Love to Read
LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้
วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ห้องสมุด 3 ดี
ความเป็นมา
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายการพัฒนาห้องสมุดของสถานศึกษาให้เป็นศึกษาค้นคว้าของนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพ โอกาส และสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะการเติมเต็มการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยไปสู่ “การศึกษาตลอดชีวิต” ทั้งนี้ เนื่องจากในการปฏิรูปการศึกษาในช่วงแรก เน้นการจัดการศึกษาในระบบเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดแนวทางพัฒนา “ห้องสมุด 3 ดี” โดยเน้นการพัฒนาใน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หนังสือดี บรรยากาศดี และบรรณารักษ์ดี เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาตลอดชีวิต และนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สถานที่ และบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ มีหนังสือ สื่อการเรียนรู้ หลากหลายประเภทอย่างเพียงพอ และตรงกับความต้องการ
เป้าประสงค์
เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของห้องสมุดในโรงเรียนทุกแห่ง ให้เป็น “ห้องสมุด 3 ดี” ได้กำหนดเป้าประสงค์ ดังนี้
ดีที่ 1 หนังสือดี มีหนังสือ และสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีเนื้อหาสาระถูกต้อง ไม่เป็นพิษเป็นภัย และตรงใจผู้อ่านในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
ดีที่ 2 บรรยากาศดี ห้องสมุดโรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการอ่าน การเรียนรู้ การค้นคว้า อุดมไปด้วยความรู้ ความบันเทิง สถานที่สะดวก สะอาด ร่มรื่น ปลอดโปร่ง ประหยัดพลังงาน สะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชน และปลอดภัยสำหรับผู้ใช้บริการ
ดีที่ 3 บรรณารักษ์ดี บรรณารักษ์และครูผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความรู้ในห้องสมุดกับผู้ใช้บริการ มีความเป็น”มืออาชีพ” มีจิตบริการ มีความรู้ลึก รู้รอบ รู้กว้าง รู้ไกล ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ เป็นผู้บริหารจัดการความรู้ที่ดี และเป็นผู้ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข
วิสัยทัศน์
ห้องสมุดโรงเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกวัยที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
พันธกิจ
1. ให้บริการหนังสือ และสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
2. ให้บริการในบรรยากาศที่ดี เอื้อต่อการเรียนรู้
3. ให้บริการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
แนวทางการดำเนินงาน
1. จัดหาหนังสือ และสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพียงพอต่อความต้องการ และเหมาะสมสำหรับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
2. สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน การเรียน การค้นคว้า และสะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชน
3. พัฒนาและส่งเสริมคุณภาพบรรณารักษ์และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดให้มีความเป็นมืออาชีพ มีจิตบริการ เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ และเป็นผู้บริหารจัดการความรู้ที่ดี
6. มาตรฐาน “ห้องสมุด 3 ดี”
มาตรฐานที่ 1 หนังสือดี หนังสือ และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพ มีเนื้อหาสาระถูกต้อง ไม่เป็นพิษเป็นภัย และตรงใจผู้อ่าน ในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
มาตรฐานที่ 2 บรรยากาศดี มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการอ่าน การเรียนรู้ การค้นคว้า อุดมไปด้วยความรู้ ความบันเทิง สถานที่สะดวก สะอาด ร่มรื่น ปลอดโปร่ง ประหยัดพลังงาน สะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชน และปลอดภัยสำหรับผู้ใช้บริการ
มาตรฐานที่ 3 บรรณารักษ์ดี บรรณารักษ์และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความรู้ในห้องสมุดกับผู้ใช้บริการ มีความเป็น”มืออาชีพ” มีจิตบริการ มีความรู้ลึก รู้รอบ รู้กว้าง รู้ไกล ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ เป็นผู้บริหารจัดการความรู้ที่ดี และเป็นผู้ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข
แนวทางการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี
ด้านหนังสือ
1) ดำเนินการให้มีการจัดซื้อหนังสือ และสื่อการเรียนรู้สำหรับห้องสมุดเป็นไปตามนโยบาย เพื่อให้มีหนังสือและสื่อที่มีคุณภาพและเพียงพอกับจำนวนผู้ใช้บริการ
2) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกหนังสือและสื่อการเรียนรู้สำหรับห้องสมุด
3) ดำเนินการจัดซื้อหนังสือ และสื่อการเรียนรู้ ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร และตามรายชื่อที่คัดเลือกไว้ในสัดส่วนที่เหมาะสม
4) กำหนดนโยบายให้มีการใช้หนังสือ และสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน โดยส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
5) จัดนิทรรศการ/ตลาดนัดหนังสือ และสื่อการเรียนรู้ โดยเชิญชวนร้านค้า และสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ร่วมจำหน่ายหนังสือและสื่อการเรียนรู้
ด้านบรรยากาศ
1) พัฒนาหรือปรับปรุงห้องสมุดให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน การเรียนรู้ และการค้นคว้า
2) ปรับปรุง ออกแบบและตกแต่งอาคาร ทั้งภายใน และภายนอกห้องสมุดให้มีเอกลักษณ์สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและควรใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยในการออกแบบ
3) ซ่อมแซม ปรับปรุง จัดวางครุภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทันสมัย อุณหภูมิ สี และองค์ประกอบของครุภัณฑ์ให้มีความสอดคล้องกัน รวมทั้งการจัดมุมต่าง ๆและพื้นที่ใช้สอยภายในห้องสมุดให้เหมาะสม
ด้านบรรณารักษ์
1. พัฒนา อบรมบรรณารักษ์และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดให้มีความรู้ในการบริหารจัดการห้องสมุดสมัยใหม่ รวมทั้งสร้างมุมมองใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น
2. บรรณารักษ์ทำงานเชิงรุก เพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
3. สนับสนุน ส่งเสริมให้บรรณารักษ์และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดได้รับโอกาสในการอบรม ศึกษาดูงาน หรือแลกเปลี่ยนความรู้กับบุคลากรห้องสมุดอื่น ๆ
4. ส่งเสริมบรรณารักษ์และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ การใช้หนังสือและสื่อการเรียนรู้ให้กับผู้ใช้บริการ
ป้ายกำกับ:
ศน.อ้วน,
ห้องสมุด 3 ดี
วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ความรู้สำหรับครู : การเลือกหนังสือใส่ "ตระกร้าเสริมปัญญา"
