Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

โศกนาฏกรรมภาษาไทย นักเรียน ป.๒-ม.๖, ครู และผู้บริหารสถานศึกษา เขียนคำระดับชั้น ป.๑ ไม่ได้้

บทความนี้คัดมาเพื่อการศึกษา
จากข้อมูลทั้งหมดนี้ พบว่า
๑.ไม่มีการระบุวันเดือนปีที่ทดสอบ และ ไม่มีการระบุหน่วยงานที่ทดสอบ
๒.กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนไม่มีภาคใต้
๓.กลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและผู้บริหารโรงเรียนไม่มีภาคเหนือ
๔.กลุ่มคำที่ใช้ทดสอบครูและผู้บริหาร จำนวน ๒๐ คำ ระบุว่าเป็นกลุ่มคำระดับมาตรฐานชั้น ป.๑ ได้แก่ 
 
  • เปรี้ยงปร้าง 
  • ครืดคราด 
  • ขี้เถ้าแกลบ 
  • เยิ่นเย้อ 
  • โขลกพริก 
  • หละหลวม 
  • ระลอกพลิ้ว 
  • เมื่อยล้า 
  • ต้วมเตี้ยม 
  • ทะนุถนอม 
  • กระหยิ่มยิ้มย่อง 
  • หลีกเร้น 
  • คลั่งไคล้ 
  • โสร่งปาเต๊ะ 
  • กระฉอกกระฉ่อน 
  • บ้องแบ๊ว 
  • ชะโงกง้ำ 
  • ระล่ำระลัก 
  • เลือนราง 
  • สล้างเสลา   
ทั้ง ๒๐ คำดังกล่าวนี้เป็นคำที่มีอักษรนำ, คำควบกล้ำ, คำตามมาตราตัวสะกด, คำที่ผันด้วยวรรณยุกต์ทั้ง ๕ เสียง  เพียงแต่มีหลายคำที่ไม่ใช่คำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นคำไม่คุ้นหู เป็นคำที่ใช้ในบทประพันธ์ เช่นคำว่า ระลอกพริ้ว, สล้างเสลา, ชะโงกง้ำ ผู้เขียนจึงจะขอศึกษากับครู ชั้น ป.๑ ว่าเป็นกลุ่มคำระดับมาตรฐาน ของ ชั้น ป.๑ จริงหรือไม่



รายละเอียดของบทความ มีดังนี้

โศกนาฏกรรมภาษาไทย
นักเรียน ป.๒-ม.๖ครู และผู้บริหารสถานศึกษา
เขียนคำระดับชั้น ป.๑ ไม่ได้ !!!

** สภาพ ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่ตกต่ำย่ำแย่ของนักเรียน ครู และผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่ทุกภูมิภาค ระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๖ เมื่อใช้คำระดับมาตรฐานชั้น ป.๑ ให้นักเรียน ครู และผู้บริหารสถานศึกษา เขียนตามคำบอก” ปรากฏความจริงที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ ทั้งนักเรียน ครู และผู้บริหารสถานศึกษาสอบตกจำนวนมาก !!!

กรอบมาตรฐานคำระดับชั้น ป.๑ ที่ใช้ทดสอบนักเรียน ๕๐ คำประกอบด้วยมาตรฐานแห่งความครอบคลุมต่อไปนี้

๑.คำที่มีพยัญชนะต้นอักษร ๓ หมู่
๒.คำที่ตรงมาตราทั้ง ๙ แม่
๓.คำที่มีสระต่างๆ ไม่น้อยกว่า ๒๐ สระ
๔.คำควบกล้ำและอักษรนำ
๕.คำที่ผันเสียงอักษรทั้ง ๓ หมู่

คำทดสอบเขียนตามคำบอกชุดที่ ๑ ประกอบด้วย กาแฟ ทอผ้า มะลิลา สึนามิ อายิโนะ เตาะแตะ ฉอเลาะ เล้าไก่ เข้าถ้ำ ขยำขยี้ ปิงปอง โผงผาง ข้างล่าง ทุ่งนาแล้ง อึ่งอ่าง ไอโอดีน ปิ่นโต เส้นด้าย เล่นโขน ฟ้อนรำ ซุ่มซ่าม ยิ้มแย้ม อ่อนน้อม รอยเท้า กุ้งฝอย ผิวขาว แน่วแน่ ของฝาก ปึกแผ่น กุ๊กกิ๊ก ชอกช้ำ เจียระไน เผื่อแผ่ ด้ามมีด ฮึดสู้ โหดร้าย หุบเหว ตะเกียบ บ่ายเบี่ยง เลื่อนเวลา ทะเล่อทะล่า จดบันทึก ส้วมซึม กวยจั๊บ พริกเผ็ด ปลาบปลื้ม รื่นเริง หยิ่งผยอง เคลื่อนคล้อย สลักเสลา
กำหนด ๕๐ คำ ๕๐ คะแนนนักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่า ๒๕ คะแนนถือว่า ไม่ผ่าน” การทดสอบ ซึ่งผลจากการทดสอบบางโรงเรียน มีดังนี้

ตัวอย่างการทดสอบนักเรียนจังหวัดภาคเหนือ 

๑.โรงเรียนขนาดเล็ก
ป.๒-๓ นักเรียนที่เข้าทดสอบ ๒๗ คนผู้สอบผ่าน ๐ คนผู้สอบไม่ผ่าน ๒๗ คน (๑๐๐%)
ป.๔-๖ นักเรียนที่เข้าทดสอบ ๔๒ คนผู้สอบผ่าน ๒ คนผู้สอบไม่ผ่าน ๔๐ คน (๙๕.๒๐%)

๒.โรงเรียนขนาดกลางโรงที่ ๑
ป.๔-๖ นักเรียนที่เข้าทดสอบ ๑๐๖ คนผู้สอบผ่าน ๑๕ คนผู้สอบไม่ผ่าน ๙๑ คน (๘๕.๘๐%)
ม.๑-๓ นักเรียนที่เข้าทดสอบ ๘๘ คนผู้สอบผ่าน ๒๙ คนผู้สอบไม่ผ่าน ๕๙ คน (๖๗.๐๐%)
๓.โรงเรียนขนาดกลางโรงที่ ๒
ป.๒ - ม.๓  นักเรียนที่เข้าทดสอบ ๒๒๓ คนผู้สอบผ่าน ๖๖ คนผู้สอบไม่ผ่าน ๑๕๗ คน (๗๐.๔๐%)    

๔.โรงเรียนขนาดใหญ่
ป.๔-๖ นักเรียนที่เข้าทดสอบ ๒๗๖ คนผู้สอบผ่าน ๘๕ คนผู้สอบไม่ผ่าน ๑๙๑ คน (๖๙.๒๐%)
ม.๑ นักเรียนที่เข้าทดสอบ ๘๔ คนผู้สอบผ่าน ๔๐ คนผู้สอบไม่ผ่าน ๔๒ คน (๕๒.๓๐%)

ตัวอย่างการทดสอบนักเรียน กทม.

