Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การพลิกโฉมโรงเรียน ป.1 อ่านออกเขียนได้ใน 1 ปี


การพลิกโฉมโรงเรียน ป.1 อ่านออกเขียนได้ใน 1 ปี

 กระทรวงศึกษาธิการ  ได้กำหนดนโยบายเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่อเรียนจบ ป.1 ต้องอ่านออก เขียนได้ กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน Brain-based Learning (BBL) ในรูปแบบของกุญแจ 5 ดอก  "Roadmap  สู่การพลิกโฉมโรงเรียน"   โดยการมีส่วนรวมของทุกฝ่าย 


"มหัศจรรย์สมอง...สู่การเรียนรู้"

กุญแจ 5 ดอก..สู่การอ่านออกเขียนได้




กุญแจดอกที่ 1  สนามเด็กเล่น (Playground) 
    เปลี่ยนสนามเด็กเล่น เพื่อพัฒนาสมองน้อย และไขสันหลังให้แข็งแกร่ง ถ้าเด็กได้ออกกำลังกายร่างกายจะส่งเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Make จัดทำสนามที่มีฐานหลากหลาย ให้เด็กได้วิ่ง ปีน โหน ลอด กระโดด ฯลฯ และมีวัสดุกันกระแทก
Move จัดเวลาให้เด็กได้เล่นสนามวันละ 15-20 นาทีทุกวันโดยมีคุณครูคอยดูแล
          สนามเด็กเล่น : Playground
             1. มีฐานเคลื่อนไหวที่หลากหลาย
             2. เด็กทุกคนต้องได้เคลื่อนไหวโดยใช้เวลาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 15-20นาทีต่อวัน
             3. มีคุณครูคอยดูแลความปลอดภัยในการเล่น
             4. ตรวจสอบความปลอดภัยของสนามอย่างสม่ำเสมอ










กุญแจดอกที่ 2  ห้องเรียนเปลี่ยนสมอง (Classroom) 
               เปลี่ยนห้องเรียน เพื่อเปลี่ยนสมองของเด็ก สิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่ มีความเข้มข้น มีสีสันช่วยกระตุ้นให้เด็กสามารถเรียนรู้และจดจำเนื้อหาที่เรียนได้ดีขึ้น
                     Color   ปรับปรุงห้องเรียน ทาสีผนัง หรือนำฟิวเจอร์บอร์ดสีมาติดผนัง และทาสีโต๊ะเก้าอี้
                    Corner จัดมุมอ่านไว้ในห้องเรียนทุกห้อง
                    Clean   ทิ้งของที่ไม่ใช้ในห้องเรียน จัดวางอุปกรณ์และสื่อต่าง ๆ ไว้บนชั้นให้เป็นระเบียบ
                    Clear    รื้อบอร์ดเก่าที่ไม่มีประโยชน์ทิ้งไป แล้วนำความรู้ที่มีประโยชน์มาจัดบอร์ด






กุญแจดอกที่ 3 พลิกกระบวนการเรียนรู้แบบ BBL(Teaching &Learning )
          1.ออกแบบกระบวนการเรียนรู้  โดยเข้าใจสมองของนักเรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่กระตุ้นสมองน้อย สมองสองซีก และสมองทั้งสี่ส่วน เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงสุด
                One กระตุ้นสมองน้อย ด้วยกิจกรรม “ขยับกายขยายสมอง” ทุกๆ ต้นชั่วโมง
                Two กระตุ้นสมองทั้งสองซีก โดยใช้บทเพลงและบทกลอน และกิจกรรมที่สนุกสนาน
                      ช่วยในการสอนภาษาและคณิตศาสตร์
                Four กระตุ้นสมองทั้งสี่ส่วน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เห็นภาพ ได้ยินเสียง ได้เคลื่อนไหวและได้สัมผัส
             2.กระบวนการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-based Learning) มีกระบวนการ
             ขั้น 1 อุ่นเครื่อง  (Warm – up)
             ขั้น 2 นำเสนอความรู้ (Present)
             ขั้น 3 ขั้นลงมือเรียนรู้ ฝึกทำ ฝึกฝน (Learn – Prasent)
             ขั้น 4 ขั้นสรุปความรู้ (Summary)
             ขั้น 5 ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply)




กุญแจดอกที่ 4  หนังสือเรียนและใบงาน BBL (BBL Books)
        ใช้หนังสือและใบงาน ที่ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง เพื่อช่วยกระตุ้นสมองของนักเรียน ฝึกให้เด็กคิดทีละขั้นตอน และนำทักษะและความรู้ในแต่ละขั้น มาประกอบกันเป็นความเข้าใจ (concept) ในที่สุด
          Brainy Books จัดหาหนังสือเรียน และหนังสืออ่านที่ส่งเสริมทักษะการคิด
          Brainy Worksheets จัดทำใบงานตามหลักการ BBL ที่มี road map นำสู่ความสำเร็จ





กุญแจดอกที่ 5  สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ BBL (Innovations)
    ใช้สื่อและนวัตกรรมที่แปลกใหม่ น่าตื่นเต้น และมีสีสัน และมีจำนวนเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคน เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยในการเรียนรู้ และกระตุ้นให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน พึงพอใจ เกิดความตั้งใจที่จะเรียนรู้เนื้อหาที่ซับซ้อน
          Learning Tools จัดหาสื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้
          Learning Board จัดหากระดานเคลื่อนที่ สำหรับห้องเรียนชั้นอนุบาลและประถมทุกห้อง
          Learning Cards จัดหาบัตรภาพ บัตรคำ เพื่อใช้ประกอบการสอน





ทฤษฎี Brain-based Learning (BBL) กระบวนการเรียนรู้
 1.ทฤษฎี Brain-based Learning 1 สอนโดยใช้บทกลอน บทเพลงและจังหวะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวา
                    1.เคลื่อนไหวร่างกาย Braim Gym เคลื่อนไหวประกอบบทกลอน บทเพลง ใช้ร่างกายเคลื่อนไหวประกอบให้เป็นจังหวะ และอีกวิธี cup song
                    2. สอนอ่านจากชาร์ต อ่านเป็นคำ อ่านตามครู อ่านเอง
                    3. สอนอ่านสะกดคำจากบัตรตัวอักษร อ่านเอง
                    4. ทำใบงาน BBL สอนการอ่านโดย อ่านเป็นคำ + อ่านสะกดคำ เรียกว่า สมดุลภาษา
 2.ทฤษฎี Brain-based Learning 2 นำเนื้อหาที่จะสอนมาดัดแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งให้เป็นเกม หรือกิจกรรมที่สนุก
    เพื่อกระตุ้นการหลั่งของสาร โดปามีน(สารแห่งความสุข)
 3.ทฤษฎี Brain-based Learning 3 สร้างนั่งร้าน เพื่อให้สมองเรียนรู้ทีละขั้นจนกว่าถึงเป้าหมาย
 4.ทฤษฎี Brain-based Learning 4 นำ Graphic Organizer มาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้สมองเรียนรู้ง่ายลง
    ไม่แบกภาระหนักโดยไม่จำเป็น
 5.ทฤษฎี Brain-based Learning 5 เลือกสรรสื่อกระตุ้นการคิด เข้ามาใช้ในกิจกรรมการเรียนและการฝึกเพื่อกระตุ้นให้สมองเกิดความรู้สึกแปลกใหม่




...ขอบคุณภาพจาก  Google...