Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แนวการสอนซ่อมเสริม เรื่อง การเขียนสะกดคำ

(ภาพจากกัลยาณมิตรใน Facebook)

แนวการสอนซ่อมเสริม เรื่อง การเขียนสะกดคำ
กิจกรรมของครู
ครูให้นักเรียนเขียนตามคำบอก

                        ป้าสงบมักจะเตือนให้ เด็ก ๆ ทิ้งขยะลงในถังขยะ 
      และให้แยกขยะเปียกกับขยะแห้ง  ขยะแห้ง ได้แก่  เศษกระดาษ
     ถุงพลาสติก   ใบไม้แห้ง   เป็นต้น     ส่วนขยะเปียก   ได้แก่
     เศษอาหาร   น้ำแข็ง   และของเหลว   เป็นต้น   ประโยชน์ของ
     การแยกขยะ   เห็นได้ชัด  คือ  สะดวกในการเก็บขยะ  
     และการนำขยะที่ยังใช้ประโยชน์ได้  ไปย่อยสลาย    เพื่อ
     นำกลับมาใช้ใหม่    ป้าสงบรักเด็ก   เหมือนลูกหลาน
     ถ้าใครทิ้งขยะถูกที่    ก็จะมีขนมอร่อย  ๆ  /ให้เป็นรางวัลเสมอ

            ๒. รวบรวมคำที่นักเรียนเขียนผิดในแบบสรุปการเขียนตามคำบอก
            ๓. จัดกลุ่มคำที่นักเรียนเขียนผิด ตามหลักเกณฑ์ทางภาษา  เช่น
                        [    ]   คำที่ประสมสระใอ
                        [    ]   คำที่ควบกล้ำ
                        [    ]   คำที่มีอักษรนำ
                        [    ]   คำที่มีตัวการันต์
                        [    ]   คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงแม่
                                            ฯลฯ
๔.วิเคราะห์ข้อบกพร่องคำที่นักเรียนเขียนผิดในแบบวิเคราะห์ข้อบกพร่อง
การเขียนคำ  ตัวอย่างเช่น
                  ๑คำที่ประสม  สระโอ   เช่นคำว่า  ใช้
                            ลักษณะที่นักเรียนเขียนผิด
                        ใช้        ลักษณะที่บกพร่อง        เขียนพยัญชนะต้นผิด
                        ไซ้                     ”                        เขียนพยัญชนะต้นผิดและใส่สระผิด
                        ไช้                     ”                       เขียนสระผิด
                        ใช                     ”                     ไม่เขียนวรรณยุกต์
                        ใช่                            ”              เขียนวรรณยุกต์ผิด
                                         เป็นต้น
                  ๒คำควบกล้ำ    เช่น  คำว่า  กลับ
                            ลักษณะที่นักเรียนเขียนผิด
                        กับ        ลักษณะที่บกพร่อง    ไม่เขียนพยัญชนะตัวตาม
                        ลับ                     ”                    ไม่เขียนพยัญชนะตัวต้น
                        กะบ                   ”                       ไม่เขียนตัวตามและวางตำแหน่งสระผิด
                        กัลบ                  ”                       วางตำแหน่งสระผิด
                        กัล                ”               ไม่เขียนตัวสะกดและวางตำแหน่งสระผิด
                        กลบ                         ”                     ไม่เขียนสระ
                        กบัล                         ”                เขียนตัวสะกดผิดที่


                  ๓คำที่มีอักษรนำ    เช่น  คำว่า  ขยะ
                            ลักษณะที่นักเรียนเขียนผิด
                        คยะ        ลักษณะที่บกพร่อง   เขียนพยัญชนะต้นผิด
                        ขะยะ                 ”                    เขียนตามคำอ่าน
                        ขะหยะ              ”                      เขียนตามคำอ่าน
                        ขย                     ”                     ไม่เขียนสระ
                        ขะย             ”              วางตำแหน่งสระผิดที่


                  ๔คำที่มีตัวการันต์     เช่น  คำว่า  ประโยชน์
                            ลักษณะที่นักเรียนเขียนผิด
                        ประโยชน์     ลักษณะที่บกพร่อง   ไม่เขียนตัวควบ
                        ประโยค                 ”                       ไม่เขียนตัวการันต์และตัวสะกดผิด
                        ประโยช                 ”                          ไม่เขียนตัวการันต์
                        ประโหยด              ”                          เขียนตามคำอ่าน
                        ประโยชน์              ”                          เขียนตัวการันต์ผิด
        ประหยด                        ”                       เขียนสระและตัวสะกดผิด
                                                     ไม่เขียนตัวการันต์



                  ๕คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด    เช่น  คำว่า  อาหาร
                            ลักษณะที่นักเรียนเขียนผิด
                        อาหา     ลักษณะที่บกพร่อง        ไม่เขียนตัวสะกด
                        อาหาร                 ”                       เขียนตัวสะกด
                        อาหาถ                 ”                         เขียนตัวสะกดผิด
                        อาหร                  ”                          ไม่เขียนสระ
                                      เป็นต้น

                  ๖ การใช้เครื่องหมาย  เช่น  เครื่องหมายไม้ยมก  เด็ก ๆ
                            ลักษณะที่นักเรียนเขียนผิด
                         เด็ก       ลักษณะที่บกพร่อง        ไม่เขียนเครื่องหมายไม้ยมก
                                      เป็นต้น

            ร่วมคิด  พิจารณากิจกรรมและสื่อซ่อมเสริม ซึ่งอาจจะนำกิจกรรมและสื่อซ่อมเสริมจากเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องการสอนซ่อมเสริม ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจกให้ โดย
                 [     ]   นำกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมที่ตรงกับข้อบกพร่องไปใช้
                 [     ]   พัฒนาและปรับกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมที่นำเสนอให้เหมาะสม
                            กับข้อบกพร่องของนักเรียนและสภาพแวดล้อม
                 [     ]   พัฒนากิจกรรมการสอนซ่อมเสริมเพิ่มเติมจากตัวอย่าง ให้ตรงกับ
                            ข้อบกพร่องของนักเรียน


***********************