หนังสือใส่ตะกร้าสำหรับเด็ก เยาวชน หรือประชาชนทั่วไปได้อ่านนั้น ส่วนมากจะมุ่งเน้นความบันเทิงเป็นหลัก ความรู้เป็นส่วนเสริมประกอบ ถ้าเป็นประชาชนอาจเน้นข่าวและเหตุการณ์ ดังนั้นการเลือกหนังสือใส่ตะกร้าจึงควรให้นักเรียนเป็นผู้เลือก เป็นผู้ตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นนิทาน เรื่องลึกลับ ผจญภัยโดยมีภาพประกอบ มีสีสันน่าสนใจ ส่วนมากที่นักเรียนจะเลือก ได้แก่ หนังสือการ์ตูน วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ หนังสือที่เลือกใส่ตะกร้าส่วนมากจะมีขนาดพอดีกับตะกร้า ไม่ใหญ่กว่าตะกร้ามากเกินไป และหนังสือที่เลือกใส่ตะกร้าแต่ละเล่มก็ไม่ควรเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระมาก ใช้เวลาในการอ่านมากเกินไป
สถานที่จัดไว้สำหรับตะกร้านั้น ควรเป็นสถานที่ได้จัดไว้เฉพาะการอ่านชั่วคราวเท่านั้น เช่น ใต้ต้นไม้ สนามเด็กเล่น ใต้ซุ้มไม้เลื้อย โต๊ะม้าหินอ่อน หน้าระเบียง ศาลาไทย อาคารอเนกประสงค์ สวนหย่อม สวนไม้ดอก และสวนเกษตร เป็นต้น ซึ่งเป็นสถานที่ปลอดภัย ไม่อยู่ใต้ต้นไม้ที่มีกิ่งแห้ง เพราะจะทำให้กิ่งแห้งตกลงมา จะทำให้ได้รับอันตรายได้ และไม่ควรอยู่ใกล้สิ่งก่อสร้าง เพราะจะทำให้ได้รับอันตรายจากอุปกรณ์วัสดุสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตกหล่นลงมา ทำให้ได้รับอันตรายได้
ระยะเวลาที่จัดกิจกรรมตะกร้าความรู้ ถ้าเป็นในโรงเรียนส่วนมากจะนิยมจัดช่วงเช้าก่อนโรงเรียนเข้า ช่วงกลางวัน หลังรับประทานอาหารกลางวัน และช่วงบ่าย ก่อนโรงเรียนเลิกเรียน เป็นต้น
ถ้าหากจะจัดนอกโรงเรียน ซึ่งจัดเพื่อให้ประชาชนได้อ่าน ส่วนมากโรงเรียนนิยมจัดตะกร้าความรู้ให้อ่านในช่วงเย็นของเปิดเรียน โดยให้อาสาสมัครหิ้วตะกร้าหนังสือตอนช่วงโรงเรียนเลิกเรียนทุกวัน ถ้าเป็นวันเสาร์ วันอาทิตย์ อาสาสมัครก็จะหิ้วตะกร้านำไปทุกเย็นวันศุกร์ ซึ่งอาจจะเป็นศาลากลางหมู่บ้านใต้ต้นไม้ใหญ่ใกล้ชุมชน ตลาดในชุมชน วัด หรือศาลาอ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ประการสำคัญ หนังสือที่คัดเลือกใส่ตะกร้านั้นควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดการอ่านเรื่องที่ซ้ำจำเจ ซึ่งจะทำให้เบื่อหน่าย ไม่สนใจการอ่าน
ป้ายกำกับ:
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน,
ศน.อ้วน
ตัวอย่างงานวิจัย : กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน
ตัวอย่างงานวิจัยของ อ.วัชราภรณ์ วัตรสุข
ผู้เขียนได้ศึกษาและนำเสนอกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 –6 เพื่อให้ครูได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ให้สอดคล้องกับสภาพของโรงเรียนและท้องถิ่น โดยได้นำเสนอกิจกรรม จำนวน 15 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ตะกร้าหาความรู้
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้สู่สารานุกรมไทย
กิจกรรมที่ 3 ตอบถามได้ฉับไว
กิจกรรมที่ 4 ออกเสียงให้ได้ชัดเจน
กิจกรรมที่ 5 พี่สอนน้องให้อ่าน
กิจกรรมที่ 6 แนะนำสารหนังสือเป็น
กิจกรรมที่ 7 อ่านตั้งใจฟังเน้น
กิจกรรมที่ 8 การละเล่นเล่านิทาน
กิจกรรมที่ 9 สนุกสนานโต้วาที
กิจกรรมที่ 10 นำสิ่งดีจัดนิทรรศการ
กิจกรรมที่ 11 รวมใจค่ายนักอ่าน
กิจกรรมที่ 12 แสนเบิกบานละครหุ่น
กิจกรรมที่ 13 เพิ่มพูนความรู้สู่ล้านนา
กิจกรรมที่ 14 สุขหรรษาการเล่าเรื่อง
กิจกรรมที่ 15 ฉลาดปราดเปรื่องยอดนักอ่าน
กิจกรรมที่ 1 ตะกร้าหาความรู้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนประชาสัมพันธ์กิจกรรมตะกร้าความรู้ โดยกำหนดเวลา หนังสือ และสถานที่ได้เหมาะสม
2. เพื่อให้นักเรียนทำแบบบันทึกรายชื่อผู้มาใช้บริการได้
3. เพื่อให้นักเรียนได้อ่านหนังสือที่ตนเองสนใจ
4. เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกในการสมัครเป็นอาสาสมัคร
5. เพื่อให้นักเรียนรวบรวมผู้มาใช้บริการได้
6. เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียน
สื่อวัสดุและอุปกรณ์
1. หนังสือประเภทต่าง ๆ เช่น นิทาน, การ์ตูน, หนังสือภาพสำหรับเด็ก,หนังสือสารคดี เป็นต้น
2. ตะกร้าสำหรับใส่หนังสือประเภทต่าง ๆ
3. นักเรียนอาสาสมัคร
4. ใบความรู้สำหรับครู เรื่อง การเลือกหนังสือใส่ตะกร้า
5. แบบบันทึกรายชื่อผู้มาใช้บริการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมตะกร้าความรู้ให้นักเรียนทุกคนทราบ พร้อมทั้งประกาศรับสมัครนักเรียนเพื่อเป็นอาสาสมัคร ประมาณ 5 – 10 คน (แล้วแต่จำนวนนักเรียน 1 จุดต่อนักเรียนประมาณ 30 คน)
2. ประชุมอาสาสมัครโดยชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมตะกร้าความรู้แล้วร่วมกันกำหนดระยะเวลาที่จะบริการหนังสือในตะกร้า เช่น ช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน และกำหนดประเภทของหนังสือ จำนวนหนังสือที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปจนยกไม่ขึ้น และทำให้ตะกร้าชำรุด หรือน้อยเกินไปจนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน นอกจากนั้นควรกำหนดสถานที่บริการ ซึ่งควรเน้นสถานที่ปลอดภัย ไม่อยู่ใกล้ถนน ใต้ต้นไม้ที่มีกิ่งไม้แห้ง ไม่อยู่ใกล้สิ่งก่อสร้าง เป็นต้น แต่ควรอยู่ในที่ร่ม มีความปลอดภัย ไม่เสียงดัง เช่น ใต้ต้นไม้ใหญ่ หน้าระเบียง อาคารอเนกประสงค์ ลานกีฬาในร่ม ศาลาไทย เป็นต้น
3. ร่วมกันจัดทำแบบบันทึกรายการชื่อผู้มาใช้บริการ (ท้ายกิจกรรม)
4. การดำเนินการนักเรียนที่เป็นอาสาสมัคร คัดเลือกหนังสือใส่ในตะกร้า พร้อมทั้งเตรียมปากกา แบบบันทึกรายชื่อผู้มาใช้บริการหิ้วตะกร้าไปที่สถานที่ต่าง ๆ ที่มีผู้คอยขอรับบริการ ซึ่งเป็นสถานที่ปลอดภัย (ไม่จำเป็นต้องไปซ้ำสถานที่เดิม อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุการณ์)นักเรียนอาสาสมัครควรประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ มาอ่านหนังสือ โดยอาจจะให้สัญญาณ เช่น เป่านกหวีด เป่าแตร เป่าของเล่นอะไรก็ได้ เพื่อเป็นสัญญาณเริ่มต้นและสิ้นสุดของกิจกรรม หรือโรงเรียนอาจจะเปิดเพลงประมาณ 10 – 30 นาที เพื่อให้ทุกคนอื่นหนังสือตามที่ต้องการก่อนที่จะอ่าน อาสาสมัครควรเขียนชื่อผู้ที่มาใช้บริการเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดตะกร้า และหาแนวทางในการปรับปรุงให้ดีขึ้นเมื่อหมดเวลา อาสาสมัครก็รวบรวมและเก็บหนังสือใส่ตะกร้านำส่งห้องสมุด พร้อมแบบบันทึกรายชื่อผู้มาใช้บริการ
5. ครูบรรณารักษ์คอยสอบถามอาสาสมัครเกี่ยวกับเหตุการณ์จากอาสาสมัครทุกวัน เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรมการอ่านต่อไป
6. เมื่อสิ้นภาคเรียน หรือสิ้นปีการศึกษา ก็รวบรวมรายชื่อผู้มาใช้บริการ ถ้าชื่อใดมีมากที่สุด จะมีเกียรติบัตรมอบให้
การวัดผลและประเมินผล
1. สังเกต ความกล้าแสดงออกในการสมัครเป็นอาสาสมัคร, การเลือกอ่านหนังสือที่นักเรียนสนใจ,การประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ให้มาอ่านหนังสือ, การสนใจอ่านหนังสือของนักเรียน
2. ตรวจผลงาน ได้แก่ แบบบันทึกรายชื่อผู้มาใช้บริการรายวัน, รายชื่อที่รวบรวมมาจากผู้ใช้บริการรายภาคเรียน หรือรายปี
ผู้เขียนได้ศึกษาและนำเสนอกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 –6 เพื่อให้ครูได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ให้สอดคล้องกับสภาพของโรงเรียนและท้องถิ่น โดยได้นำเสนอกิจกรรม จำนวน 15 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ตะกร้าหาความรู้
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้สู่สารานุกรมไทย
กิจกรรมที่ 3 ตอบถามได้ฉับไว
กิจกรรมที่ 4 ออกเสียงให้ได้ชัดเจน
กิจกรรมที่ 5 พี่สอนน้องให้อ่าน
กิจกรรมที่ 6 แนะนำสารหนังสือเป็น
กิจกรรมที่ 7 อ่านตั้งใจฟังเน้น
กิจกรรมที่ 8 การละเล่นเล่านิทาน
กิจกรรมที่ 9 สนุกสนานโต้วาที
กิจกรรมที่ 10 นำสิ่งดีจัดนิทรรศการ
กิจกรรมที่ 11 รวมใจค่ายนักอ่าน
กิจกรรมที่ 12 แสนเบิกบานละครหุ่น
กิจกรรมที่ 13 เพิ่มพูนความรู้สู่ล้านนา
กิจกรรมที่ 14 สุขหรรษาการเล่าเรื่อง
กิจกรรมที่ 15 ฉลาดปราดเปรื่องยอดนักอ่าน
กิจกรรมที่ 1 ตะกร้าหาความรู้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนประชาสัมพันธ์กิจกรรมตะกร้าความรู้ โดยกำหนดเวลา หนังสือ และสถานที่ได้เหมาะสม
2. เพื่อให้นักเรียนทำแบบบันทึกรายชื่อผู้มาใช้บริการได้
3. เพื่อให้นักเรียนได้อ่านหนังสือที่ตนเองสนใจ
4. เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกในการสมัครเป็นอาสาสมัคร
5. เพื่อให้นักเรียนรวบรวมผู้มาใช้บริการได้
6. เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียน
สื่อวัสดุและอุปกรณ์
1. หนังสือประเภทต่าง ๆ เช่น นิทาน, การ์ตูน, หนังสือภาพสำหรับเด็ก,หนังสือสารคดี เป็นต้น
2. ตะกร้าสำหรับใส่หนังสือประเภทต่าง ๆ
3. นักเรียนอาสาสมัคร
4. ใบความรู้สำหรับครู เรื่อง การเลือกหนังสือใส่ตะกร้า
5. แบบบันทึกรายชื่อผู้มาใช้บริการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมตะกร้าความรู้ให้นักเรียนทุกคนทราบ พร้อมทั้งประกาศรับสมัครนักเรียนเพื่อเป็นอาสาสมัคร ประมาณ 5 – 10 คน (แล้วแต่จำนวนนักเรียน 1 จุดต่อนักเรียนประมาณ 30 คน)
2. ประชุมอาสาสมัครโดยชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมตะกร้าความรู้แล้วร่วมกันกำหนดระยะเวลาที่จะบริการหนังสือในตะกร้า เช่น ช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน และกำหนดประเภทของหนังสือ จำนวนหนังสือที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปจนยกไม่ขึ้น และทำให้ตะกร้าชำรุด หรือน้อยเกินไปจนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน นอกจากนั้นควรกำหนดสถานที่บริการ ซึ่งควรเน้นสถานที่ปลอดภัย ไม่อยู่ใกล้ถนน ใต้ต้นไม้ที่มีกิ่งไม้แห้ง ไม่อยู่ใกล้สิ่งก่อสร้าง เป็นต้น แต่ควรอยู่ในที่ร่ม มีความปลอดภัย ไม่เสียงดัง เช่น ใต้ต้นไม้ใหญ่ หน้าระเบียง อาคารอเนกประสงค์ ลานกีฬาในร่ม ศาลาไทย เป็นต้น
3. ร่วมกันจัดทำแบบบันทึกรายการชื่อผู้มาใช้บริการ (ท้ายกิจกรรม)
4. การดำเนินการนักเรียนที่เป็นอาสาสมัคร คัดเลือกหนังสือใส่ในตะกร้า พร้อมทั้งเตรียมปากกา แบบบันทึกรายชื่อผู้มาใช้บริการหิ้วตะกร้าไปที่สถานที่ต่าง ๆ ที่มีผู้คอยขอรับบริการ ซึ่งเป็นสถานที่ปลอดภัย (ไม่จำเป็นต้องไปซ้ำสถานที่เดิม อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุการณ์)นักเรียนอาสาสมัครควรประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ มาอ่านหนังสือ โดยอาจจะให้สัญญาณ เช่น เป่านกหวีด เป่าแตร เป่าของเล่นอะไรก็ได้ เพื่อเป็นสัญญาณเริ่มต้นและสิ้นสุดของกิจกรรม หรือโรงเรียนอาจจะเปิดเพลงประมาณ 10 – 30 นาที เพื่อให้ทุกคนอื่นหนังสือตามที่ต้องการก่อนที่จะอ่าน อาสาสมัครควรเขียนชื่อผู้ที่มาใช้บริการเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดตะกร้า และหาแนวทางในการปรับปรุงให้ดีขึ้นเมื่อหมดเวลา อาสาสมัครก็รวบรวมและเก็บหนังสือใส่ตะกร้านำส่งห้องสมุด พร้อมแบบบันทึกรายชื่อผู้มาใช้บริการ
5. ครูบรรณารักษ์คอยสอบถามอาสาสมัครเกี่ยวกับเหตุการณ์จากอาสาสมัครทุกวัน เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรมการอ่านต่อไป
6. เมื่อสิ้นภาคเรียน หรือสิ้นปีการศึกษา ก็รวบรวมรายชื่อผู้มาใช้บริการ ถ้าชื่อใดมีมากที่สุด จะมีเกียรติบัตรมอบให้
การวัดผลและประเมินผล
1. สังเกต ความกล้าแสดงออกในการสมัครเป็นอาสาสมัคร, การเลือกอ่านหนังสือที่นักเรียนสนใจ,การประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ให้มาอ่านหนังสือ, การสนใจอ่านหนังสือของนักเรียน
2. ตรวจผลงาน ได้แก่ แบบบันทึกรายชื่อผู้มาใช้บริการรายวัน, รายชื่อที่รวบรวมมาจากผู้ใช้บริการรายภาคเรียน หรือรายปี
ป้ายกำกับ:
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน,
ศน.อ้วน
วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
การอ่านมีความสำคัญต่อการศึกษาและการดำรงชีวิต ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนควรจะได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านมีนิสัยรักการอ่าน เห็นความสำคัญของการอ่าน มีความสามารถ ในการอ่าน และรู้จักแสวงหาความรู้และประสบการณ์จากการอ่านด้วยตนเองจนเป็นนิสัย
ความหมายของกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน คือ การกระตุ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านสนใจการอ่านจนกระทั่งมีนิสัยรักการอ่าน และได้พัฒนาการอ่านจนกระทั่งมีความสามารถ ในการอ่าน นำประโยชน์จากการอ่านไปใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการอ่าoทุกประเภท(กรมวิชาการ,2539หน้า14)ได้ความหมายว่า กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน คือ การกระทำเพื่อ..
ก. เร้าใจบุคคล “หรือบุคคลที่เป็นเป้าหมาย ให้เกิดความอยากรู้อยากอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่มีคุณภาพ”
ข. เพื่อแนะนำชักชวนให้เกิดความพยายามที่จะอ่านให้แตกฉาน สามารถนำความรู้จากหนังสือไปใช้ประโยชน์ เกิดความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ดีขึ้น
ค. เพื่อกระตุ้น แนะนำให้อยากรู้ อยากอ่านหนังสือหลายอย่างเปิดความคิดให้กว้าง ให้มีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย พัฒนาการอ่านจนถึงขึ้นที่สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์เรื่องที่อ่านได้
ง. เพื่อสร้างบรรยากาศที่จูงใจให้อ่าน
ลักษณะสำคัญของกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ดี
1. เร้าความสนใจ เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง เราใจให้ลูกอยากอ่านโดยการ อ่านหนังสือให้ฟัง เล่าเรื่องหนังสือ เป็นต้น ครู และบรรณารักษ์เร้าใจอยากให้ นักเรียนอ่าน นักเรียนเร้าใจเพื่อน ๆ ให้อยากอ่านหนังสือ นอกจากนั้น การใช้สื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ซีดี - รอม (CD–ROM) มัลติมีเดีย มีทั้งเสียง สี รูปภาพจะเร้าความสนใจผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง
2. จูงใจให้ผู้อ่านอยากอ่าน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ และบรรณารักษ์ ที่ได้อ่านหนังสือที่ดี จะต้องจูงใจให้ผู้อ่านอยากอ่านด้วยการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านต่าง ๆ ทั้งการพูด แนะนำ เล่าตอนที่สนใจให้ฟัง ตลอดจนอ่านเรื่องราวที่สนุกและ น่าประทับใจ อ่านบทกลอนตอนที่ไพเราะให้ฟัง
3. กระตุ้นให้อยากอ่าน กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็น อยากรู้เรื่องราวในหนังสือในตอนต่อไป อยากรู้ข่าวสารต่าง ๆ อยากอ่านเรื่องราวที่อยู่ในความสนใจ เช่น ข่าวบุคคล ข่าวสงคราม ข่าวการเมือง
4. พัฒนาการอ่านของผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านมีความสามารถในการอ่าน และรู้จักนำความรู้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ให้เกิดกับตนเองและผู้อื่นได้
5. สนุกสนาน ตื่นเต้น เพลิดเพลิน และมีสาระแฝงอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งเป็น การสอนทางอ้อม เช่น คติธรรม มโนธรรม จริยธรรม อุปนิสัย เป็นต้น
6. ไม่ใช้เวลานานเกินไป จะทำให้ผู้อ่านเบื่อหน่าย เวลาที่ใช้ทำกิจกรรมเหมาะสมกับความสนใจของผู้อ่านแต่ละเพศ แต่ละลัย แต่ละอาชีพ
7. เนื้อหาและวิธีการไม่ยากและสลับซับซ้อนจนเกินไป จัดกิจกรรมส่งเสริม การอ่านให้เหมาะสมกับเพศ วัย และระดับความรู้ของผู้อ่านกลุ่มเป้าหมาย
8. เป็นกิจกรรมที่ให้ทุกคนในกลุ่มได้มีส่วนร่วมกิจกรรม เช่น การเล่านิทาน การแสดงละคร การแสดงละครหุ่น การสนทนาเกี่ยวกับหนังสือ การโต้วาที การแข่งขันตอบปัญหา เป็นต้น
9. เป็นกิจกรรมที่ประหยัด ใช้วัสดุที่หาง่ายและราคาถูก
10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้แก่ผู้อ่าน เช่น ผู้อ่านเข้าร่วมกิจกรรมแล้วนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ เช่น เป็นนักเรียน นักแสดง ฯลฯ
11. เป็นกิจกรรมที่มุ่งไปสู่หนังสือ วัสดุการอ่าน หรือสื่อการอ่านทั้งสิ้น แม้แต่การจัดนิทรรศการเรื่องต่าง ๆ ที่จะต้องมีหนังสือ เอกสาร หนังสือการอ่าน นำมาแสดงด้วยทุกครั้ง
12. เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นการเรียนรู้ ถึงแม้จะอ่านหนังสือยังไม่ได้ เป็นการพัฒนาการพูดและพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรง และฝึกความพร้อม เช่น การเล่นของเล่นต่าง ๆ ทำให้ผู้เล่นถึงแม้จะอ่านไม่ออก แต่ก็ได้เรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัส
นอกจากนั้น การเล่นเกมและกิจกรรมต่าง ๆ ยังให้ความรู้ในเรื่องของภาษาและความรู้อื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น การเล่นขายของ การเล่นขายข้าวแกง การเล่นขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
คุณสมบัติที่ดีของผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ผู้ที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีนิสัยรักการอ่าน
2. รักเด็ก
3. มีมนุษยสัมพันธ์ดี พูดจาไพเราะ สุภาพ กิริยามารยาทดี
4. มีนิสัยชอบจดบันทึกสิ่งที่อ่าน
5. ช่างสังเกต เช่น สังเกตเด็ก สังเกตผู้ที่ได้พบปะพูดคุยสนทนา และรู้จักนำเอาสิ่งที่พบเห็นมาใช้
6. ช่างจำ
7. พูดเก่ง พูดคล่อง ถูกต้อง ชัดเจน พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน จริงใจ สุภาพ และชอบเล่า มีอารมณ์ขัน มีวิธีการเล่าที่สนุกไม่ไร้สาระ
8. กล้าพูดกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าทำ มีบทบาทของนักแสดง
9. ไม่เป็นคนตกใจง่าย ไม่เก้อเขิน และขี้อายจนเกินไป สามารถระงับอารมณ์ตนเองได้
10. มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถโยงเรื่องที่กำลังทำกิจกรรมเข้าสู่เหตุการณ์ปัจจุบันได้ ดัดแปลงเรื่องเก่ง รู้จักทำอุปกรณ์ที่น่าสนใจ
11. มีความสามารถ เป็นทั้งนักเรียน นักวาดรูป นักร้อง ทำเสียงต่าง ๆ
12. เป็นคนตรงต่อเวลา ทั้งในการนัดหมายเวลาในตาราง และเวลาในการแสดง
13. มีความรับผิดชอบในการจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทุกครั้ง
14. มีจิตใจที่แน่วแน่ มั่นคง มีการตัดสินใจที่ดี เชื่อมั่นในตนเอง ไม่เป็นคนโลเล เป็นคนสุขุม
15. เป็นคนมีเมตตากรุณา มีศีลธรรมจรรยา มีจิตใจอ่อนโยน
16. เป็นคนมีระเบียบวินัย จัดเก็บของอย่างมีระเบียบเรียบร้อย
17. เป็นคนที่สามารถยืดหยุ่นได้ถ้ามีความจำเป็น ไม่เป็นคนที่ดื้อรั้นเอาแต่ใจตนเอง
18. เป็นคนมีความคิดกว้างไกล จากการมีประสบการณ์จากการอ่านและการฟัง
19. ไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ ไม่โกรธง่าย ไม่ก้าวร้าว มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
20. เป็นคนมีบุคลิกดี การแต่งกายสะอาด สุภาพ ถูกกาลเทศะ
21. ออกเสียงตัวสะกดการันต์ ชัดเจน ถูกต้อง มีน้ำเสียงที่ชวนฟัง
22. มีความยุติธรรม
23. มีเวลาและพยายามอุทิศเวลาในการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
24. เห็นความสำคัญของการอ่านและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
25. มีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาการอ่าน และรู้จักเลือกกิจกรรมที่เหมาะกับผู้อ่านวัยต่าง ๆ
การเตรียมตัวจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
1. อ่านหนังสือเป็นประจำ ตลอดจนอ่านบทวิจัยเกี่ยวกับการอ่านทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ
2. เตรียมอ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น จะทำกิจกรรมการเล่านิทานก็ต้องอ่านเกี่ยวกับวิธีการ เล่านิทาน และนิทานเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนเกร็ดความรู้ต่าง ๆ การประดิษฐ์หุ่น และ การแสดงละครหุ่น เป็นต้น
3. พ่อแม่เตรียมอ่านหนังสือจิตวิทยาเกี่ยวกับเด็ก การเลี้ยงดูเด็ก พัฒนาการของเด็กในครรภ์ การปฏิบัติตัวของมารดาขณะตั้งครรภ์ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การไปพบแพทย์ หนังสือสำหรับเด็ก เป็นต้น
4. พ่อแม่เตรียมเสื้อผ้า อาหาร ของเล่น หนังสือเด็ก (ถึงแม้เด็กเล็กจะอ่านไม่ออก)
5. ฝึกซ้อมการทำกิจกรรมแต่ละเรื่องก่อนไปทำกิจกรรมจริงกับเด็ก
6. บันทึกเรื่องที่อ่าน ที่น่าสนใจไว้
7. สะสมเก็บรวบรวมหนังสือ รูปภาพ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมเก็บไว้เป็นชุด ๆ
8. เตรียมและทำอุปกรณ์ เช่น ตัวหุ่นต่าง ๆ วาดรูปฉาก จัดทำโรงหุ่น หนังสือ เสื้อผ้า ดนตรี เครื่องเสียง เป็นต้น
9. แต่งเรื่องและเขียนบท เขียนเองหรือนำมาจากที่อื่น แต่ต้องบอกแหล่งที่มาด้วย
10. เตรียมดนตรี เลือกดนตรีบันทึกในแถบบันทึกเสียง
11. ถ้าเป็นกิจกรรมที่ต้องให้เด็กร่วมแสดงเป็นกลุ่ม ต้องเตรียมเด็กแบ่งเป็นกลุ่ม
ตามความสามารถ และซ้อมก่อนแสดงจริง เช่น จะต้องมีวิธีกร คนบรรยาย คนเปลี่ยนฉาก คนเชิดหุ่น คนทำหุ่น เป็นต้น
12. การเตรียมตัวประชาสัมพันธ์ก่อนล่วงหน้า จัดวัน เวลาให้พร้อมก่อนการแสดงอย่างน้อย 1 สัปดาห์ การติดป้ายให้เด่นชัดเจน ให้ทุกคนได้มองเห็น
13. เตรียมอุปกรณ์ให้เด็กทำกิจกรรมตอนท้าย เช่น วาดรูป ต้องมีกระดาษ
ดินสอสีให้ครบทุกคน
14. หาข้อมูลผู้อ่านกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับประเภทของกิจกรรม และหนังสือที่ชอบอ่านก่อนทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อจะได้ทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้ ตรงกับความสนใจ และความต้องการ ตลอดจนหนังสือที่ชอบอ่านการทำวิจัย โดยการศึกษาค้นคว้าจากการตอบแบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์การสำรวจความคิดเห็น จากการสอบถามหรือการสัมภาษณ์ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับเด็ก ๆ เพียงแต่ถามเด็ก ๆ ก่อนว่า ต้องการให้ทำกิจกรรมอะไร แล้วจึงทำกิจกรรมที่เด็กชอบ
15. เตรียมแบบประเมินผล เมื่อทำกิจกรรมการอ่านเสร็จทุกครั้งควรมีการประเมินผลเพื่อจะได้ทราบว่า การจัดกิจกรรมจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงไร มีข้อบกพร่องต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง การประเมินผลอาจจะทำในรูปแบบของแบบฝึกหัด หรือแบบสอบถาม หรือสัมภาษณ์
รูปแบบของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน จัดได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1. การเล่านิทาน คือ การเล่าเรื่องที่มีผู้เล่าสืบกันมา หรือเล่าเรื่องจากหนังสือนิทานที่มีผู้แต่งขึ้นมา ได้แก่การเล่านิทานในห้องสมุด
การแข่งขันการเล่านิทาน
2. การเสนอหนังสือ หรือวัสดุการอ่าน และสื่อการอ่านต่าง ๆ คือการแนะนำ
ทรัพยากรสารนิเทศที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน เพื่อดึงดูดความสนใจให้อยากอ่านนั่นเอง ได้แก่
การเล่าเรื่องหนังสือ
การแนะนำหนังสือ
การอ่านหนังสือให้ฟัง
การสนทนาเกี่ยวกับหนังสือ
การอภิปรายเกี่ยวกับหนังสือ
การบรรยายเกี่ยวกับหนังสือ
การโต้วาทีเกี่ยวกับหนังสือ
การจัดทำรายชื่อทรัพยากรสารนิเทศ และการทำบรรณนิทัศน์
การจัดนิทรรศการ
3. การแสดงนาฎกรรมและอื่น ๆ
การแสดงละคร
การแสดงจินตลีลา
การร้องเพลง
การแสดงละครใบ้
การแสดงละครหุ่น
4. การทำกฤตภาค คือ การตัดปะ ข่าว บทความ รูปภาพ หรือทั้งรูปภาพ
และเรื่องที่น่าสนใจเพื่อบริการผู้อ่าน ได้แก่
การจัดทำกฤตภาคเป็นเล่ม
การทำกฤตภาคข่าวติดไว้ที่ป้ายนิทรรศการด้านหลังห้องเรียนทุกวัน
5. การแข่งขันต่าง ๆ จากการอ่าน คือ การแสดงความสามารถในการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
การแข่งขันเปิดพจนานุกรมทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ แข่งขันตอบปัญหาจากหนังสือ เช่น แข่งขันตอบปัญหาหนังสือสารานุกรมสำหรับเยาวชน แข่งขันตอบปัญหาสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น
การแข่งขันโต้วาที
การแข่งขันการตอบปัญหาทั่ว ๆ ไป
การแข่งขันตอบปัญหาสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น ปัญหาวิทยาศาสตร์ กฎหมาย เป็นต้น
6. การประกวดเกี่ยวกับการอ่าน
ประกวดการอ่านร้อยแก้ว และร้อยกรอง
ประกวดการอ่านทำนองเสนาะ
ประกวดการอ่านบทสนทนา
ประกวดการอ่านบทละคร
ประกวดการอ่านข่าว
7. การเล่นเกมที่นำไปสู่การอ่าน ได้แก่
เกมของเล่นต่าง ๆ และเกมคอมพิวเตอร์
เกมการวาดภาพ
เกมเติมคำศัพท์
เกมค้นหาคำ
เกมทายปัญหา
เกมต่อคำพังเพย
เกมการละเล่นต่าง ๆ
เกมพับกระดาษ
เกมประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ
8. การจัดทำโครงการกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
โครงการสัปดาห์ห้องสมุด
โครงการยอดนักอ่าน
โครงการอ่านหนังสือให้ฟัง
โครงการแนะนำหนังสือ
โครงการเสนอหนังสือในรูปแบบต่าง ๆ
โครงการหนังสือดีที่น่าอ่าน
โครงการหนังสือใหม่ในวันนี้
โครงการหนังสือสู่ชนบท
โครงการหนังสือคือเพื่อนคู่คิด
โครงการยอดนักอ่านระดับประถมศึกษา
โครงการยอดนักอ่านระดับมัธยมศึกษา
โครงการยอดนักอ่านระดับประชาชน
โครงการจัดนิทรรศการ
โครงการประกวดการเล่านิทาน
โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม
โครงการประกวดการเล่านิทาน
โครงการประกวดเรื่องสั้นสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม
โครงการประกวดการอ่านสุนทรพจน์
โครงการจัดตั้งห้องสมุดในชนบท
โครงการทอดผ้าป่าหนังสือ
โครงการอ่านหนังสือวิทยาศาสตร์
โครงการประกวดการเขียนเรียงความ
โครงการประกวดคำขวัญห้องสมุด
โครงการปัญหาพาสนุกจากการอ่าน
โครงการแสดงละคร
โครงการอ่านตามสาย
โครงการแสดงละครหุ่น
โครงการละครใบ้
โครงการพี่เล่าให้น้องฟัง
โครงการจัดตั้งชมรมนักอ่าน
โครงการออกค่ายนักอ่าน
โครงการเยาวชนพบนักเขียน
โครงการอ่านนิทานภาษาอังกฤษ
ฯลฯ
จากรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเป็นกิจกรรม ที่ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้หนังสือ ดังนั้น เพื่อให้นักเรียนใช้หนังสือได้อย่างถูกต้อง และเป็นการรักษาหนังสือให้อยู่ได้นาน ครูจึงควรแนะนำการใช้หนังสือให้ถูกต้อง ได้แก่ ไม่พับมุมหนังสือเมื่ออ่านยังไม่จบ ไม่ใช้ที่คั่นหนังสือหนา ๆ คั่นหนังสือ ไม่เปิดหนังสือแล้วคว่ำหน้าลง ควรเปิดหนังสือให้ถูกวิธี เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้วให้เก็บไว้ ที่เดิม ให้ใช้หนังสืออย่างทะนุถนอม ไม่ขีดเขียนหนังสือให้เลอะเทอะ ควรมีที่คั่นหนังสือไว้คั่นหนังสือ และควรจัดหนังสือให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เป็นต้น
นอกจากนี้ การวัดผลการมีนิสัยรักการอ่าน ซึ่งเป็นการวัดพฤติกรรมด้าน จิตพิสัย หรือด้านเจตคติ วิธีวัดผลที่วัดได้ตรงที่สุด คือ การสังเกต โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรม ซึ่งจะทำให้นักเรียนไม่รู้ตัวว่าถูกวัด จึงเป็นพฤติกรรมที่แท้จริงของนักเรียน ซึ่งอาจสังเกตได้ทั้งสถานการณ์จริง และสังเกตจากสถานการณ์ที่จัดขึ้น การสังเกตพฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่าน ควรสังเกตจากความกระตือรือร้นที่จะขออ่านหรือให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง อ่านหนังสือเมื่อมีเวลาว่าง มีสีหน้าแสดงความพอใจ มีความสุข นำเรื่องที่อ่านมาซักถามแสดงความคิดเห็น หรือมาคุยให้เพื่อนฟัง อ่านหนังสือในห้องสมุด หรือมุมหนังสือเป็นประจำ ชักชวนเพื่อน ๆ ให้อ่านหนังสือ และมีสมาธิ ในการอ่าน เป็นต้น
การอ่านมีความสำคัญต่อการศึกษาและการดำรงชีวิต ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนควรจะได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านมีนิสัยรักการอ่าน เห็นความสำคัญของการอ่าน มีความสามารถ ในการอ่าน และรู้จักแสวงหาความรู้และประสบการณ์จากการอ่านด้วยตนเองจนเป็นนิสัย
ความหมายของกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน คือ การกระตุ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านสนใจการอ่านจนกระทั่งมีนิสัยรักการอ่าน และได้พัฒนาการอ่านจนกระทั่งมีความสามารถ ในการอ่าน นำประโยชน์จากการอ่านไปใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการอ่าoทุกประเภท(กรมวิชาการ,2539หน้า14)ได้ความหมายว่า กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน คือ การกระทำเพื่อ..
