Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เกณฑ์การอ่านการเขียนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา ปี 2556




ความสามารถและทักษะด้านการอ่าน-การเขียนภาษาไทย  ระดับประถมศึกษา
ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  ปี ๒๕๕๖

นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓


อ่านออก  หมายถึง  ความสามารถรับรู้ และเข้าใจความหมายของคำ ประโยค ข้อความสั้น ๆ
                  เรื่องราวในสื่อต่าง ๆ หรือในหนังสือได้ตามระดับชั้นของผู้เรียน

ความสามารถในการอ่าน  คือ อ่านหนังสือเรียนประจำชั้นที่เรียนไปแล้วหรือหนังสืออื่นที่มีความยากง่ายเท่าๆ กัน อ่านผิดไม่เกินหนึ่งในสี่ของคำ โดยไม่นับคำซ้ำ ความเร็วปกติ ไม่ช้าเกินไปเกินไป ถ้าอ่านติดให้เวลาสะกดคำ ๖-๗ วินาที(ป.๑ ประมาณ ๔-๕ วินาที) 
       
ชั้น ป.๑   ข้อความมีความยาว ๔๐ – ๕๐ คำ
ชั้น ป.๒   ข้อความมีความยาว ๖๐ – ๗๐ คำ
ชั้น ป.๓   ข้อความมีความยาวไม่เกิน ๑๐๐ คำ

เขียนได้    หมายถึง ความสามารถเขียนคำ ประโยค ข้อความสั้น ๆ เรื่องราวได้ถูกต้อง
                   เหมาะสมตามระดับชั้นของผู้เรียน

นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖

อ่านคล่อง  หมายถึง ความสามารถอ่านออกเสียงชัดเจนถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์การอ่าน ในระยะเวลาที่เหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน และสามารถจับใจความของเรื่องที่อ่านได้
ความสามารถในการอ่าน  แยกดังนี้
(๑)   ชั้น ป. ๔-๕ เรื่องหรือข้อความมีความยาว  ๑๖๐-๒๐๐ คำ อ่านหนังสือเรียนประจำชั้นที่เรียนไปแล้ว หรือหนังสืออื่นที่มีความยากง่ายเท่าๆ กัน
(๒)  ชั้น ป.๖ เรื่องหรือข้อความมีความยาว ๒๐๐ คำขึ้นไป เรื่องและบทความควรเป็นข่าวหนังสือพิมพ์  บทความทั่วไป  สุนทรพจน์ หรือพระบรมราโชวาท 
การอ่านจะอ่านผิดไม่เกินหนึ่งในสี่ของคำ โดยไม่นับคำซ้ำ ท่าทางมั่นใจ ความเร็วปกติ ไม่ช้าเกินไป
         
เขียนคล่อง      หมายถึง ความสามารถเขียนคำ ประโยค ข้อความ เรื่องราวถูกต้องตามหลักเกณฑ์
                   ทางภาษาได้รวดเร็ว ในระยะเวลาที่เหมาะสมตามระดับชั้นของผู้เรียน


เกณฑ์คุณภาพ
การประเมินความสามารถการอ่าน-การเขียนภาษาไทย

การอ่านออกเขียนได้  ชั้น ป.๒
การอ่านออก     คือ     อ่านคำ  อ่านประโยค  อ่านข้อความ  ต้องผ่านเกณฑ์  ร้อยละ   ๖๐  ขึ้นไป
ระดับคุณภาพ   แยก ๔ ระดับ คือ
คะแนน    ๘๐  -  ๑๐๐    ระดับดีมาก
คะแนน    ๗๐  -  ๗๙      ระดับดี
คะแนน    ๖๐  -  ๖๙      ระดับพอใช้           
คะแนน     ๑   -  ๕๙      ปรับปรุง   (ต่ำกว่าเกณฑ์)

การเขียนได้     คือ   เขียนคำ  เขียนประโยค  เขียนข้อความ    ต้องผ่านเกณฑ์  ร้อยละ   ๕๐  ขึ้นไป
ระดับคุณภาพ  แยก ๔ ระดับ คือ
คะแนน    ๘๐  -  ๑๐๐     ระดับดีมาก
คะแนน    ๖๕  -  ๗๙       ระดับดี
คะแนน    ๕๐  -  ๖๔       ระดับพอใช้
คะแนน     ๑   -  ๔๙       ปรับปรุง   (ต่ำกว่าเกณฑ์)

สรุป  :   การอ่านออกเขียนได้ นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์  ทั้งอ่านออก ร้อยละ ๖๐ และเขียนได้ ร้อยละ ๕๐
จึงจะถือว่า   :   อ่านออกเขียนได้

การอ่านคล่องเขียนคล่อง   ชั้น ป.๔

การอ่านคล่อง   คือ   อ่านคำ  อ่านประโยค  อ่านข้อความ  ต้องผ่านเกณฑ์  ร้อยละ   ๖๐  ขึ้นไป
ระดับคุณภาพ  แยก ๔ ระดับ คือ
คะแนน    ๘๐  -  ๑๐๐    ระดับดีมาก
คะแนน    ๗๐  -  ๗๙      ระดับดี
คะแนน    ๖๐  -  ๖๙      ระดับพอใช้           
คะแนน     ๑   -  ๕๙      ปรับปรุง   (ต่ำกว่าเกณฑ์)
การเขียนคล่อง :  เขียนคำ  เขียนประโยค เขียนข้อความ    ต้องผ่านเกณฑ์  ร้อยละ   ๕๐  ขึ้นไป
ระดับคุณภาพ  แยก ๔ ระดับ คือ
คะแนน    ๘๐  -  ๑๐๐     ระดับดีมาก
คะแนน    ๖๕  -  ๗๙       ระดับดี
คะแนน    ๕๐  -  ๖๔       ระดับพอใช้
คะแนน     ๑   -  ๔๙       ปรับปรุง   (ต่ำกว่าเกณฑ์)                      
สรุป  :   การอ่านคล่องเขียนคล่อง นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์  ทั้งอ่านคล่อง ร้อยละ ๖๐ เขียนคล่องร้อยละ ๕๐
จึงจะถือว่า   :    อ่านคล่องเขียนคล่อง 

แหล่งข้อมูล : สถาบันภาษาไทย  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน