Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักธรรมบนคำกลอน


หลักธรรมบนคำกลอน
เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำหลักธรรมคำสอน
หัวใจสำคัญของพุทธศาสนา
คำกลอนปาฏิโมกข์ จึงถูกประพันธ์ขึ้นมา
เพื่อใช้เป็นสื่อในการบรรยายธรรม ในชื่อว่า..




     "หลักเป็นประธานของพุทธธรรม"
ไม้สามขา อาศัยกัน ขั้นเอกอุตม์
คือพระพุทธ พระธรรม แลพระสงฆ์
ศาสตรา มี สามอัน บั่นบาปลง
ดั่งประสงค์  คือศีล-สมาธิ ปัญญา

โจรฉกรรจ์ สามก๊ก ฉกปล้นดะ
ก๊กโลภะ โทสะ และโมหา
ป่ารก สามดง หลงหลับตา
ว่า "เที่ยงแท้" ว่า "สิ้นสุด" ว่า"ไม่มีอะไร"

เวียนวง สามวน ทนทุเรศ
วน "กิเลส" " กรรม " " วิบาก "ยากแก้ไข
ทุกข์ทน ทั้งสามโลก วิโยคใจ
กามวิสัย รูป-อรูป เฝ้าลูกคลำ

เขาโคก มีสามเนิน มานะรั้น
ดีกว่า เลวกว่ากัน เสมอสม่ำ
ทางห้ามเดิน สองแพร่ง แหล่งระกำ
หย่อนด้วยกาม ตึงด้วยเกียรติ ไม่เฉียดญา

ณ ตัวแมลง ห้าตัว ตอมหัวหู
นิวรณ์ห้า กวนอยู่ ไม่สุขศานต์
มารน่ากลัว ห้าตน ตามรังควาน
กิเลสขันธ์ มัจจุสังขาร มารเทวดา

บ่วงคล้องคน หกบ่วง ห่วงแห่งกาม
ที่สวยงาม ไพเราะรส จดจ่อหา
เหตุทั้งปวง หกตำแหน่ง แห่ง หู ตา
ชิวหานา สาผิวกาย และฝ่ายใจ

แหล่งอบาย สี่ขุม หลุมนรก
เดรัจฉาน เปรต-อสูร กายใหญ่
ที่ต้องคุม สามจุด ยุดให้ได้
กายวจีใจ ทั้งสามคลอง ต้องสังวร

ทางแห่ง วิมุตติ มีแปดองค์
ต้องเดินให้ ถูกตรง ดั่งตรัสสอน
วัตถุที่ พึงประสงค์ สองขั้นตอน
ไม่ทุกข์ร้อน ทั้งสองฝ่าย ในสังคม

สิบหกข้อ รู้ไว้ อย่างเหมาะสม
ประพฤติไว้ ตลอดไป ไม่ล่มจม
มีชีวิต รื่นรมย์ สมใจเอย ฯ

พุทธทาสอินทปัญโญ.