๑.โรงเรียนขนาดกลาง 
ป.๒-๖ นักเรียนที่เข้าทดสอบ ๔๖๒ คนผู้สอบผ่าน ๒๔๖ คนผู้สอบไม่ผ่าน ๒๑๖ คน (๔๖.๗๕%)

๒.โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงที่ ๑
ป.๒-ม.๓ นักเรียนที่เข้าทดสอบ ๑,๓๙๓ คนผู้สอบผ่าน ๘๖๘ คนผู้สอบไม่ผ่าน ๕๒๕ คน (๓๗.๖๙%)

๓.โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงที่ ๒
ป.๒ – ๖ นักเรียนที่เข้าทดสอบ ๑,๒๐๐ คนผู้สอบผ่าน ๗๐๐ คนผู้สอบไม่ผ่าน ๕๐๐ คน (๔๑.๖๗%) โรงเรียนนี้ได้ตัดจำนวนที่เป็นเศษออก

ตัวอย่างการทดสอบนักเรียนภาคตะวันออก

๑.โรงเรียนขนาดเล็ก 
ป.๒-๖ นักเรียนที่เข้าทดสอบ ๕๑ คนผู้สอบผ่าน ๒๐ คนผู้สอบไม่ผ่าน ๓๑ คน (๖๐.๗๐%)

ตัวอย่างการทดสอบนักเรียนภาคกลาง

๑.โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่  
ป.๒-ม.๕ นักเรียนที่เข้าทดสอบเฉพาะนักเรียนกินนอนบางส่วน ๔๒ คนผู้สอบผ่าน ๒๘ คนผู้สอบไม่ผ่าน ๑๔ คน (๓๓.๓๓%)

-----------------------------------------------------

ผลการทดสอบครูและผู้บริหารสถานศึกษา

          เมื่อ คัดเลือกคำ ๒๐ คำในระดับมาตรฐานชั้น ป.๑ อีกบางกลุ่มมาให้ครูและผู้บริหารสถานศึกษาทดสอบเขียนตามคำบอกบ้าง ก็ได้พบคำตอบที่น่าตกใจยิ่งนัก นั่นคือคำทดสอบเขียนตามคำบอกสำหรับครูและผู้บริหารสถานศึกษา ที่ประกอบด้วย เปรี้ยง ปร้าง ครืดคราด ขี้เถ้าแกลบ เยิ่นเย้อ โขลกพริก หละหลวม ระลอกพลิ้ว เมื่อยล้า ต้วมเตี้ยม ทะนุถนอม กระหยิ่มยิ้มย่อง หลีกเร้น คลั่งไคล้ โสร่งปาเต๊ะ กระฉอกกระฉ่อน บ้องแบ๊ว ชะโงกง้ำ ระล่ำระลัก เลือนราง สล้างเสลา ... ผลการทดสอบ มีดังนี้

ตัวอย่างการทดสอบภาคตะวันออก

๑.ครูสังกัดการปกครองท้องถิ่น โรงเรียนที่ ๑
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๑๕ คนผ่าน ๘ คนไม่ผ่าน ๗ คน (๔๗.๖๗%)
๒.ครูสังกัดการปกครองท้องถิ่น โรงเรียนที่ ๒
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๖ คนผ่าน ๒ คนไม่ผ่าน ๔ คน (๖๖.๖๗%)
๓.ครูสังกัดการปกครองท้องถิ่น โรงเรียนที่ ๓
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๒๕ คนผ่าน ๑๐ คนไม่ผ่าน ๑๕ คน (๖๐.๐๐%)
๔.ครูสังกัดการปกครองท้องถิ่น โรงเรียนที่ ๔ 
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๒๒ คนผ่าน ๔ คนไม่ผ่าน ๑๘ คน (๘๑.๘๒%)
๕.ครูสังกัดการปกครองท้องถิ่น โรงเรียนที่ ๕ 
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๑๕ คนผ่าน ๕ คนไม่ผ่าน ๑๐ คน (๖๖.๖๗%)
ฯลฯ

ตัวอย่างการทดสอบภาคกลาง

๑.ครูสังกัด สพป. จังหวัดที่ ๑
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๔๓ คนผ่าน ๒๖ คนไม่ผ่าน ๑๗ คน (๓๙.๕๓%)
๒.ครูสังกัด สพป. จังหวัดที่ ๒ 
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๑๐๖ คนผ่าน ๕๔ คนไม่ผ่าน ๕๒ คน (๔๙.๐๖%)
๓.ครูสังกัด สพป. จังหวัดที่ ๓ 
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๑๙๒ คนผ่าน ๑๑๖ คนไม่ผ่าน ๗๖ คน (๓๙.๕๘%)
๔.ครูสังกัด กทม. โรงเรียนที่ ๑ 
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๔๒ คนผ่าน ๓๕ คนไม่ผ่าน ๗ คน (๑๖.๖๗%)
๕.ครูสังกัด กทม. โรงเรียนที่ ๒
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๕๙ คนผ่าน ๔๓ คนไม่ผ่าน ๑๖ คน (๒๗.๑๒%)
ฯลฯ

ตัวอย่างการทดสอบภาคอีสาน

๑.ครูสังกัด สพป. จังหวัดที่ ๑ 
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๑๑๓ คนผ่าน ๘๖ คนไม่ผ่าน ๒๗ คน (๒๓.๘๙%)
๒.ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพป. จังหวัดที่ ๑ 
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๑๐๑ คนผ่าน ๖๘ คนไม่ผ่าน ๓๓ คน (๓๒.๖๗ %)
ฯลฯ

ตัวอย่างการทดสอบภาคใต้

๑. ครูสังกัด สพป. จังหวัดที่ ๑
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๑๙๔ คนผ่าน ๑๑๖ คนไม่ผ่าน ๗๘ คน (๔๐.๒๑%)
๒.ครูสังกัด สพป. จังหวัดที่ ๒
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๒๐๒ คนผ่าน ๑๓๔ คนไม่ผ่าน ๖๘ คน (๓๓.๖๖ %)
๓.ครูสังกัด สพป. จังหวัดที่ ๓
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๑๒๑ คนผ่าน ๔๘ คนไม่ผ่าน ๗๓ คน (๖๐.๓๓%)
๔.ครูสังกัด สช. จังหวัดที่ ๔
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๗๐ คนผ่าน ๒๖ คนไม่ผ่าน ๔๔ คน (๖๒.๘๖%)
๕.ครูและผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สช. จังหวัดที่ ๕
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๒๕ คนผ่าน ๕ คนไม่ผ่าน ๒๐ คน (๘๐.๐๐%)
๖.ครูสังกัด สพป. จังหวัดที่ ๖
จำนวนครูที่เข้าทดสอบ ๙๓ คนผ่าน ๗๒ คนไม่ผ่าน ๒๑ คน (๒๒.๕๘%)
ฯลฯ
...
หมายเหตุ คำ ทดสอบทั้งที่ใช้กับนักเรียนและครูข้างต้น นอกจากคัดเลือกโดยหลักแห่งความครอบคลุมมาตรฐานดังที่กล่าวแล้ว ยังเลือกโดยมุ่งวัดประเมินทักษะการเขียนมากกว่าทักษะความจำ  ซึ่งการเลือกคำทดสอบในหลักการนี้จะสามารถวัดประเมินการเขียนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ  และไม่จำเป็นต้องสอบอ่าน  เพราะว่าคำใดที่ผู้เขียนเขียนได้ คำนั้นเขาย่อมอ่านได้อย่างแน่นอน 

ผศ.ศิวกานท์  ปทุมสูติ
ทุ่งสักอาศรม อู่ทอง สุพรรณบุรี
---------------------------------
ตัวอย่างลายมือครู "เขียนตามคำบอก"


 http://www.oknation.net/blog/krugarn/2013/09/20/entry-1


อีกหนึ่งบทความที่เกี่ยวข้อง
สกูีปข่าว "ไทยรัฐ" (๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕)
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/261071


ภาษาไทยวิกฤต ทั้งเด็กและครูมาตรฐานต่ำ
ประสบการเรียนรู้และข้อมูลเชิงประจักษ์ระหว่างปีการศึกษา ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔
ครูกานท์ (ผศ.ศิวกานท์ ปทุมสูติ)

 ไม่ว่าจะพูดถึงวันรักการอ่านหรือปีแห่งความรักการอ่าน จนกระทั่งกำหนดเป็นทศวรรษแห่งความรักการอ่านก็ตามที เรื่องนี้ยังยากนักที่จะพัฒนาไปถึงจุดหมายปลายทาง การขับเคลื่อนเชิงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการยังดำเนินไปแบบภาพฝันสวยหรูที่ไร้ความเป็นจริง เท่าที่พบเห็นอย่างมากก็แค่บรรลุผล “ตามรายงานปั้นแต่ง” ตามโครงการต่างๆ ที่จัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับ “ตัวบ่งชี้ที่กำหนด” เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น มิอาจปลูกหว่านจิตวิญญาณแห่งรักให้เจริญงอกงามในวิถีชีวิตของเด็กไทยได้ ภาพที่คุ้นตาของเราไม่ว่าในสถานศึกษา ศูนย์การค้า หรือในที่สาธารณะใดๆ ยังคงเห็นแต่เด็กและเยาวชนไทยหมกมุ่นกับโทรศัพท์ และสื่อออนไลน์ต่างๆ เกลื่อนตา น้อยนักที่เราจะเห็นพวกเขาพกพาหนังสือ หรืออ่านหนังสือ สาเหตุสำคัญก็เพราะว่าวิถีครอบครัวไทย พ่อแม่ และครูไทยยังรักการอ่านน้อย เด็กๆ ยังมีต้นแบบชีวิตในเรื่องนี้น้อย และที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือเด็กไทยอีกจำนวนไม่น้อยยัง “อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้” 

 เป็นความจริงที่น่าตกใจเมื่อได้ทดสอบความสามารถในการ “เขียนตามคำบอก” ของเด็กไทยในวันนี้!  จากคำสำหรับทดสอบที่กำหนดมาตรฐานเพียงแค่ระดับทักษะชั้น ป.๑ เท่านั้น ให้นักเรียนตั้งแต่ชั้น ป. ๒ ขึ้นไปเขียนตามคำบอกจำนวน ๕๐ คำ ซึ่งมาตรฐานของคำระดับชั้น ป.๑ จะต้องมีองค์ประกอบครอบคลุมในข้อต่อไปนี้
 ๑.มีพยัญชนะต้นครอบคลุมอักษร ๓ หมู่ (อักษรต่ำ-กลาง-สูง)
 ๒.เป็นคำสะกดตรงมาตราสะกดทั้ง ๙ แม่
 ๓.ประกอบด้วยสระรวมแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เสียง
 ๔.มีคำควบกล้ำและอักษรนำเบื้องต้น
 ๕.มีคำผันเสียงอักษรครบทั้ง ๓ หมู่

 คำที่กำหนด ๕๐ คำดังกล่าว ได้แก่
 กาแฟ ทอผ้า มะลิลา
 สึนามิ อายิโนะ  เตาะแตะ
 ฉอเลาะ เล้าไก่ เข้าถ้ำ
 ขยำขยี้ ปิงปอง โผงผาง
 ข้างล่าง ทุ่งนาแล้ง อึ่งอ่าง
 ไอโอดีน ปิ่นโต เส้นด้าย
 เล่นโขน ฟ้อนรำ ซุ่มซ่าม
 ยิ้มแย้ม อ่อนน้อม รอยเท้า
 กุ้งฝอย ผิวขาว แน่วแน่
 ของฝาก ปึกแผ่น กุ๊กกิ๊ก
 ชอกช้ำ เจียระไน เผื่อแผ่
 ด้ามมีด ฮึดสู้ โหดร้าย
 หุบเหว ตะเกียบ บ่ายเบี่ยง
 เลื่อนเวลา ทะเล่อทะล่า จดบันทึก 
 ส้วมซึม กวยจั๊บ พริกเผ็ด 
 รื่นเริง ปลาบปลื้ม เคลื่อนคล้อย
 หยิ่งผยอง สลักเสลา

