Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

หนังสือเรียนเปลี่ยนสมอง แบบ BBL


หนังสือเรียนเปลี่ยนสมอง แบบ BBL

หนังสือเรียนเปลี่ยนสมอง [Brainy Books]
1.หนังสือแบบฝึกหัด BBL    แบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับหลักสูตร  เหมาะกับวัย  ตื่นใจ  น่าอ่าน  มีการออกแบบแบบฝึกหลากหลายประเภท  เพื่อพัฒนาเด็ก  และเชื่อมโยงความรู้ให้ขึ้นสู่การคิดระดับสูง (higher  thinking) องค์ประกอบของหนังสือแบบฝึกหัดที่ดี  คือ

1.ออกแบบรูปเล่ม  ขนาดตัวหนังสือเลือกเนื้อหาและความยากง่ายเหมาะสมกับวัย 
     เรื่องราวในหนังสือต้องมีลักษณะสร้างสรรค์  น่าสนใจ  ใกล้ชิดกับชีวิตของเด็ก  หรือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น  ภาพประกอบมีความอ่อนโยน  เหมาะสมกับวัย  และมีความเป็นท้องถิ่น(local)   หนังสือสมัยใหม่ได้นำเอาความรู้ด้นคอมพิวเตอร์กราฟิกมาออกแบบจัดหน่าหนังสือ  ทำภาพประกอบ ช่วยให้นักอ่านทั้งหลายรู้สึกเห็นจริงเห็นจังไปตามเรื่องที่อ่านมากยิ่งขึ้น  

2.มีภาพประกอบมากพอ  และเหมาะสมกับเนื้อหา
     หนังสือที่ดีควรมีภาพประกอบในสัดส่วนที่มากพอไม่ใช่มีตัวอักษรเต็มหน้าไปหมด  ภาพช่วยสื่อความหมาย  ช่วยให้เด็กเข้าใจคำศักท์ คำสำคัญ และเนื้อเรื่องได้ง่าย

3.แบบฝึกหัดไม่น่าเบื่อ  ท้าทายให้นักเรียนอยากรู้  อยากลอง  อยากทำ
     แบบฝึกหัดต้องมีการออกแบบที่น่าสนใจ  เช่น ออกแบบคล้ายเกม  มีภาพเข้าช่วย  และแบ่งกิจกรรมออกเป็นขั้นเป็นตอน  ช่วยให้เด็กก้าวไปที่ละขั้น  จนสามารถทำได้สำเร็จในที่สุด

4.วิธีนำเสนอช่วยชี้นำให้การเรียนรู้ในหัวข้อนั้นๆ เกิดได้ง่าย
     มีการออกแบบจัดวางเนื้อหาและแบบฝึกหัด  อย่างเป็นขั้นตอน  จากง่ายไปยาก  ช่วยสร้างความเข้าใจ  เรียกว่ามี  instructional  system desingn  ช่วยให้เกิด concept  ง่ายขึ้น

5.นำเสนอความรู้โดยให้ความสำคัญกับภาพและใช้ Graphic  Organizers เพื่อให้สมองสร้าง (construct) ความรู้ได้ง่าย
     เพื่อให้การนำเสนอความรู้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่  ควรมีการจัดระบบข้อมูลในหนังสือ  โดยใช้ Graphic  Organizers ต่างๆ เช่น ตารางกรอบสี่เหลี่ยม  อธิบาย  Concept  โดยใช้ภาพ  ไม่ถ่ายทอดความรู้โดยเขียนบรรยายอย่างเดียว

หนังสือน่าเบื่อ
     เรื่องราวในหนังสือไม่น่าสนใจ  ห่างไกลจากชีวิตเด็ก  เป็นวิชาการโดดๆ จะทำให้เด็กเบื่อและไม่อยากเรียนรู้
หนังสือยากเกินไป
     ไม่ควรนำมาใช้เรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนท้อแท้  รู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว  ซึ่งนำไปสู่การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้นักเรียนไม่มีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้
หนังสือไม่มีภาพ  มีแต่ตัวอักษรเต็มหน้า
     หนังสือที่มีแต่ตัวอักษร  ไม่จัดทำภาพประกอบ  ทำให้เด็กไม่สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้  และหมดความสนใจ

