Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อ่านวิเคราะห์ คิดวิเคราะห์และเขียน




รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก
ในการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


การอ่าน 
มีองค์ประกอบ 2 อย่าง คือการสะกดคำ, การเข้าใจความหมายของคำ การอ่านเป็นกระบวนการ 2 ทาง สิ่งที่ผู้อ่านนำมาสู่หนังสือ ได้แก่ ทักษะการคิด และความรู้เดิม สิ่งที่ผู้อ่านได้รับจากหนังสือ ได้แก่ ความหมาย และความเข้าใจ

ประโยชน์จากการอ่าน
1.ผู้อ่านค้นพบแนวคิดที่ดีนำไปประยุกต์เป็นความคิดของผู้อ่านได้
2.ผู้อ่านได้สาระความรู้มากกว่าการหาความรู้ในวิธีอื่นๆ เพราะสามารถอ่านโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
3.การอ่านช่วยพัฒนาให้เกิดกระบวนการคิด และจินตนาการส่งเสริมให้สมองดี มีสมาธิ

การคิดวิเคราะห์
1.การคิดวิเคราะห์เป็นกระบวนการเรียนรู้ในการจำแนก แยกแยะสิ่งต่างๆ มีองค์ประกอบอย่างไรเชื่อมโยง และสัมพันธ์กันอย่างไร
2.การคิดวิเคราะห์จะนำสู่การค้นหาความเป็นจริง จากสิ่งที่พบ ประกอบด้วยอะไร เหมือนหรือ แตกต่างจากสิ่งอื่นอย่างไร

การเขียน
เป็นกระบวนการถ่ายทอดในรูปแบบการบันทึกด้วยตัวอักษร หรือสัญลักษณ์เพื่อถ่ายทอดเผยแพร่ความรู้ ความคิด ความรู้สึก และบอกถึงความต้องการของผู้เขียนให้ผู้อ่านเกิดความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการ

จุดมุ่งหมายการเขียน
1.การแสดงความคิดเห็น
2.การอธิบาย
3.การเล่าเรื่องราว
4.การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อจูงใจ และโน้มน้าวให้ผู้อ่านคล้อยตาม
5.การสร้างจินตนาการ

การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียน มีบทบาท ทั้งด้านร่างกาย ความคิด ความรู้สึก ผู้เรียนได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติ โดยผู้สอนออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม และคำนึงถึง ความสามารถของเด็กแต่ละคน 

การเรียนรู้แบบบูรณาการ
1.เป็นรูปแบบสำคัญในการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
2.เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงวิชาต่างๆ จนกลายเป็นเรื่องเดียวกัน สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นองค์รวม

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
1. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านการลงพื้นที่สนามหรือการออกไปทัศนศึกษา
3. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน และสัมพันธ์กับตนเอง
5. การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย
6.การพัฒนาการเรียนรู้โดยครอบครัว
7. การพัฒนาการเรียนรู้โดยผ่านการจดบันทึก

1. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

-การรู้จักสังเกต
-การรู้จักบันทึก
-การรู้จักฟัง
-การรู้จักถาม
-การรู้จักตั้งสมมุติฐาน
-การรู้จักหาคำตอบ
-การรู้จักวิธีวิจัย
-การรู้จักนำมาบูรณาการให้เป็นหนึ่งเดียว
-การรู้จักเขียนเรียบเรียงความคิด
-การรู้วิธีการนำเสนอ

2. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านการลงพื้นที่สนาม หรือการไปทัศนศึกษา
-การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะโรงเรียน
-เป็นการเชื่อมโยงประสบการณ์ของเด็กกับโลกกว้างในชุมชน
- เด็กเกิดความสุขสนุกสนาน

3. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น
- เด็กเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
-ได้ศึกษาหาความรู้จากผู้อาวุโสในท้องถิ่น 

4. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านเหตุการณ์ ในชีวิตประจำวัน และสัมพันธ์กับตนเอง 
-จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของเด็ก

5. การพัฒนาการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัย 
-การวิจัยในที่นี้ หมายถึง การวิจัยในรูปแบบใหม่ สัมพันธ์กับการจัดการเรียนการสอนโดยครูผู้สอนสามารถดำเนินการวิจัยร่วมไปกับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ และถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียน การสอน
-การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
-การวิจัยในชั้นเรียน แสวงหาวิธีการแก้ปัญหา และตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร
-ใช้วิธีการศึกษานักเรียนเป็นกรณีเฉพาะหรือวิจัยกลุ่ม

6. การพัฒนาการเรียนรู้ โดยครอบครัว 

-ครอบครัวเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ เพราะเด็กจะใช้เวลาส่วนใหญ่ อยู่กับครอบครัว
-ถ้าครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาการเรียนรู้ ของเด็ก ย่อมส่งผลดีต่อตัวเด็กต่อไป
-จัดให้มีความรู้แก่บุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลเด็กที่บ้าน เช่น พี่เลี้ยงเด็ก ปู่ ย่า ตา ยาย เพื่อพัฒนาเด็กไปในทางเดียวกัน

7. การพัฒนาการเรียนรู้ โดยผ่านการสังเกต และจดบันทึก
-นักการศึกษา กู๊ดแมน (Goodman,1986) กล่าวว่า หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของครูคือ การเฝ้าสังเกตเด็ก ฟังเด็กขณะที่พูดคุย อภิปราย รวมถึงในการเล่น โดยมีการจดบันทึกคำพูดของเด็ก เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก

การสังเกต คือ
-การให้ความสนใจในสิ่งที่เด็กทำ หรือปฏิบัติ
- การให้ความสนใจในคำพูดของเด็ก

การบันทึก
-การเขียนบันทึกความคิด
- การเขียนบันทึกการกระทำ
-การเขียนบันทึกความเชื่อ
-การเขียนบันทึกทัศนคติ

โดย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 
จาก learners.in.th