Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

รูปแบบการสร้างเครือข่ายการพัฒนาห้องสมุดและการส่งเสริมการอ่าน

รูปแบบการสร้างเครือข่ายการพัฒนาห้องสมุดและการส่งเสริมการอ่าน
               รูปแบบการสร้างเครือข่ายการพัฒนาห้องสมุดและการส่งเสริมการอ่านประกอบด้วย ๓ รูปแบบ ดังนี้
1.      รวมกลุ่มสนใจ (Community of Practice)  เช่น
·       กลุ่มครูบรรณารักษ์ห้องสมุดในอำเภอเดียวกัน
·       กลุ่มครูบรรณารักษ์ห้องสมุดในเขตพื้นที่เดียวกัน
·       กลุ่มครูที่สนใจสร้าง/พัฒนากิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
·       กลุ่มครูผู้สอนกลุ่มสาระต่างๆ ในโรงเรียนที่สนใจเรื่องการสร้างสื่อส่งเสริมการอ่านและวิธีสอนที่บูรณาการการอ่าน
·       กลุ่มยุวบรรณารักษ์ห้องสมุดกับชมรมรักการอ่าน ชุมนุมยุวบรรณารักษ์ ฯลฯ
·       อื่นๆ

2.      รวมกลุ่มหน่วยงาน (Networked Organization) เช่น
·       กลุ่มครูบรรณารักษ์โรงเรียนในเครือข่าย/เขต/อำเภอเดียวกัน
·       กลุ่มครูบรรณารักษ์โรงเรียนสังกัด สพฐ กับ กศน. /สพม./มหาวิทยาลัย ฯลฯ
·       กลุ่มโรงเรียนห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบและห้องสมุดมีชีวิตที่เป็นเครือข่าย/สมาชิก
·       กลุ่มโรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติเป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการพัฒนาห้องสมุดและด้านการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมกรรมส่งเสริมการอ่านกับกลุ่มโรงเรียนที่สมัครเป็นเครือข่าย ฯลฯ
·       กลุ่มโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาห้องสมุดเป็นกลุ่มอาสาช่วยพัฒนาโรงเรียนที่ต้องการพัฒนา ลักษณะพี่ช่วยน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นต้น
·       อื่นๆ

3.      รวมกลุ่มทางอินเทอร์เน็ตไม่เห็นตัวกัน (Virtual Community) เช่น
  กลุ่มที่ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
  กลุ่มที่ใช้ Line ในการสร้างกลุ่มติดต่อสื่อสารกัน (เป็น Application
    ที่สามารถใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์ทั่วไป
  กลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกันเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)
    เช่น Face book / Massenger   เป็นต้น
  กลุ่มที่ติดต่อและติดตามผลงานของเครือข่ายในเว็บไซต์   ใน Blog เป็นต้น






สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการประสานงานและการสร้างเครือข่าย
      การประสานงานของครูบรรณารักษ์ที่จะนำพาให้งานการสร้างเครือข่ายสำเร็จลุล่วงด้วยดีนั้นมีประเด็นที่ควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้
               1. รูปแบบการประสานงาน มี ๒ รูปแบบคือ การประสานงานนอกแบบ เป็นกิจกรรมที่ไม่มีรูปแบบแน่นอน อาจจัดทำได้ในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้การประสานงานสำเร็จด้วยดี เช่น การรับประทานอาหารร่วมกัน การพูดคุยกัน   และการประสานงานในแบบ เป็นการปฏิบัติงานตามปกติโดยวาจา หรือลายลักษณ์อักษรหรือการประชุมร่วมกัน เป็นต้น
               2. วิธีการประสานงาน ครูบรรณารักษ์ควรกำหนดแผนงานหรือโครงการขึ้นมาก่อน ให้ทุกคนหรือทุกหน่วย เข้าใจแผนงานหรือโครงการทั้งหมด  ให้ทราบว่าใครหรือหน่วยใดมีหน้าที่อะไร กำลังทำอะไรอยู่ จะช่วยเหลือกันได้อย่างไร  ตลอดจนอนาคตจะทำอะไรต่อไป โดยจัดทำแผนภูมิองค์การ (Organization Chart) และ รายละเอียดการทำงาน(Job Description) ของคนหรือหน่วยงานไว้ให้ชัดเจน ให้ทุกคน ทุกหน่วยงานเต็มใจทำงานที่ได้รับมอบหมายจริงๆ  จึงจะบังเกิดผลจริง   

การใช้ภาวะผู้นำและบุคลิกภาพของครูบรรณารักษ์ ที่ประกอบด้วย การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  มีความอดทน  มีน้ำใจให้บริการ (Sense of Service) ก็นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะงานที่มีคนทำตั้งแต่  2 คนขึ้นไปเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีความขัดแย้งในด้านความคิด  เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งสติปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม ความรู้สึกนึกคิด ความสนใจ ตลอดจนค่านิยม  หากครูบรรณารักษ์มีคุณลักษณะดังกล่าวก็เชื่อแน่ว่าจะสามารถให้การประสานงานสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี