ทุกโรงเรียน ต้องไม่มี "เด็ก ป.3 และ ป.6 ที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้"
เด็ก ป.3 และ ป.6 ทุกคน "อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ต้องไม่มี"
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2556 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้หารือกับ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร สพฐ. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งครูภาษาไทยที่ประสบความสำเร็จในการสอนภาษาไทย เกี่ยวกับปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและวิชาภาษาไทย ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
รมว.ศธ. แถลงผลการหารือในครั้งนี้ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะจัดให้มีโครงการเร่งด่วนในการพัฒนาคุณภาพการอ่านได้และสื่อสารได้อย่างเป็นระบบต่อไป โดยจะมีการประกาศนโยบายนี้อย่างเป็นทางการในต้นเดือนกันยายน 2556 เพื่อช่วยตอบปัญหาที่สังคมห่วงใย และแก้ปัญหาเด็กในวัยเรียนซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในสภาพที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ อ่านไม่เข้าใจ
รมว.ศธ. แถลงผลการหารือในครั้งนี้ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะจัดให้มีโครงการเร่งด่วนในการพัฒนาคุณภาพการอ่านได้และสื่อสารได้อย่างเป็นระบบต่อไป โดยจะมีการประกาศนโยบายนี้อย่างเป็นทางการในต้นเดือนกันยายน 2556 เพื่อช่วยตอบปัญหาที่สังคมห่วงใย และแก้ปัญหาเด็กในวัยเรียนซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในสภาพที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ อ่านไม่เข้าใจ
สแกนนักเรียนในสังกัด สพฐ.
เริ่มจากนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 ทุกคนทั่วประเทศ
ก่อนปิดภาคเรียน เดือนกันยายน 2556
โดยจะมีการสแกนนักเรียนในสังกัด สพฐ. เริ่มจากนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 ทุกคนทั่วประเทศก่อนปิดภาคเรียน เพื่อให้รับทราบถึงสภาพปัญหาการอ่าน การเขียน โดยจะมีแบบทดสอบ เครื่องมือตรวจสอบคัดกรอง การจัดท้าคู่มือปฏิทินการด้าเนินการอย่างเป็นระบบตามหลักวิทยาศาสตร์ เช่น แบบอ่าน เครื่องมืออ่านและการวินิจฉัย เพื่อให้เห็นปัญหาทั้งระบบ
ส่วนนักเรียนในระดับชั้นอื่น เช่น ป.2 ป.4 ป.5 ก็จะมีแบบคัดกรองที่จะไปประเมินขั้นต้น เพื่อสำรวจเด็กที่มีความสามารถในการอ่านอ่อนมากๆ และมีปัญหาต่อการเรียนวิชาอื่นๆ โดยจะเตรียมองค์ความรู้ เทคนิค วิธีการในการดูแลเด็กที่มีปัญหาการอ่าน การเขียน
โดยคาดว่าหลังจากประกาศนโยบายแล้ว สพฐ.จะจัดเตรียมเครื่องมือ และอบรมพัฒนาครูภาษาไทย ซึ่งจะเริ่มดำเนินการโดยใช้วิธีการรับฟังความคิดเห็นจากครู การจัดเสวนารับฟังแนวทางเทคนิควิธีการสอนภาษาไทยที่ได้ผล หรือน้านวัตกรรมการสอนที่ได้ผลจากโรงเรียนต่างๆ นำมาใช้เป็นโครงการเร่งด่วน หวังผลให้เกิดขึ้นในปีการศึกษาต่อไป ซึ่งมีหลายวิธี เช่น สอนพิเศษจัดห้องเรียนใหม่ที่มีการนำเด็กที่มีปัญหาความต้องการอย่างเข้มข้นมาเรียนด้วยกัน และวิธีการอื่นๆ ที่ค่อนข้างหลากหลาย หรือการให้เด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เลย มาเรียนวิชาภาษาไทยอย่างเดียว 1 ภาคเรียน หรือเรียนวิชาอื่นน้อยลงในเทอมนั้นๆ เพื่อให้เก่งแบบดีขึ้นผิดหูผิดตา แล้วจึงกลับไปเรียนวิชาอื่นๆ
