ย้ำการพัฒนาคน เป็นโจทย์สำคัญของการปฏิรูปการศึกษา และยกระดับพัฒนาประเทศรมว.ศธ.กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาได้พิจารณาจาก โจทย์ใหญ่ คือขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ ในภูมิภาคและสังคมโลก ในขณะที่ปัจจุบันได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป รวมทั้งประเทศใหญ่ๆ ของทวีปเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ แม้บางประเทศ เช่น จีน จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร็วมาก ก็ได้รับผลกระทบดังกล่าวทำให้มีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจลง ในสภาพเช่นนี้จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องเตรียมการพัฒนาขีดความสามารถใน การแข่งขันของประเทศเพื่อที่จะให้อยู่รอดในภาวะการณ์ปัจจุบันหรือในอนาคตต่อไป นอกจากนี้จะมีการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน พร้อมทั้งความพยายามที่จะเชื่อมโยงกันของกลุ่มประเทศอาเซียนกับนอกภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย
การจะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบ Logistics ที่ สำคัญของประเทศ เช่น ด้านการคมนาคม การสื่อสาร ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนและกำลังเร่งดำเนินการในขณะนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ แต่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่สำคัญมากและขาดไม่ได้คือ "การพัฒนาคน" เพราะฉะนั้นจึงเป็นโจทย์ที่สำคัญของการจัดการศึกษาและปฏิรูปการศึกษาของ ประเทศไทย
การศึกษาต้องเดินหน้าสู่การสร้าง การพัฒนา เตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับสังคมโลก โดยเฉพาะสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เป็นผลจากการปฏิวัติด้านดิจิทัล (Digital Revolution) และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ ทำให้โลกทั้งโลกเชื่อมโยงและสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องสร้างและพัฒนาให้คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ ที่มีความสามารถ มีทักษะ ความถนัด ความชำนาญพร้อมจะขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาประเทศสู่การเป็นประเทศพัฒนา ในระดับที่สูงขึ้น
จากผลการประเมินการจัดอันดับโดย IMD พบว่าในปี ค.ศ.2013 การศึกษาไทยอยู่ในอันดับที่ 51 จาก 60 ประเทศ และผลการประเมินการทดสอบ PISAทั้ง ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน ในปี ค.ศ.2009 พบว่าเด็กไทยอยู่ในอันดับที่ประมาณ 50 จาก 65 ประเทศ ในขณะที่ผลการจัดอันดับ 400 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก โดย Times Higher Education World Rankings ในปี ค.ศ.2012-2013 พบว่ามีมหาวิทยาลัยไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอยู่ในกลุ่ม 351-400 เป็นสภาพที่เป็นจริงที่เราประสบอยู่
ประกาศนโยบาย "2556 ปีแห่งการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา"
รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายด้านการศึกษาที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งได้แถลงไว้ชัดเจนต่อรัฐสภา ให้มีการปฏิรูประบบการเรียนรู้ ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลมีความเข้าใจและกำหนดเป็นนโยบายที่ปฏิรูปการศึกษา และได้ดำเนินการมาเป็นลำดับ โดยนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศธ.คนล่าสุด ได้เริ่มดำเนินการปฏิรูปหลักสูตรอย่างตั้งใจและจริงจัง แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพการณ์ของสังคมโลก จากโจทย์ที่ประเทศนี้จะต้องรับมือ ก็มีความจำเป็นที่เราจะต้องยกเครื่องการศึกษาไทยให้มีคุณภาพ มาตรฐานในระดับสากล และสอดคล้องกับสังคมโลกยุคใหม่
ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ควรจะประกาศให้ "การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ" โดยกำหนดให้ปี 2556 จากนี้ไปเป็น "ปีแห่งการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา" ซึ่ง หมายความว่า เราจะทำตามลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยพลังของสังคมทั้งสังคมมาช่วยกันขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแนว นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล และสานต่องานที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว
เป้าหมายมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้คิด วิเคราะห์ เรียนรู้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ปีแห่งการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษาเป็น ผลสำเร็จ จึงขอเสนอเป้าหมายมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยภายในปี พ.ศ.2558 ซึ่งไปพ้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีเดียวกัน ดังนี้ - ให้ผลการจัดอันดับการศึกษาไทย ผลการทดสอบ PISA ของไทย ให้อยู่ในอันดับที่ดีขึ้น
- ให้สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อสามัญเพิ่มขึ้นเป็น 50 : 50
- ให้มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับโลกมากขึ้น
- ให้มีการกระจายโอกาสและเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษามากขึ้นทั้งนี้ โดยเน้นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ จัดและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น คือวงการการศึกษา บุคลากรทางการศึกษาของรัฐทั้งหมด ต้องมีความเข้าใจร่วมกันว่า การศึกษาของภาคเอกชนเป็นกำลังสำคัญของประเทศ
1. เร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
เพื่อ
ให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา
และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
โดยปฏิรูปให้มีความเชื่อมโยงกันทั้งหลักสูตรและการเรียนการสอน
ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับการเรียนรู้ยุคใหม่ การพัฒนาครู
และการพัฒนาระบบการทดสอบ
การวัดและประเมินผลที่ได้มาตรฐานและเชื่อมโยงกับหลักสูตรและการเรียนการสอน
และการพัฒนาผู้เรียน
การที่
ใช้คำว่า "ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน" ก็คือ
เรื่องปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอน ต้องมีการทดสอบประเมินผล
ซึ่งการทดสอบประเมินผลต้องคำนึงถึงหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน
ไม่ใช่เป็นการทดสอบที่ไม่สัมพันธ์กันหรือไม่คำนึงถึงการเรียนการสอน
นอกจากนี้ การทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติฯ
ซึ่งโยงไปถึงระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ปัจจุบันยังส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวคือ
หากจัดการทดสอบเหมือนที่ผ่านมา
จะทำให้คนในวงการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระบบไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการ
ศึกษาของตนเอง เนื่องจากผู้เกี่ยวข้อง คือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง
เห็นความสำคัญของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากกว่าการเรียนในระบบ
ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาจึงไม่สัมฤทธิ์ผล
เพราะผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวไม่ให้ความสำคัญ
ส่วนการ
ประเมินวิทยฐานะความก้าวหน้า
ก็ควรจะต้องเชื่อมโยงกับหลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินสถานศึกษา
มีผู้กล่าวว่าควรให้เด็กคิดเป็นวิเคราะห์เป็น
แต่ในบางครั้งก็ยังไม่ได้หารือร่วมกันว่าการเรียนการสอนและหลักสูตรเป็น
อย่างไร จึงต้องใช้หลักสูตรเป็นแกนหลักเพื่อมุ่งไปที่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
และมีผลต่อการพัฒนาครู ประเมินวิทยฐานะและความก้าวหน้าในวิชาชีพครูด้วย
ดังนั้นใน 6 เรื่อง คือ ปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปการเรียนการสอน
การทดสอบ/วัดและประเมินผลผู้เรียน การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย
การประเมินวิทยฐานะและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู และการประเมินสถานศึกษา
ต้องเชื่อมโยงไปที่คุณภาพผู้เรียนและผลสัมฤทธิ์
ซึ่งเป็นหัวใจของนโยบายทั้งหมด
4
รมว.ศธ.กล่าวว่า
8. พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ด้วย
การสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาและสถานศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ สังคม อัตลักษณ์ และความต้องการประชาชนในท้องถิ่น
โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย การสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักเรียน ครู
และบุคลากรทางการศึกษา
|
||
เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบาย และบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีกลไกขับเคลื่อน 5 ประการ ดังนี้
1. เร่งรัดจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตาม
กฎหมายกำหนด ซึ่งนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศธ.คนล่าสุด
ได้ดำเนินการใกล้จะเสร็จแล้ว
กฎหมายดังกล่าวเพื่อเปิดโอกาสในการใช้ทรัพยากรให้มากขึ้น และประการสำคัญคือ
จะทำให้เราสามารถพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
2. จัดตั้งสถาบันเพื่อวิจัยหลักสูตรและพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อ
พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมาตรฐาน
การจัดทำหลักสูตรซึ่งมีการปรับปรุงเป็นระยะมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551
ทั้งนี้เรื่องสำคัญของการศึกษาประเทศไทยเกี่ยวกับหลักสูตรก็คือ
เราใช้วิธีเชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วยกันจัดทำ เมื่อจัดทำเสร็จแล้วก็ตีพิมพ์
จากนั้นผู้เชี่ยวชาญก็จะแยกย้ายไปทำหน้าที่ของตนเอง
และอาจจะนัดพบกันอีกครั้งในอีก 5-6 ปี แต่สิ่งที่ขาดไปก็คือ
ควรมีองค์กรหรือกลไกที่จะทำการวิจัยพัฒนาเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนอย่าง
ต่อเนื่อง มีเจ้าภาพที่ชัดเจน มีการประเมินได้ว่าองค์กรต่างๆ
ทำงานก้าวหน้าไปแล้วอย่างไร หลักสูตรเป็นอย่างไร
ครูนักเรียนมีความเห็นอย่างไร
เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดทำหลักสูตรของต่างประเทศ
จึงพบว่าหลักสูตรเล่มหนึ่งมีขนาดเล็ก
แต่อ้างผลการวิจัยเต็มไปหมดทุกหน้าว่าเหตุใดจึงบอกว่าเด็กชั้นนี้ควรเรียน
อะไร และในหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จ
ก็มีองค์กรที่ดำเนินการเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
โดยไม่ใช่วิธีเชิญผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งบางครั้งก็หลงลืม ไม่ได้ติดตามการศึกษา
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้ง
3. สร้างความเข็มแข็งของกลไกการวัดผล ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล พัฒนา
ให้มีตัวชี้วัดคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของประเทศที่เทียบเคียงได้ในระดับ
สากล เพื่อประเมินผลสำเร็จของระบบการศึกษาไทยในภาพรวม ซึ่ง
ศธ.ต้องหารือกับองค์กรต่างๆ เช่น สทศ. สมศ. เพื่อที่จะทำงานร่วมกัน
4. เร่งรัดให้มีพระราชบัญญัติอุดมศึกษา เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษา
5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงาน องค์กร และกลไกที่เกี่ยวข้อง
|
||
ในการบริหารงานให้เป็นไปตามนโยบายและกลไกดังกล่าวข้างต้น จะดำเนินการเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนเรื่องสำคัญต่างๆ เช่น ผลการทดสอบ PISA ของไทย เมื่อได้ตั้งเป้าหมายให้ผลการจัดอันดับการศึกษาไทยอยู่ในอันดับที่ดีขึ้น ก็จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดย
ระดมผู้ที่เกี่ยวข้องและภาคส่วนต่างๆ เข้ามาร่วมขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม
โดยเริ่มต้นจากคณะกรรมการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์จากการทดสอบ PISA
2. จัดประชุมปฏิบัติการ (workshop) อย่างเป็นระบบ โดยจะระดมความคิดและการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนให้เป็นไปตามนโยบาย
|
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของ ศธ. และทั้งสังคม รม ว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ทั้งหมดนี้เป็นนโยบายสำคัญและแนวความคิดที่จะอาศัยความร่วมมือจากทุกส่วนของ ศธ. เพราะการศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญจำเป็นมากของประเทศในช่วงนี้และช่วงต่อไป การพัฒนาคนเป็นเรื่องจำเป็นที่เราไม่อาจที่จะละเลยได้ เราจะร่วมกันทำในเรื่องที่ยากและท้าทาย คือที่พูดมาทั้งหมดเป็นเรื่องที่ยากมาก ต้องอาศัยหลายฝ่าย แต่หากประเทศนี้จะไปรอด จะอยู่ในเวทีแห่งการแข่งขันยุคใหม่ได้ เราต้องปฏิรูปการศึกษาให้ได้ ต้องพัฒนาคนให้ได้ ดังนั้นแม้จะยาก แต่ต้องพยายามช่วยกันให้ได้ และหวังว่าทั้งบุคลากรของการศึกษาจะช่วยกันคิดต่อว่าเราจะทำกันอย่างไร รวมทั้งเสนอความเห็น เสนอขอให้แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม ก็ยินดีที่จะรับมาพิจารณาร่วมกัน หวังว่าทุกท่านมีความพร้อมที่จะทำงานในเรื่องยากและอาศัยผู้เกี่ยวข้อง ผู้สนใจในสังคมทั้งสังคม เพื่อร่วมกันยกเครื่องการศึกษาไทยให้มีคุณภาพ รวมพลังในการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยต่อไป
รม ว.ศธ.ได้ตอบคำถามของสื่อมวลชน กรณีการแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชันด้วยว่า "ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานทำงานด้วยความสุจริต โปร่งใส กรณีที่เกิดการทุจริตขึ้นแล้ว ก็จะดำเนินการอย่างเคร่งครัด ตรงไปตรงมา เพื่อหาคนทำผิดมาลงโทษและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก ตั้งแต่การทำงาน การบริหารงาน รวมไปถึงการแต่งตั้งโยกย้าย ทุกอย่างต้องเป็นไปอย่างสุจริต และ ขอแจ้งไว้ด้วยว่า หากมีใครแอบอ้างถึงตน ซึ่งตนไม่มีนโยบายมอบใครไป หรือว่ามีใครไปแอบอ้างไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีหรือเรื่องไม่ดีก็ตาม หากท่านสงสัยก็ให้มาแจ้งกับตนไว้ก่อน หลักการทำงานในเรื่องนี้ คือต้องใช้หลักความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเที่ยงธรรมประกอบกัน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเกี่ยวกับการทุจริต จะใช้นโยบายเข้าไปมากนักไม่ได้ แม้นโยบาย จะต้องทำตรงไปตรงมา แต่จะไปถึงขั้นกำหนดระยะเวลา ก็จะกลายเป็นการใช้ดุลยพินิจของฝ่ายการเมืองเข้าไปกำหนด แต่ที่สำคัญแน่นอนคือทุกเรื่องต้องไม่ล้มมวย ดังนั้นการจะไปบอกว่าเรื่องนั้นต้องเสร็จเมื่อนั้น เมื่อนี้ หากผู้เกี่ยวข้องบอกว่าต้องมีการสืบสวนสอบสวนและหาหลักฐานอีกมากมาย ก็จะกลายเป็นไปเร่งรัด อาจจะเสียหายอีกแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตามจะทำให้มีประสิทธิภาพ ได้ผลจริง และมีความเที่ยงธรรม"