เกณฑ์การทดสอบกำหนด ๕๐ คำเป็น ๕๐ คะแนน นักเรียนที่ได้ ๒๕ คะแนนขึ้นไปจึงถือว่า “ผ่านการทดสอบ” ซึ่งผลการสุ่มทดสอบนักเรียนในภาคต่างๆ มีดังนี้

สุ่มสำรวจโรงเรียนในจังหวัดภาคเหนือจังหวัดหนึ่ง
โรงเรียนที่ ๑ (ขนาดเล็ก)
 ป.๒-๓ นักเรียน ๒๗  คน 
 ผ่าน  - คน  คิดเป็นร้อยละ -
 ไม่ผ่าน  ๒๗ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
 ป.๔-๖ นักเรียน ๔๒ คน
 ผ่าน ๒ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔.๘๐
 ไม่ผ่าน  ๔๐ คน  คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๒๐
โรงเรียนที่ ๒ (ขนาดกลาง)
 ป.๔-๖ นักเรียน ๑๐๖  คน 
 ผ่าน ๑๕ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๒๐
 ไม่ผ่าน  ๙๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๘๐
 ม.๑-๓ นักเรียน ๘๘ คน
 ผ่าน ๒๙ คน  คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๐๐
 ไม่ผ่าน  ๕๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๐๐
โรงเรียนที่ ๓ (ขนาดใหญ่)
 ป.๔-๖ นักเรียน ๒๗๖  คน 
 ผ่าน ๘๕ คน  คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๘๐
 ไม่ผ่าน  ๑๙๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๒๐
 ม.๑ นักเรียน ๘๔ คน
 ผ่าน ๔๐ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๗๐
 ไม่ผ่าน  ๔๔ คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๓๐

สุ่มสำรวจโรงเรียนในจังหวัดภาคกลางจังหวัดที่ ๑
โรงเรียนที่ ๑
  ป.๒-๖ นักเรียน ๕๔  คน 
 ผ่าน ๔๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๗๘ 
 ไม่ผ่าน  ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๒๒

สุ่มสำรวจโรงเรียนในจังหวัดภาคกลางจังหวัดที่ ๒ (กทม.)
โรงเรียนที่ ๑ (ขนาดกลาง)
 ป.๒-๖ นักเรียน ๔๖๒  คน 
 ผ่าน  ๒๔๖ คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๒๕
 ไม่ผ่าน  ๒๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๗๕
โรงเรียนที่ ๒ (ขนาดใหญ่)
 ป.๒-ม.๓ นักเรียน ๑,๓๙๓  คน 
 ผ่าน  ๘๖๘ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๓๑
 ไม่ผ่าน  ๕๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๖๙

สุ่มสำรวจโรงเรียนในจังหวัดภาคตะวันออกจังหวัดหนึ่ง
โรงเรียนที่ ๑
 ป.๒-๖ นักเรียน ๑๒๐  คน 
 ผ่าน  ๕๑ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๕๐
 ไม่ผ่าน  ๖๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๕๐
โรงเรียนที่ ๒
 ป.๒-๖ นักเรียน ๑๓๕  คน 
 ผ่าน  ๓๔ คน  คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๒๐
 ไม่ผ่าน  ๑๐๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๔.๘๐
โรงเรียนที่ ๓
  ป.๒-ม.๓ นักเรียน ๑๐๖  คน 
 ผ่าน ๑๕ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๒๐
 ไม่ผ่าน  ๙๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๘๐

สุ่มสำรวจโรงเรียนในจังหวัดภาคอีสานจังหวัดหนึ่ง
โรงเรียนที่ ๑
 ป.๒-ป.๖ นักเรียน ๓๐๐  คน 
 ผ่าน ๑๗๓ คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๖๗
 ไม่ผ่าน  ๑๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๓๓
โรงเรียนที่ ๒
 ป.๒-ป.๖ นักเรียน ๒๑๒  คน 
 ผ่าน ๑๐๑ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๖๔
 ไม่ผ่าน  ๑๑๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๓๖

สุ่มสำรวจโรงเรียนในจังหวัดภาคใต้จังหวัดหนึ่ง
โรงเรียนที่ ๑
 ป.๒-ป.๖ นักเรียน ๒๘๕  คน 
 ผ่าน ๑๗๑ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๐๐
 ไม่ผ่าน  ๑๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐
 โรงเรียนที่ ๒
 ป.๒-ป.๖ นักเรียน ๑๗๒  คน 
 ผ่าน ๑๑๗ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๐๒
 ไม่ผ่าน  ๕๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๑.๙๘

  สรุป – ค่าเฉลี่ยการสุ่มทดสอบเขียนตามคำบอกจากคำในระดับทักษะชั้น ป.๑ จำนวน ๕๐ คำ (๕๐ คะแนน) ของนักเรียนชั้น ป.๑ – ม.๓ ทุกภาค จำนวน ๓,๘๖๒ คน นักเรียนที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ ๒๕ คะแนนขึ้นไปมีจำนวน  ๑,๙๘๙ คน  คิดเป็นร้อยละ๕๑.๕๐  สำหรับนักเรียนที่ได้คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ ๒๕ คะแนนมีจำนวน  ๑,๘๗๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๕๐