เพราะหากเด็กยังไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ ก็ยากที่จะเรียนวิชาอื่นให้รู้เรื่องได้อยู่แล้ว ทั้งนี้ แนวคิดในการด้าเนินการ คือ ส้ารวจปัญหาให้ชัดเจน ท้าความเข้าใจกับผู้ปกครองและนักเรียน จัดการเรียนการสอนอย่างเข้มข้น และมีการประเมินผลและสรุปบทเรียน เพื่อวางแผนดูแลความสามารถทางด้านภาษา และแก้ปัญหาในระยะยาวต่อไป ส้าหรับกลุ่มเป้าหมาย ตัวชี้วัด และเป้าหมาย สพฐ.จะน้าไปก้าหนดก่อนที่จะประกาศโครงการและด้าเนินการในเรื่องนี้ พร้อมทั้งจะให้มีข้อตกลงกับเขตพื้นที่การศึกษาในการท้างานอย่างเป็นระบบ มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะเน้นให้เด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ป.3 และ ป.6 ทุกคน "อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ต้องไม่มี"
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวเป็นเรื่องที่ส้าคัญ เพราะการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา และเป้าหมายของ ศธ. ในการให้ผลการจัดอันดับการศึกษาไทย ผลการทดสอบ PISA ของไทย ให้อยู่ในอันดับที่ดีขึ้นนั้น "ภาษา" ถือเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
เพราะฉะนั้น รมว.ศธ.ต้องการที่จะให้มีความมั่นใจว่า บันไดขั้นแรกของการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพก็คือภาษา นั่นคือ ภาษาไทย ดังนั้น นโยบายในเรื่องของการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ต้องไม่มี ก็คือ ศธ.ตั้งเป้าหมาย 100% ของเด็ก ป.3 และ ป.6 ที่จะต้องอ่านออก เขียนได้ รวมทั้งอ่านแล้วเกิดความเข้าใจและสามารถสื่อสารได้ ที่เรียกว่า อ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้นั่นเอง ซึ่งเป็นนิยามความหมายของการที่เราจะไปตรวจสอบ
อย่างไรก็ตาม เขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนหลายแห่งมีการปฏิบัติที่ได้ผลมาแล้ว สพฐ.ก็จะรวบรวมการปฏิบัติที่ได้ผล มาจัดท้าเป็นแนวทางมาตรฐาน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติทั่วทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ฉะนั้นในขั้นตอนแรกคือ เพื่อให้เกิดฐานข้อมูลที่ก้ากับติดตามนโยบายในเรื่องนี้ได้ ซึ่งต้องมีการพัฒนาเครื่องมือในการสแกนหรือคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยงป.3และ ป.6 ทุกคน เพื่อที่จะได้ลดจ้านวนของเด็กกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ให้น้อยลงจนกระทั่งเหลือ 0% ภายในปลายภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
แน่นอนว่าเด็ก ป.3 กับ ป.6 มีมาตรฐานในการวัดและความคาดหวังที่แตกต่างกันตามช่วงชั้น เพราะฉะนั้นเมื่อเครื่องมือส่วนนี้ได้รับการพัฒนา ซึ่งความจริงก็มีเครื่องมืออยู่มากพอสมควรแล้ว ก็คิดว่าเราสามารถท้าได้รวดเร็ว คือภายในสิ้นเดือนสิงหาคม จะมีเครื่องมือในการสแกนนักเรียนด้านการอ่านออก เขียนได้ ที่แล้วเสร็จ
ดังนั้น เมื่อ รมว.ศธ.ได้ประกาศนโยบายในช่วงต้นเดือนกันยายน เขตพื้นที่การศึกษาก็จะใช้ช่วงเวลาปลายภาคเรียนที่ 1 ในการสแกนนักเรียนทุกคนในชั้น ป.3 และ ป.6 โดยใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ คือวันที่ 9-20 กันยายน 2556 เพื่อจะท้าให้เรามีฐานข้อมูลว่าทั่วประเทศมีนักเรียนกลุ่มที่แบ่งเป็นระดับสมรรถนะด้านภาษาที่อ่อนมาก อ่อน พอใช้ หรือว่าปานกลาง มีจำนวนเท่าไร ในเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่งมีจำนวนกี่คน และจะใช้เวลาในช่วงปิดภาคเรียน อบรมครูที่สอนภาษาไทย และครูที่สอนในช่วงชั้นที่ 1 และ 2 มารับรู้แนวทางในการให้การสอนซ่อมเสริม หรือ “Reading Recovery” หมายความว่า เมื่อเรารู้กลุ่มเสี่ยงแล้ว เราต้องมีวิธีการสอนซ่อมเสริม เพื่อให้เด็กเหล่านั้นอ่านออกเขียนได้ภายในเวลาที่ก้าหนดไว้ จึงมั่นใจว่าประเด็นเหล่านี้จะเป็นจุดที่เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม.
แหล่งข้อมูล