ก. เร้าใจบุคคล “หรือบุคคลที่เป็นเป้าหมาย ให้เกิดความอยากรู้อยากอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่มีคุณภาพ”
ข. เพื่อแนะนำชักชวนให้เกิดความพยายามที่จะอ่านให้แตกฉาน สามารถนำความรู้จากหนังสือไปใช้ประโยชน์ เกิดความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ดีขึ้น
ค. เพื่อกระตุ้น แนะนำให้อยากรู้ อยากอ่านหนังสือหลายอย่างเปิดความคิดให้กว้าง ให้มีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย พัฒนาการอ่านจนถึงขึ้นที่สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์เรื่องที่อ่านได้
ง. เพื่อสร้างบรรยากาศที่จูงใจให้อ่าน
ลักษณะสำคัญของกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ดี
1. เร้าความสนใจ เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง เราใจให้ลูกอยากอ่านโดยการ อ่านหนังสือให้ฟัง เล่าเรื่องหนังสือ เป็นต้น ครู และบรรณารักษ์เร้าใจอยากให้ นักเรียนอ่าน นักเรียนเร้าใจเพื่อน ๆ ให้อยากอ่านหนังสือ นอกจากนั้น การใช้สื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ซีดี - รอม (CD–ROM) มัลติมีเดีย มีทั้งเสียง สี รูปภาพจะเร้าความสนใจผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง
2. จูงใจให้ผู้อ่านอยากอ่าน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ และบรรณารักษ์ ที่ได้อ่านหนังสือที่ดี จะต้องจูงใจให้ผู้อ่านอยากอ่านด้วยการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านต่าง ๆ ทั้งการพูด แนะนำ เล่าตอนที่สนใจให้ฟัง ตลอดจนอ่านเรื่องราวที่สนุกและ น่าประทับใจ อ่านบทกลอนตอนที่ไพเราะให้ฟัง
3. กระตุ้นให้อยากอ่าน กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็น อยากรู้เรื่องราวในหนังสือในตอนต่อไป อยากรู้ข่าวสารต่าง ๆ อยากอ่านเรื่องราวที่อยู่ในความสนใจ เช่น ข่าวบุคคล ข่าวสงคราม ข่าวการเมือง
4. พัฒนาการอ่านของผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านมีความสามารถในการอ่าน และรู้จักนำความรู้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ให้เกิดกับตนเองและผู้อื่นได้
5. สนุกสนาน ตื่นเต้น เพลิดเพลิน และมีสาระแฝงอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งเป็น การสอนทางอ้อม เช่น คติธรรม มโนธรรม จริยธรรม อุปนิสัย เป็นต้น
6. ไม่ใช้เวลานานเกินไป จะทำให้ผู้อ่านเบื่อหน่าย เวลาที่ใช้ทำกิจกรรมเหมาะสมกับความสนใจของผู้อ่านแต่ละเพศ แต่ละลัย แต่ละอาชีพ
7. เนื้อหาและวิธีการไม่ยากและสลับซับซ้อนจนเกินไป จัดกิจกรรมส่งเสริม การอ่านให้เหมาะสมกับเพศ วัย และระดับความรู้ของผู้อ่านกลุ่มเป้าหมาย
8. เป็นกิจกรรมที่ให้ทุกคนในกลุ่มได้มีส่วนร่วมกิจกรรม เช่น การเล่านิทาน การแสดงละคร การแสดงละครหุ่น การสนทนาเกี่ยวกับหนังสือ การโต้วาที การแข่งขันตอบปัญหา เป็นต้น
9. เป็นกิจกรรมที่ประหยัด ใช้วัสดุที่หาง่ายและราคาถูก
10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้แก่ผู้อ่าน เช่น ผู้อ่านเข้าร่วมกิจกรรมแล้วนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ เช่น เป็นนักเรียน นักแสดง ฯลฯ
11. เป็นกิจกรรมที่มุ่งไปสู่หนังสือ วัสดุการอ่าน หรือสื่อการอ่านทั้งสิ้น แม้แต่การจัดนิทรรศการเรื่องต่าง ๆ ที่จะต้องมีหนังสือ เอกสาร หนังสือการอ่าน นำมาแสดงด้วยทุกครั้ง
12. เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นการเรียนรู้ ถึงแม้จะอ่านหนังสือยังไม่ได้ เป็นการพัฒนาการพูดและพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรง และฝึกความพร้อม เช่น การเล่นของเล่นต่าง ๆ ทำให้ผู้เล่นถึงแม้จะอ่านไม่ออก แต่ก็ได้เรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัส
นอกจากนั้น การเล่นเกมและกิจกรรมต่าง ๆ ยังให้ความรู้ในเรื่องของภาษาและความรู้อื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น การเล่นขายของ การเล่นขายข้าวแกง การเล่นขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
คุณสมบัติที่ดีของผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ผู้ที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีนิสัยรักการอ่าน
2. รักเด็ก
3. มีมนุษยสัมพันธ์ดี พูดจาไพเราะ สุภาพ กิริยามารยาทดี
4. มีนิสัยชอบจดบันทึกสิ่งที่อ่าน
5. ช่างสังเกต เช่น สังเกตเด็ก สังเกตผู้ที่ได้พบปะพูดคุยสนทนา และรู้จักนำเอาสิ่งที่พบเห็นมาใช้
6. ช่างจำ
7. พูดเก่ง พูดคล่อง ถูกต้อง ชัดเจน พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน จริงใจ สุภาพ และชอบเล่า มีอารมณ์ขัน มีวิธีการเล่าที่สนุกไม่ไร้สาระ
8. กล้าพูดกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าทำ มีบทบาทของนักแสดง
9. ไม่เป็นคนตกใจง่าย ไม่เก้อเขิน และขี้อายจนเกินไป สามารถระงับอารมณ์ตนเองได้
10. มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถโยงเรื่องที่กำลังทำกิจกรรมเข้าสู่เหตุการณ์ปัจจุบันได้ ดัดแปลงเรื่องเก่ง รู้จักทำอุปกรณ์ที่น่าสนใจ
11. มีความสามารถ เป็นทั้งนักเรียน นักวาดรูป นักร้อง ทำเสียงต่าง ๆ
12. เป็นคนตรงต่อเวลา ทั้งในการนัดหมายเวลาในตาราง และเวลาในการแสดง
13. มีความรับผิดชอบในการจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทุกครั้ง
14. มีจิตใจที่แน่วแน่ มั่นคง มีการตัดสินใจที่ดี เชื่อมั่นในตนเอง ไม่เป็นคนโลเล เป็นคนสุขุม
15. เป็นคนมีเมตตากรุณา มีศีลธรรมจรรยา มีจิตใจอ่อนโยน
16. เป็นคนมีระเบียบวินัย จัดเก็บของอย่างมีระเบียบเรียบร้อย
17. เป็นคนที่สามารถยืดหยุ่นได้ถ้ามีความจำเป็น ไม่เป็นคนที่ดื้อรั้นเอาแต่ใจตนเอง
18. เป็นคนมีความคิดกว้างไกล จากการมีประสบการณ์จากการอ่านและการฟัง
19. ไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ ไม่โกรธง่าย ไม่ก้าวร้าว มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
20. เป็นคนมีบุคลิกดี การแต่งกายสะอาด สุภาพ ถูกกาลเทศะ
21. ออกเสียงตัวสะกดการันต์ ชัดเจน ถูกต้อง มีน้ำเสียงที่ชวนฟัง
22. มีความยุติธรรม
23. มีเวลาและพยายามอุทิศเวลาในการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
24. เห็นความสำคัญของการอ่านและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
25. มีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาการอ่าน และรู้จักเลือกกิจกรรมที่เหมาะกับผู้อ่านวัยต่าง ๆ
การเตรียมตัวจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
1. อ่านหนังสือเป็นประจำ ตลอดจนอ่านบทวิจัยเกี่ยวกับการอ่านทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ
2. เตรียมอ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น จะทำกิจกรรมการเล่านิทานก็ต้องอ่านเกี่ยวกับวิธีการ เล่านิทาน และนิทานเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนเกร็ดความรู้ต่าง ๆ การประดิษฐ์หุ่น และ การแสดงละครหุ่น เป็นต้น
3. พ่อแม่เตรียมอ่านหนังสือจิตวิทยาเกี่ยวกับเด็ก การเลี้ยงดูเด็ก พัฒนาการของเด็กในครรภ์ การปฏิบัติตัวของมารดาขณะตั้งครรภ์ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การไปพบแพทย์ หนังสือสำหรับเด็ก เป็นต้น
4. พ่อแม่เตรียมเสื้อผ้า อาหาร ของเล่น หนังสือเด็ก (ถึงแม้เด็กเล็กจะอ่านไม่ออก)
5. ฝึกซ้อมการทำกิจกรรมแต่ละเรื่องก่อนไปทำกิจกรรมจริงกับเด็ก
6. บันทึกเรื่องที่อ่าน ที่น่าสนใจไว้
7. สะสมเก็บรวบรวมหนังสือ รูปภาพ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมเก็บไว้เป็นชุด ๆ
8. เตรียมและทำอุปกรณ์ เช่น ตัวหุ่นต่าง ๆ วาดรูปฉาก จัดทำโรงหุ่น หนังสือ เสื้อผ้า ดนตรี เครื่องเสียง เป็นต้น
9. แต่งเรื่องและเขียนบท เขียนเองหรือนำมาจากที่อื่น แต่ต้องบอกแหล่งที่มาด้วย
10. เตรียมดนตรี เลือกดนตรีบันทึกในแถบบันทึกเสียง
11. ถ้าเป็นกิจกรรมที่ต้องให้เด็กร่วมแสดงเป็นกลุ่ม ต้องเตรียมเด็กแบ่งเป็นกลุ่ม
ตามความสามารถ และซ้อมก่อนแสดงจริง เช่น จะต้องมีวิธีกร คนบรรยาย คนเปลี่ยนฉาก คนเชิดหุ่น คนทำหุ่น เป็นต้น
12. การเตรียมตัวประชาสัมพันธ์ก่อนล่วงหน้า จัดวัน เวลาให้พร้อมก่อนการแสดงอย่างน้อย 1 สัปดาห์ การติดป้ายให้เด่นชัดเจน ให้ทุกคนได้มองเห็น
13. เตรียมอุปกรณ์ให้เด็กทำกิจกรรมตอนท้าย เช่น วาดรูป ต้องมีกระดาษ
ดินสอสีให้ครบทุกคน
14. หาข้อมูลผู้อ่านกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับประเภทของกิจกรรม และหนังสือที่ชอบอ่านก่อนทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อจะได้ทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้ ตรงกับความสนใจ และความต้องการ ตลอดจนหนังสือที่ชอบอ่านการทำวิจัย โดยการศึกษาค้นคว้าจากการตอบแบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์การสำรวจความคิดเห็น จากการสอบถามหรือการสัมภาษณ์ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับเด็ก ๆ เพียงแต่ถามเด็ก ๆ ก่อนว่า ต้องการให้ทำกิจกรรมอะไร แล้วจึงทำกิจกรรมที่เด็กชอบ
15. เตรียมแบบประเมินผล เมื่อทำกิจกรรมการอ่านเสร็จทุกครั้งควรมีการประเมินผลเพื่อจะได้ทราบว่า การจัดกิจกรรมจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงไร มีข้อบกพร่องต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง การประเมินผลอาจจะทำในรูปแบบของแบบฝึกหัด หรือแบบสอบถาม หรือสัมภาษณ์
รูปแบบของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน จัดได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1. การเล่านิทาน คือ การเล่าเรื่องที่มีผู้เล่าสืบกันมา หรือเล่าเรื่องจากหนังสือนิทานที่มีผู้แต่งขึ้นมา ได้แก่การเล่านิทานในห้องสมุด
การแข่งขันการเล่านิทาน
2. การเสนอหนังสือ หรือวัสดุการอ่าน และสื่อการอ่านต่าง ๆ คือการแนะนำ
ทรัพยากรสารนิเทศที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน เพื่อดึงดูดความสนใจให้อยากอ่านนั่นเอง ได้แก่
การเล่าเรื่องหนังสือ
การแนะนำหนังสือ
การอ่านหนังสือให้ฟัง
การสนทนาเกี่ยวกับหนังสือ
การอภิปรายเกี่ยวกับหนังสือ
การบรรยายเกี่ยวกับหนังสือ
การโต้วาทีเกี่ยวกับหนังสือ
การจัดทำรายชื่อทรัพยากรสารนิเทศ และการทำบรรณนิทัศน์
การจัดนิทรรศการ
3. การแสดงนาฎกรรมและอื่น ๆ
การแสดงละคร
การแสดงจินตลีลา
การร้องเพลง
การแสดงละครใบ้
การแสดงละครหุ่น
4. การทำกฤตภาค คือ การตัดปะ ข่าว บทความ รูปภาพ หรือทั้งรูปภาพ
และเรื่องที่น่าสนใจเพื่อบริการผู้อ่าน ได้แก่
การจัดทำกฤตภาคเป็นเล่ม
การทำกฤตภาคข่าวติดไว้ที่ป้ายนิทรรศการด้านหลังห้องเรียนทุกวัน
5. การแข่งขันต่าง ๆ จากการอ่าน คือ การแสดงความสามารถในการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
การแข่งขันเปิดพจนานุกรมทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ แข่งขันตอบปัญหาจากหนังสือ เช่น แข่งขันตอบปัญหาหนังสือสารานุกรมสำหรับเยาวชน แข่งขันตอบปัญหาสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น
การแข่งขันโต้วาที
การแข่งขันการตอบปัญหาทั่ว ๆ ไป
การแข่งขันตอบปัญหาสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น ปัญหาวิทยาศาสตร์ กฎหมาย เป็นต้น
6. การประกวดเกี่ยวกับการอ่าน
ประกวดการอ่านร้อยแก้ว และร้อยกรอง
ประกวดการอ่านทำนองเสนาะ
ประกวดการอ่านบทสนทนา
ประกวดการอ่านบทละคร
ประกวดการอ่านข่าว
7. การเล่นเกมที่นำไปสู่การอ่าน ได้แก่
เกมของเล่นต่าง ๆ และเกมคอมพิวเตอร์
เกมการวาดภาพ
เกมเติมคำศัพท์
เกมค้นหาคำ
เกมทายปัญหา
เกมต่อคำพังเพย
เกมการละเล่นต่าง ๆ
เกมพับกระดาษ
เกมประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ
8. การจัดทำโครงการกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
โครงการสัปดาห์ห้องสมุด
โครงการยอดนักอ่าน
โครงการอ่านหนังสือให้ฟัง
โครงการแนะนำหนังสือ
โครงการเสนอหนังสือในรูปแบบต่าง ๆ
โครงการหนังสือดีที่น่าอ่าน
โครงการหนังสือใหม่ในวันนี้
โครงการหนังสือสู่ชนบท
โครงการหนังสือคือเพื่อนคู่คิด
โครงการยอดนักอ่านระดับประถมศึกษา
โครงการยอดนักอ่านระดับมัธยมศึกษา
โครงการยอดนักอ่านระดับประชาชน
โครงการจัดนิทรรศการ
โครงการประกวดการเล่านิทาน
โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม
โครงการประกวดการเล่านิทาน
โครงการประกวดเรื่องสั้นสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม
โครงการประกวดการอ่านสุนทรพจน์
โครงการจัดตั้งห้องสมุดในชนบท
โครงการทอดผ้าป่าหนังสือ
โครงการอ่านหนังสือวิทยาศาสตร์
โครงการประกวดการเขียนเรียงความ
โครงการประกวดคำขวัญห้องสมุด
โครงการปัญหาพาสนุกจากการอ่าน
โครงการแสดงละคร
โครงการอ่านตามสาย
โครงการแสดงละครหุ่น
โครงการละครใบ้
โครงการพี่เล่าให้น้องฟัง
โครงการจัดตั้งชมรมนักอ่าน
โครงการออกค่ายนักอ่าน
โครงการเยาวชนพบนักเขียน
โครงการอ่านนิทานภาษาอังกฤษ
ฯลฯ
จากรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเป็นกิจกรรม ที่ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้หนังสือ ดังนั้น เพื่อให้นักเรียนใช้หนังสือได้อย่างถูกต้อง และเป็นการรักษาหนังสือให้อยู่ได้นาน ครูจึงควรแนะนำการใช้หนังสือให้ถูกต้อง ได้แก่ ไม่พับมุมหนังสือเมื่ออ่านยังไม่จบ ไม่ใช้ที่คั่นหนังสือหนา ๆ คั่นหนังสือ ไม่เปิดหนังสือแล้วคว่ำหน้าลง ควรเปิดหนังสือให้ถูกวิธี เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้วให้เก็บไว้ ที่เดิม ให้ใช้หนังสืออย่างทะนุถนอม ไม่ขีดเขียนหนังสือให้เลอะเทอะ ควรมีที่คั่นหนังสือไว้คั่นหนังสือ และควรจัดหนังสือให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เป็นต้น
นอกจากนี้ การวัดผลการมีนิสัยรักการอ่าน ซึ่งเป็นการวัดพฤติกรรมด้าน จิตพิสัย หรือด้านเจตคติ วิธีวัดผลที่วัดได้ตรงที่สุด คือ การสังเกต โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรม ซึ่งจะทำให้นักเรียนไม่รู้ตัวว่าถูกวัด จึงเป็นพฤติกรรมที่แท้จริงของนักเรียน ซึ่งอาจสังเกตได้ทั้งสถานการณ์จริง และสังเกตจากสถานการณ์ที่จัดขึ้น การสังเกตพฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่าน ควรสังเกตจากความกระตือรือร้นที่จะขออ่านหรือให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง อ่านหนังสือเมื่อมีเวลาว่าง มีสีหน้าแสดงความพอใจ มีความสุข นำเรื่องที่อ่านมาซักถามแสดงความคิดเห็น หรือมาคุยให้เพื่อนฟัง อ่านหนังสือในห้องสมุด หรือมุมหนังสือเป็นประจำ ชักชวนเพื่อน ๆ ให้อ่านหนังสือ และมีสมาธิ ในการอ่าน เป็นต้น
ป้ายกำกับ:
การอ่าน: reading1,
ศน.อ้วน
ความสำคัญและประโยชน์ของการอ่าน
การอ่าน มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จนกระทั่งถึง วัยชรา ปัจจุบันการอ่านเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และถือว่าการอ่านเป็นปัจจัยที่ 5 นอกจากปัจจัยทั้ง 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ – อาศัย และยารักษาโรค