 นอกจากนี้ยังได้ใช้หลักการเดียวกันนี้โดยอนุโลมทดสอบครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา ด้วยการกำหนดคำ ๒๐ คำ (๒๐ คะแนน) ให้เขียนตามคำบอกโดยไม่ต้องเขียนชื่อของตนที่กระดาษคำตอบ อาจเขียนรหัสหรือสัญลักษณ์ใดๆ ไว้เป็นเครื่องสังเกตเฉพาะตนหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีความรู้สึกเป็นกังวลกับการถูกเปิดเผยศักยภาพในการเขียนได้หรือเขียนไม่ได้ โดยกำหนดคำ ๒๐ คำที่ครูไม่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยบ้าง ดังนี้
  ทะนุถนอม ไซ่ง่อน เลือนราง
  หร็อมแหร็ม ตุ้ยนุ้ย ขะมักเขม้น
  โป๊ะเชะ เคลิบเคลิ้ม ชะโงกง้ำ
  โอ้กอ้าก  ระล่ำระลัก โขยกเขยก
  ฟั่นเชือก หน็อยแน่ เพ่นพ่าน
  ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ เหลาเหย่ เขี้ยวโง้ง   
  ประดักประเดิด ปวกเปียก
  
  ผู้ที่เขียนตามคำบอกได้ ๑๐ คะแนนขึ้นไปถือ “ผ่าน” ในมาตรฐานทักษะ ป.๑ ผลปรากฏว่าครูที่ทดสอบ “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน” ตามเกณฑ์กำหนด มีดังนี้
 สุ่มสำรวจครูในโรงเรียนจังหวัดภาคตะวันออกจังหวัดหนึ่ง
   โรงเรียนที่ ๑  
  จำนวน ๑๕ คน
  ผ่าน ๘ คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๓๓
  ไม่ผ่าน ๗ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๖๗
  โรงเรียนที่ ๒  
  จำนวน ๖ คน
  ผ่าน ๒ คน  คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๓๓
  ไม่ผ่าน ๔ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๗
  โรงเรียนที่ ๓ 
  จำนวน ๒๕ คน
  ผ่าน ๑๐ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐
  ไม่ผ่าน ๑๕ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๐๐
  โรงเรียนที่ ๔ 
  จำนวน ๒๒ คน
  ผ่าน ๔ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๑๘
  ไม่ผ่าน ๑๘ คน  คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๘๒
  โรงเรียนที่ ๕ 
  จำนวน ๑๕ คน
  ผ่าน ๕ คน  คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๓๓
  ไม่ผ่าน ๑๐ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๗

 สุ่มสำรวจครูในโรงเรียนจังหวัดภาคกลางบางจังหวัด
  ภาคกลางจังหวัดที่ ๑
   จำนวน ๑๙๒  คน 
   ผ่าน ๑๑๖  คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๔๒
   ไม่ผ่าน ๗๖  คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๕๘
  ภาคกลางจังหวัดที่ ๒  
  โรงเรียนที่ ๑ (กทม.)
  จำนวน ๔๒ คน
  ผ่าน ๓๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓
  ไม่ผ่าน ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๗
 โรงเรียนที่ ๒ (กทม.)
  จำนวน ๕๙ คน
  ผ่าน ๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๘๘
  ไม่ผ่าน ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๑๒
 สุ่มสำรวจครูในโรงเรียนจังหวัดภาคใต้บางจังหวัด
  ภาคใต้จังหวัดที่ ๑
  จำนวน ๑๙๔ คน
  ผ่าน ๑๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๗๙
  ไม่ผ่าน ๗๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๒๑
 ภาคใต้จังหวัดที่ ๒
  จำนวน ๒๐๒ คน
  ผ่าน ๑๓๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๓๔
  ไม่ผ่าน ๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๖๖
 ภาคใต้จังหวัดที่ ๓
  จำนวน ๑๒๑ คน
  ผ่าน ๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๖๗
  ไม่ผ่าน ๗๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๓๓
 สุ่มสำรวจครูและผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดภาคอีสานบางจังหวัด
  ภาคอีสานจังหวัดที่ ๑ (ครูผู้สอน)
  จำนวน ๑๑๓ คน
  ผ่าน ๘๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๑๑
  ไม่ผ่าน ๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๘๙
  ภาคอีสานจังหวัดที่ ๒ (ผู้บริหารสถานศึกษา)
  จำนวน ๑๐๑ คน
  ผ่าน ๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๓๓
  ไม่ผ่าน ๓๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๖๗
 (ดูตัวอย่างลายมือครูที่ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ-จากแนบไฟล์)

 สรุป – ค่าเฉลี่ยการสุ่มทดสอบเขียนตามคำบอกของครูและผู้บริหารสถานศึกษาจากคำระดับมาตรฐานทักษะ ป.๑ จำนวน ๒๐ คำ (๒๐ คะแนน) ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคอีสาน จำนวน ๑,๑๐๗ คน ผู้ที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ ๑๐ คะแนนขึ้นไปมีจำนวน ๖๗๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๙๘  และผู้ที่ได้คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ ๒๕ คะแนนมีจำนวน ๔๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๐๒
 น่าตกใจนัก!!!

