและโปรแกรมได้
👍มีทักษะใหม่ ๆ อีกหลากหลาย
👍ต้องรู้จักการใช้ ICT เพื่อสามารถใช้เครื่องมือและโปรแกรมได้
👍สามารถค้นหาและเข้าถึงสาระถ้อยความที่ต้องการจากการใช้เครื่องมือ เมนู การเชื่อมต่อ ฯลฯ
และเนื่องจากบนอินเทอร์เน็ตมีทุกอย่างล้นหลามเกินการควบคุม ผู้อ่านต้องรู้และเลือกว่าต้องการอะไร สามารถประเมินคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องเป็นจริง และที่สำคัญในที่สุดผู้อ่านต้องรู้จักค้นหาถ้อยความจากหลายแหล่ง และประเมินว่าแต่ละแหล่งมีอะไรที่แตกต่างหรือขัดแย้งกันแล้วตัดสินออกมาเป็นมติของตนเอง
ดังนั้นทักษะการอ่านดิจิทัล....จึงเป็นสิ่งสำคัญคนรุ่นใหม่ต้องรู้
การอ่าน PISA 2018 ได้ปรับกรอบการประเมินการอ่าน ที่ต้องสัมผัสกับการอ่านจากสื่อดิจิทัลด้วย และนี่คือนาฬิกาปลุกขึ้นมาว่านักเรียนไทยพร้อมหรือไม่ที่จะรับการประเมินการอ่านดิจิทัล
http://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2017-13