ความหมายของการอ่าน
การอ่าน คือ ความเข้าใจสัญลักษณ์ เครื่องหมาย รูปภาพ ตัวอักษร คำ และข้อความ ที่พิมพ์หรือเขียนขึ้นมา
การอ่าน “อ่าน” คือ “ว่าตามตัวหนังสือ, ออกเสียงตามตัวหนังสือ, ดูหรือ เข้าใจความจากตัวหนังสือ; สังเกต หรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ; คิด, นับ (ไทยเดิม)” (พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525, หน้า 917)
ความสำคัญของการอ่าน
การอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ ช่วยสนองความอยากรู้อยากเห็นอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ได้ทุกเรื่อง ซึ่งมีอยู่ในทรัพยากรสารนิเทศ ทุกประเภท โดยเฉพาะความอยากรู้ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ซึ่ง ในโลกนี้มีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย อาทิเช่น มีข่าวความบันเทิง ข่าวความสุข ความทุกข์ ความสำเร็จ ข่าวโศกนาฏกรรม การเกิดอัคคีภัย อุทกภัย ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น
นอกจากนั้น การอ่านยังมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้ที่กำลังอยู่ในความทุกข์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะหนังสือศาสนา ปรัชญา จะทำให้มีเวลามานั่งพิจารณาตัวเองทำให้มีกำลังใจ และในที่สุดก็ใช้เหตุผลคิดค้นหาวิธีแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสัมปชัญญะ หนังสือศาสนาและปรัชญาเปรียบเสมือนยาที่ช่วยรักษาจิตใจของคนไข้ได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ของการอ่าน
การอ่านมีประโยชน์ต่อทุกคนทุกอาชีพ ทั้งผู้ที่อยู่ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน การอ่านช่วยการศึกษาค้นคว้าทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร เพราะผู้เรียนต้องอ่านเพื่อให้เข้าใจความหมาย แล้วนำไปใช้ในการฟัง การพูด และการเขียนได้ถูกต้อง โดยเฉพาะยุคนี้ เป็นยุคแห่งข่าวสาร คนที่ชอบอ่านจะมีหูตากว้างไกลกว่าคนที่ ไม่ชอบอ่าน การอ่านเป็นสิ่งสำคัญ ในการเรียนรู้และการศึกษาหาความรู้ เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต เริ่มตั้งแต่ อ่านให้ออก อ่านให้เป็น อ่านให้เก่ง และมีนิสัยรักการอ่าน
นอกจากนั้นการอ่านยังเป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้มีบุคลิกภาพดี รักษาสุขภาพได้ ดูแลบ้านเรือนให้สะอาด รักษาสิ่งแวดล้อม รับประทานอาหารถูกหลักอานามัยและโภชนาการ เวลาป่วยรู้จักไปหาหมอ หรือไปโรงพยาบาล รับประทานยาตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด รู้จักออกกำลังกายอย่างถูกต้อง เมื่อป่วยไข้เป็นโรคชนิดใดต้องศึกษาหาความรู้และรักษาสุขภาพของตนให้ดีจากการอ่าน และคำแนะนำของนายแพทย์ รู้จักอ่านหนังสือหรือบทความ ตลอดจนอ่านสื่อต่าง ๆ ที่แนะนำ การปฏิบัติตนให้มีความสุขในชีวิต ซึ่งจะทำให้สุขภาพจิตดี ร่างกายแข็งแรง ความจำดี และมีอายุยืนยาว การอ่านเพื่อพัฒนาอาชีพก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อ่านเพื่อรู้จักที่จะพัฒนางานฝีมือ หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทันสมัย การประกอบอาชีพต่าง ๆ จำเป็นจะต้องอ่านเทคนิคและวิธีการที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ลดต้นทุนและปลอดภัย เช่น การเพาะปลูก การทำสวนยาง การปลูกไร่นาสวนผสม วิธีการตอน ทาบกิ่งผลไม้ การเพาะชำ การกำจัดแมลง การทำปุ๋ย การให้ปุ๋ยต้นไม้บางชนิด เป็นต้น
ความหมายของการอ่าน
การอ่าน คือ ความเข้าใจสัญลักษณ์ เครื่องหมาย รูปภาพ ตัวอักษร คำ และข้อความ ที่พิมพ์หรือเขียนขึ้นมา
การอ่าน “อ่าน” คือ “ว่าตามตัวหนังสือ, ออกเสียงตามตัวหนังสือ, ดูหรือ เข้าใจความจากตัวหนังสือ; สังเกต หรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ; คิด, นับ (ไทยเดิม)” (พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525, หน้า 917)
ความสำคัญของการอ่าน
การอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ ช่วยสนองความอยากรู้อยากเห็นอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ได้ทุกเรื่อง ซึ่งมีอยู่ในทรัพยากรสารนิเทศ ทุกประเภท โดยเฉพาะความอยากรู้ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ซึ่ง ในโลกนี้มีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย อาทิเช่น มีข่าวความบันเทิง ข่าวความสุข ความทุกข์ ความสำเร็จ ข่าวโศกนาฏกรรม การเกิดอัคคีภัย อุทกภัย ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น
นอกจากนั้น การอ่านยังมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้ที่กำลังอยู่ในความทุกข์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะหนังสือศาสนา ปรัชญา จะทำให้มีเวลามานั่งพิจารณาตัวเองทำให้มีกำลังใจ และในที่สุดก็ใช้เหตุผลคิดค้นหาวิธีแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสัมปชัญญะ หนังสือศาสนาและปรัชญาเปรียบเสมือนยาที่ช่วยรักษาจิตใจของคนไข้ได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ของการอ่าน
การอ่านมีประโยชน์ต่อทุกคนทุกอาชีพ ทั้งผู้ที่อยู่ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน การอ่านช่วยการศึกษาค้นคว้าทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร เพราะผู้เรียนต้องอ่านเพื่อให้เข้าใจความหมาย แล้วนำไปใช้ในการฟัง การพูด และการเขียนได้ถูกต้อง โดยเฉพาะยุคนี้ เป็นยุคแห่งข่าวสาร คนที่ชอบอ่านจะมีหูตากว้างไกลกว่าคนที่ ไม่ชอบอ่าน การอ่านเป็นสิ่งสำคัญ ในการเรียนรู้และการศึกษาหาความรู้ เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต เริ่มตั้งแต่ อ่านให้ออก อ่านให้เป็น อ่านให้เก่ง และมีนิสัยรักการอ่าน
นอกจากนั้นการอ่านยังเป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้มีบุคลิกภาพดี รักษาสุขภาพได้ ดูแลบ้านเรือนให้สะอาด รักษาสิ่งแวดล้อม รับประทานอาหารถูกหลักอานามัยและโภชนาการ เวลาป่วยรู้จักไปหาหมอ หรือไปโรงพยาบาล รับประทานยาตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด รู้จักออกกำลังกายอย่างถูกต้อง เมื่อป่วยไข้เป็นโรคชนิดใดต้องศึกษาหาความรู้และรักษาสุขภาพของตนให้ดีจากการอ่าน และคำแนะนำของนายแพทย์ รู้จักอ่านหนังสือหรือบทความ ตลอดจนอ่านสื่อต่าง ๆ ที่แนะนำ การปฏิบัติตนให้มีความสุขในชีวิต ซึ่งจะทำให้สุขภาพจิตดี ร่างกายแข็งแรง ความจำดี และมีอายุยืนยาว การอ่านเพื่อพัฒนาอาชีพก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อ่านเพื่อรู้จักที่จะพัฒนางานฝีมือ หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทันสมัย การประกอบอาชีพต่าง ๆ จำเป็นจะต้องอ่านเทคนิคและวิธีการที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ลดต้นทุนและปลอดภัย เช่น การเพาะปลูก การทำสวนยาง การปลูกไร่นาสวนผสม วิธีการตอน ทาบกิ่งผลไม้ การเพาะชำ การกำจัดแมลง การทำปุ๋ย การให้ปุ๋ยต้นไม้บางชนิด เป็นต้น
ปฐมบท : การอ่านคือเส้นทางสู่ความสำเร็จ
การ..อ่านคือพื้นฐานการเรียนรู้
อ่าน..คิดดู ฟังถามเขียน คู่ค้นหา
คือ..สะพาน สู่เส้นทาง สร้างปัญญา
เส้น..ข้างหน้า ทางกว้าง และยาวไกล
ทาง..ชีวิต เราลิขิต ให้ก่อเกิด
สู่..ความเลิศ ความดี พิสุทธิ์ใส
ความ..สำเร็จ สมประสงค์ จำนงใจ
สำเร็จ..หมาย ได้ดังหวัง ดังต้องการ.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)