 ปรากฏการณ์การอ่านเขียนของเด็กและครูที่ตกต่ำอย่างหนักดังผลที่แสดง มีสาเหตุสำคัญมาจากกระบวนการเรียนการสอนที่ผิดพลาด และผู้ที่เกี่ยวข้องต่างก็ยังดื้อดันทุรังกระทำในสิ่งที่ผิดพลาดซ้ำซากกันอยู่ก็คือ
 ๑.การสอนภาษาไทยที่ผิดไปจากวิถีทักษะที่ถูกต้อง นั่นคือการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นแต่ประสบการณ์ภาษาในด้านการ “จำรูปคำ” มากกว่าการ “เปล่ง-ท่อง-อ่าน-สะกด-ผัน-คัด-เขียน”  ...นี่เป็นสาเหตุใหญ่ที่ผิดพลาด ด้วยว่าการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้เบื้องต้นนั้น จะต้องสอนด้วย “วิถีแจกลูก สะกดคำ ผันเสียง คัดและเขียนตามคำบอก” เป็นหลัก ส่วนวิธีการเรียนการสอนแบบอื่นๆ อาจนำมาใช้ร่วมได้บ้าง แต่ให้เป็นเพียงแค่เสริมการเรียนรู้เท่านั้น
 ๒.เด็กในยุคสมัยปัจจุบันมีภาวะสมาธิสั้นกันมาก  เนื่องจากการเลี้ยงดูที่ผิดพลาด  การบริโภคแบบทุโภชนาการ  การติดสื่ออีเล็กทรอนิคและเกมต่างๆ  ผนวกกับการจัดการเรียนการสอนของครูที่ผิดวิถี (ดังที่กล่าวในข้อ ๑) ที่เน้นความรู้ความจำมากกว่าการฝึกย้ำทักษะ เด็กๆ ที่สมาธิสั้นและเรียนรู้แบบตามรู้ตามจำจะลืมง่าย  ไม่สามารถอ่านได้เขียนได้อย่างแท้จริง จะอ่านได้เขียนได้ก็แต่คำที่จำรูปคำมาเท่านั้น
 ๓.นโยบายและการบริหารจัดการที่ผิดพลาดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งซึ่งไม่ควรมองข้าม ตั้งแต่ระดับกระทรวง, สพฐ., สมศ, สพป. ถึงระดับโรงเรียนต่างพากันให้ความสำคัญที่ชั้น ป.๓ และ ป.๖ โดยละเลยกับความสำคัญของการเตรียมพื้นฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัยตั้งแต่ระดับอนุบาล และละเลยกับการจัดการเรียนการสอนตามวิถีอ่านเขียนภาษาไทยที่ถูกต้องในระดับ ป.๑ ปล่อยให้การเร่งอวดอ่านเขียนในระดับอนุบาลที่ผิดขั้นตอนทำลายการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย และปล่อยให้ครูที่ไม่มีประสบการณ์ “แจกลูก-สะกดคำ-ผันเสียง-คัดเขียน” สอนระดับ ป.๑ แบบพร่องทักษะ ทั้งขาดการนิเทศและตรวจสอบในระดับที่เหมาะสม

 ทั้งสามสาเหตุแห่งปัญหา ล้วนเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศที่ยังคงถูกปล่อยปละละเลยในการบริหารจัดการของผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ ทั้งที่ถ้าจะเอาจริงกับเรื่องนี้  ก็เป็นสิ่งที่ “แก้ง่ายนิดเดียว” เหมือนที่กล่าวไว้ในหนังสือ “เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว” นั่นแหละ  โดยสาระสำคัญก็คือ โรงเรียนจะต้องจัดทำโครงการป้องกันปัญหาและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ๑.โครงการป้องกันปัญหา โดยจัดการเรียนการสอนแบบปูพื้นความพร้อมระดับอนุบาลให้ถูกต้อง ไม่เร่งร้อนทำลายศักยภาพของเด็ก และจัดการเรียนการสอนสร้างเสริมทักษะภาษาระดับ ป.๑ ให้ถูกต้อง  รวมทั้งมีมาตรฐานทักษะอ่านออกเขียนได้อย่างเพียงพอแท้จริง ๒.โครงการแก้ปัญหาเร่งด่วน ๔ เดือนอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนตั้งแต่ ป.๒ ขึ้นไปทุกคนที่ “ไม่ผ่าน” การทดสอบ ด้วยการสอนแบบ “บันไดทักษะ ๔ ขั้น” ที่ว่า
 ขั้นที่หนึ่ง แจกลูก ให้ผูกจำ
 ขั้นที่สอง อ่านคำ ย้ำวิถี
 ขั้นที่สาม คัดลายมือ ซ้ำอีกที
 ขั้นที่สี่ “เขียนคำบอก” ทุกชั่วโมง
 ทั้งนี้ตามลำดับแบบฝึกและกระบวนการในหนังสือเล่มดังกล่าว ซึ่งโรงเรียนที่ได้ตั้งใจจัดทำโครงการแก้ปัญหาร่วมกับ “ทุ่งสักอาศรม” อย่างจริงจัง ต่างก็ได้ประจักษ์ในสัมฤทธิผลมาแล้วในทุกภูมิภาค

 ตัวอย่างโรงเรียนที่สำรวจพบปัญหา “เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้” ตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้จัดทำโครงการแก้ปัญหา ทั้งที่สำเร็จลุล่วงแล้วและที่กำลังดำเนินการอยู่อีกเป็นจำนวนมาก  บางส่วนที่ได้ติดตามรับรู้ข้อมูลการดำเนินการจริงจัง ได้แก่ สพป.อุทัยธานี เขต ๑ และ ๒, สพป.นครสวรรค์ เขต ๒ แล ๓, สพป.ขอนแก่น เขต ๓, สพป.ปัตตานี เขต ๑ และ ๒, สพป.บุรีรัมย์ เขต ๒, สพป.นครราชสีมา เขต ๒, โรงเรียนสังกัด กทม., โรงเรียนสังกัด สช.ยะลา, โรงเรียนสังกัด กศน.ตาก, กลุ่มโรงเรียน และโรงเรียนทั้งสังกัด สพฐ.และสังกัด สช.อีกหลายแห่ง
 ตัวอย่างโรงเรียนที่แก้ปัญหาสัมฤทธิผล เช่น โรงเรียนวัดไทร สพป.สุพรรณบุรี เขต ๓โรงเรียนบ้านบูดน สพป.ปัตตานี เขต ๒โรงเรียนบ้านคูเมือง สพป.อุราชธานี เขต ๔, โรงเรียนวัดโพธิ์เขียว สพป.สุพรรณบุรี เขต ๒, โรงเรียนบ้านหนองแขมอีโล สพป.ขอนแก่น เขต ๓, โรงเรียนบ้านเขาวง, โรงเรียนอนุบาลลานสัก และโรงเรียนอนุบาลหนองขุนชาติ สพป.อุทัยธานี เขต ๒, โรงเรียนตากสินราชานุสรณ์ สพป.ตาก เขต ๑, โรงเรียนบ้านแสลงโทน โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ๓ และโรงเรียนบ้านไพศาลสามัคคี สพป.บุรีรัมย์ เขต ๒, โรงเรียนมูลนิธิพัฒนาศาสน์ จ.สงขลา, โรงเรียนศรีวิทยา จ.ฉะเชิงเทรา ฯลฯ

 สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของการแก้ปัญหาก็คือกระทรวงศึกษาธิการจะต้องไม่ลืมว่า ขณะนี้ครูผู้สอนเองก็ย่ำแย่ในทางทักษะภาษาอย่างน่าวิตก จะต้องแสวงหาแนวทางแก้ไขทั้งที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้าและการป้องกันปัญหาในกระบวนการผลิตสร้างครูในอนาคตอย่างแม่นตรงต่อคุณภาพแท้จริงต่อไปด้วย