2.หนังสืออ่านเพิ่มเติม
     หนังสืออ่านเพิ่มเติม  หมายถึง หนังสือที่กำหนดให้อ่านเพิ่มเติมตามหลักสูตร  รวมทั้งหนังสือที่มิได้กำหนดไว้  แต่คุณครู  ผู้ปกครอง  และนักเรียนเป็นผู้เลือกเองการเลือกหนังสืออ่านเพิ่มเติมมีความสำคัญยิ่ง  ควรเลือกหนังสือที่สอดคล้องกับพัฒนาการของแต่ละช่วงวัย  ต้องจัดหาหนังสือที่กระตุ้นให้อยากรู้  อยากเรียน  รวมทั้งรู้จักต่อยอดรากฐานที่มีอยู่แล้ว  อย่าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ที่ว่า ตั้งแต่เด็กจนโต  นักเรียนก็สนใจอ่านแต่การณ์ตูนเท่านั้น

     1.ประเภทหนังสืออ่านเพิ่มเติม  ที่เหมาะสมกับวัย
     หนังสือที่ช่วยกระตุ้นการอ่านของนักเรียนชั้น ป.1-3  ควรครอบคลุมหนังสือประเภทต่อไปนี้
      * หนังสือบทร้อยกรอง
      * หนังสือบทร้องเล่น  เพลงกล่อมเด็ก  และบทเพลงเด็ก
      * นิทานพื้นบ้าน
      * นิทานชาดก นิทานวรรณคดี
      * หนังสือแนวอื่นๆ เช่น แนวผจญภัย  สืบสวน  หนังสือ
     หนังสือที่ช่วยกระตุ้นการอ่านของนักเรียนชั้น ป.4- 6 ควรเพิ่มประเภทหนังสืที่ยาวขึ้นและซับซ้อนขึ้น  เช่น
      * บทคล้องจอง  คำกลอน  บทเพลงเด็ก
      * วรรณกรรมเยาวชน
      * เรื่องสั้น
      * สารคดี
      * นิทานนานาชาติ
      * นิทานผจญภัย (adventures)

    2. ประเภทหนังสือที่ไม่เหมาะสมกับวัยเด็ก
     หนังสือที่ไม่ควรอยู่ในมุมอ่าน  แต่มักพบบ่อยในห้องเรียนของนักเรียน  ได้แก่หนังสือต่อไปนี้
       * นวนิยายสำหรับผู้ใหญ่
       * นิตยสารบันเทิงต่างๆ
       * หนังสือคู่มือครู  แนวการสอน
       * หนังสืออ้างอิงวิชาการ
       * หนังสือการ์ตูนที่มีเนื้อหาหรือภาพไม่เหมาะสม

Don't

    1.หนังสือที่ไม่เหมาะสมกับวัย ไม่ควรนำมาไว้ในมุมอ่าน  หรือนำมาอ่านให้เด็กฟัง  ซึ่งรวมถึงหนังสือที่มีเนื้อหายากเกินไป  หรือหนังสือที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม
    2.หนังสือไม่หลากหลาย  มุมอ่านไม่ควรมีหนังสือประเภทเดียว  โดยเฉพาะไม่ควรมีแต่หนังสือแปล  หรือการ์ตูนเพราะเราต้องการปลูกฝังให้เด็กรู้จักสังคมไทย  และรู้จักอ่านหนังสือแบบอื่นๆ  ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิด  จินตนาการ  ความรู้สึก ฯลฯ ที่แตกต่างไปจากหนังสือแนวการ์ตูนทั่วไป
    3.หนังสือเก่าชำรุดจนอ่านไม่ได้  ควรนำออกจากชั้นหนังสือให้หมด  เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะเก็บไว้  ได้แก่  หนังสือที่ภาพเลือน  ตัวเล่มฉีกขาด  หรือเก่ามากจนเปิดอ่านไม่ได้แล้ว  เป็นต้น  ควรจะหาหนังสือที่อยู่ในสภาพดีมาทดแทน

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : http://www.namsongkram.com/2015/06/blog-post_28.html