จาก http://www.oknation.net/blog/krugarn/2012/05/18/entry-1
วันที่ 22 กันยายน 2556

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

อันดับด้านการศึกษาไทยในเวทีโลกและอาเซียน ปี 2556


อันดับด้านการศึกษาไทยในเวทีโลกและอาเซียน ปี 2556



 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา เวิลด์อีโคโนมิคฟอรั่ม ( World Economic Forum : WEF) ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันนานาชาติ (Global Competiveness Index : GCI) ฉบับล่าสุด ปี 2556   การจัดอันดับภาพรวมปีนี้ของไทยอยู่ในอันดับที่ 37 จาก 148 ประเทศ ซึ่งดีขึ้นจากปีที่แล้ว 2555 ที่อยู่อันดับที่ 38 จาก 144 ประเทศ

          จากการวิเคราะห์อันดับภาพรวมประเทศในกลุ่มอาเซียน โดย WEF ในระยะ  8 ปีถึงปัจจุบัน พบว่า อันดับรวมของกัมพูชาสูงขึ้นมา 23 อันดับ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์สูงขึ้น 19  อันดับ มาเลเซียและไทยอันดับถดถอย 4 และ 5 อันดับ ตามลำดับ


ในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันนั้น   WEF พิจารณาจาก 3 หมวดได้แก่

          1. ปัจจัยพื้นฐาน  ประกอบด้วย  สถาบันด้านเศรษฐกิจ  โครงสร้างพื้นฐาน  เศรษฐกิจมหภาค  สุขภาพและการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ  ในหมวดนี้ไทยได้อันดับที่ 49

          2. ปัจจัยยกระดับประสิทธิภา  หมายถึง สิ่งต่างๆที่จะช่วยให้กิจการก้าวหน้า  อันรวมถึงการศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม  ขนาดของตลาด  ประสิทธิภาพของตลาดสินค้า ตลาดแรงงาน  ตลาดการเงิน ความพร้อมด้านเทคโนโลยี  ในหมวดนี้ไทยได้อันดับที่ 40 

          3. ปัจจัยนวัตกรรมและศักยภาพทางธุรกิจ หมายถึง ส่วนที่จะขับส่งให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก หมวดนี้ไทยได้อันดับที่ 52



         ทั้งนี้วิธีการได้มาของข้อมูล WEF จะให้น้ำหนักกับการสำรวจความคิดเห็นและการให้คะแนนของผู้ประกอบการในธุรกิจ (Executive Opinion Survey) ถึง 2 ใน 3 ส่วนและอีก 1 ส่วนที่เหลือมาจากข้อมูลเปรียบเทียบเชิงสถิติที่สำคัญขององค์การระหว่างประเทศ เช่น เวิลด์แบงค์ โออีซีดี ยูเนสโก และองค์การอนามัยโลก WEF ประเมินขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยอยู่ในระดับกลาง โดยมีคะแนนค่อนข้างดีด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค พัฒนาการตลาดและการเงิน จุดอ่อนคือด้านสุขภาพที่ไทยมีอัตราผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงมากที่สุดนอกทวีปแอฟริกา ด้านนวัตกรรมและเทคโลยีและด้านการศึกษา  

    โดย WEF ยังได้วิเคราห์ปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย 6 อันดับแรก ดังนี้ 1) ปัญหาคอรัปชั่น 2) ความไม่มั่นคงทางการเมือง 3) ความไม่ต่อเนื่องทางนโยบาย  4) ระบบราชการ  5) ขาดความสามารถเชิงนวัตกรรม  6) ขาดคุณภาพการศึกษาแรงงาน

          การประเมินความสามารถการแข่งขันด้านการศึกษาของ WEF จะมี 2 ระดับ ได้แก่ ประถมศึกษา (Primary Education)  และการศึกษาขั้นสูง (Higher Education and Training) อันรวมถึงมหาวิทยาลัย อาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาและการพัฒนาแรงงาน

          ด้านประถมศึกษา (ซึ่งรวมสาธารณสุขด้วย)
                  ไทยอยู่ที่อันดับ 81 ของโลก
                   และอยู่ในอันดับ 7 ในอาเซียน

          ด้านการศึกษาขั้นสูงและฝึกอบรม (Higher education and training) ไทยอยู่ในอันดับที่ 66 เทียบกับประเทศในอาเซียน WEF ประเมินไทยอยู่อันดับที่ 5 ซึ่งมีตัวชี้วัดย่อยด้านการศึกษาและการฝึกอบรมตามตาราง




      จากตารางตัวชี้วัดข้างต้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ไทยต้้องรีบพัฒนาอย่างเร่งด่วน 3 ข้อ ได้แก่ อัตราเข้าเรียนประถม (อันดับที่ 9)  คุณภาพระบบการศึกษา (8) คุณภาพประถมศึกษา (7) ตามลำดับ   คุณภาพของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นอีกประเด็นที่  WEF เน้นย้ำว่าไทยต้องเร่งพัฒนา เนื่องจากมีคุณภาพที่ "ต่ำผิดปกติ"  (รายงานหน้า 35)


ผลการประเมินด้านการศึกษาอีกหลายสถาบันยังชี้ไปในทางเดียวกันอีกด้วย ได้แก่
  • ดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขัน : ไอเอ็มดี (IMD) รายงานผลเมื่อพฤษภาคม 2556 จัดอันดับภาพรวมการแข่งขันของไทยอยู่ในอันดับที่ 27 จาก 60 ประเทศ  ซึ่งดีขึ้นกว่าปี 2555 ที่อยู่อันดับที่ 30 จาก 60 ประเทศ
      IMD ประเมินด้านการศึกษาภาพรวม ไทยอยู่อันดับที่ 51 จาก 60 ประเทศ เปรียบเทียบประเทศอาเซียน 5 ประเทศ สิงคโปร์ (4) มาเลเซีย (34) อินโดนีเซีย (52) และฟิลิปปินส์ (59) วิธีการประเมินของ IMD คล้ายกับของ WEF ในการสอบถามความเห็นจากตัวแทนนักธุรกิจและผู้ประกอบการในประเทศไทย ว่าคุณภาพของระบบการศึกษาไทยในมิติต่างๆ สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางเศรษฐกิจและภาคธุรกิจได้ดีเพียงใด อันดับของไทยจำแนกอันดับตามตัวชี้วัดดังนี้



โดยความหมายของดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันของ IMD คือ การประเมินความคิดเห็นของผู้บริหารและนักธุรกิจต่อคุณภาพของระบบการศึกษาไทยในการตอบสนองความต้องการของระบบเศรษฐกิจและภาคธุรกิจ
  • ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ประจำปี 2556 (จำนวน 186 ประเทศ) บ่งบอกถึงการพัฒนามนุษย์ของประเทศในภาพรวมทางสาธารณสุข  การศึกษาและเศรษฐกิจ ครอบคลุมประชากรทุกระดับอายุ ใช้ติดตามพัฒนาการภาพกว้างในระยะยาว  ไทยอันดับที่ 103  ประเทศอาเซียนมีอันดับดังนี้ สิงคโปร์ (18)  บรูไน (30)  มาเลเซีย (64)  อินโดนีเซีย (121)  เวียดนาม (127)  กัมพูชา (138)

  • ดัชนีการเรียนรู้ของเพียร์สัน (Pearson’s Learning Curve Index) ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่ต้องใช้สติปัญญา (Cognitive skills)  รวมถึงการคิดวิเคราะห์และโอกาสเข้าถึงการศึกษา (Educational attainment)รายงานเมื่อพฤศจิกายน 2555  เปรียบเทียบทั้งหมด 40 ประเทศ ไทยอยู่ในอันดับที่ 37  ประเทศเพื่อนบ้านมีอันดับดังนี้  เกาหลีใต้ (2)  ฮ่องกง (3)  ญี่ปุ่น (4)  สิงคโปร์ (5)  นิวซีแลนด์ (8)  ออสเตรเลีย (13) อินโดนีเซีย (40)

  • TIMMS (Trends in  International Mathematics and Science Study)  ที่จัดอันดับผลการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติของนักเรียนชั้น ป. 4 และ ม. 2 ทุก 3 ปี รายงานปี 2554 ในระดับ ม.2 จาก 45 ประเทศ  คณิตศาสตร์อันดับที่ 28 และวิทยาศาสตร์อันดับที่ 25 (อยู่ในกลุ่มต่ำทั้งสองวิชา)  ในส่วนของระดับชั้น ป. 4 จาก 52 ประเทศ  วิชาคณิตศาสตร์อันดับที่ 34 (กลุ่มต่ำ)  และวิชาวิทยาศาสตร์อันดับที่  29 (กลุ่มพอใช้)

  • เพิร์ล (Progress in International Reading Literacy Study: PIRLS) เป็นตัวชี้วัดทักษะความสามารถด้านการอ่าน ไทยยังไม่เข้าร่วมโครงการ  ผลการประเมินปี 2011 จาก 49 ประเทศ  ฮ่องกงอยู่ในอันดับ 1 ประเทศในเอเชียที่ติดอันดับท็อปเทน  ยังมีสิงคโปร์ (4)  และไต้หวัน (9)          

  • การจัดอันดับนานาชาติในระดับอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงมี 3 สถาบัน ได้แก่
             1. THE (Time Higher Education World University Rankings) การจัดอันดับมหาวิทยาลัย 400 แห่งจากทั่วโลก ไทยมีเพียงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีติดอันดับ 351-400 ไต้หวันมีมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับทั้งหมด 7 แห่ง ฮ่องกง (6) และ เกาหลีใต้ (6)
              ประเทศในเอเชียที่ติดอันดับต้นๆของโลกและท็อปเทนของเอเชียมีทั้งมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายอาชีพและเทคโนโลยี ดังนี้



            2. QS World University Rankings จัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียปี 2013 จาก 300 แห่ง พิจารณาจากการสำรวจความคิดเห็นของอาจารย์ทั่วโลก (40%)  จำนวนอาจารย์ต่อนักเรียน    ( 20%) จำนวนการอ้างอิงผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย  (20%)  ความเห็นของนายจ้าง (10%) และความร่วมมือกับต่างประเทศ (10%) ร้อยอันดับแรกไทยมีมหาวิทยาลัยมหิดลติดอันดับที่ 42  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดอันดับที่ 48  และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (98) ยังมีมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับอีก ดังนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (107) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (146) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (161-170) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (161-170) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (171-180) มหาวิทยาลัยบูรพา (191-200) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (251-300) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (251-300) ไทยรวมมหาวิทยาลัยติดอันดับทั้งหมด 11 แห่ง เกาหลีใต้มีมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับจำนวน 49 แห่ง ไต้หวัน 28 แห่ง มาเลเซีย 18 แห่ง และ ฮ่องกง 7 แห่ง         
   
                ประเทศในเอเชียที่ติดอันดับท็อปเทนของเอเชียมีทั้งมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายอาชีพและเทคโนโลยี ดังนี้



                 3. Shanghai Rankings จัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกทางวิชาการ 500 แห่ง พิจารณาจากคุณภาพการศึกษา (10%)  คุณภาพของบุคลากร (40%) จำนวนผลงานวิจัยและ (40%) ผลงานวิชาการต่อสถาบัน (10%)   ถึงปัจจุบันยังไม่มีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับใน 500 อันดับแรก  มหาวิทยาลัยของเกาหลีใต้ติดอันดับ 11 แห่ง ไต้หวัน 9 แห่ง และ ฮ่องกง 5 แห่ง

                   ประเทศในเอเชียที่ติดอันดับต้น ๆ ของโลก ดังนี้



  จากผลประเมินข้างต้นสถานการณ์การศึกษาไทยต้องเร่งพัฒนาการศึกษาในทุกระดับ โดยการจัดการศึกษาจะต้องเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดึงผู้ประกอบการและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ



ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย
  คุณธันว์ธิดา  วงศ์ประสงค์  นักวิชาการโลกาภิวัฒน์ศึกษา
ที่มา-สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
จากเว็บไซต์ http://www.enn.co.th/8436