Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แบบฝึกทักษะเพื่อแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้


ดาวน์โหลด
แบบฝึกทักษะเพื่อแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
เรื่อง สระเสียงยาว
****************************

แหล่งข้อมูล  http://www.hongpakkroo.com/476.html




ดาวน์โหลดแบบทดสอบออนไลน์
เรื่อง การเขียนสะกดคำ
**********************************


แหล่งข้อมูล  http://www.krusurin.net/index.php/4



วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

นวัตกรรมการสอนภาษาไทยชั้น ป.1-2 เรื่อง มาตราตัวสะกด



มาตราตัวสะกด - ภาษาไทย ป.2


เพลง แม่ ก กา



เพลง แม่ ก กา



มาตราตัวสะกด แม่กบ - ภาษาไทย ป.2



แม่ ก กา และ แม่ กก - ภาษาไทย ป.3


มาตราตัวสะกดแม่ กก


เพลง มาตราตัวสะกดแม่ กก



มาตราตัวสะกดแม่ กด



เพลง มาตราตัวสะกดแม่ กด



มาตราตัวสะกดแม่ กง-ภาษาไทย ชั้น ป.1


เพลง มาตราตัวสะกดแม่ กง



มาตราตัวสะกดแม่ กม- ชั้น ป.1



เพลง มาตราตัวสะกดแม่ กม



มาตราตัวสะกดแม่เกย


มาตราตัวสะกดแม่เกอว




สระโอะ สระโอ - ภาษาไทย ป.2




นวัตกรรมแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ชั้น ป.3-4



การผันอักษรกลาง สูง ต่ำ ภาษาไทย ป.3



คำเป็น-คำตาย




มาตราตัวสะกด - ภาษาไทย ป.4



เพลงประวิสรรชนีย์


คำที่ใช้ บัน บรร และ รร (ร หัน) - ภาษาไทย ป.3



ชนิดและหน้าที่ของคำนาม - ภาษาไทย ป.4


คำประวิสรรชนีย์ และไม่ประวิสรรชนีย์ - ภาษาไทย ป.3

คำที่ใช้ รร ร หัน และ บัน - ภาษาไทย ป.4





การสอนซ่อมเสริม



การสอนซ่อมเสริม

   การสอนซ่อมเสริม คือ การสอนที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนช้าให้สามารถเรียนทันเพื่อนอาจจัดการสอนเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อยๆ ก็ได้  อาจจัดได้ทั้งในเวลาเรียนและนอกเป็นเวลาเรียน และทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยนักเรียนที่เรียนดีอยู่แล้วให้มีโอกาสได้รับการเสริมความรู้เพิ่มมากขึ้น

  

ความจำเป็นและสาเหตุที่ต้องมีการสอนซ่อมเสริม
๑.   นักเรียนมีสติปัญญาแตกต่างกัน
๒.  วิธีการเรียนรู้หรือการรับรู้แตกต่างกัน
๓.  สื่อและวิธีการสอนของครูแตกต่างกัน
๔.  แรงจูงใจในการเรียนแตกต่างกัน
ฯลฯ


จุดมุ่งหมายของการสอนซ่อมเสริม

๑.    เพื่อทบทวนความรู้พื้นฐานของนักเรียน
๒.    เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการเรียนของนักเรียน
๓.    เพื่อให้นักเรียนเรียนได้ทัดเทียมเพื่อน
๔. เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาได้ตามศักยภาพของตนเอง
ฯลฯ




หลักการสอนซ่อมเสริม

๑. สำรวจข้อบกพร่องของนักเรียนเพื่อช่วยเหลือแก้ไขข้อบกพร่อง
๒.จัดบทเรียนหรือสิ่งที่ยังไม่รู้ให้เหมาะสมกับความสามารถความต้องการและความสนใจของนักเรียน
๓.ใช้สื่อการเรียนรู้และเทคนิคการสอนให้เหมาะสมกับความสามารถความสนใจของผู้เรียน
๔. กระตุ้นและให้กำลังใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความอบอุ่นและเชื่อมั่นในตนเอง  โดยยึดหลัก
                 ๔.๑  ให้ความเป็นกันเอง และสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียน
 ๔.๒  เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยเริ่มจากง่าย
         ไปหายาก
 ๔.๓  มีการยกย่องชมเชยทั้งจากวาจา พฤติกรรม และสิ่งของ
         ตามความเหมาะสม
 ๔.๔  ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานและผลการเรียนรู้  

๕.ให้นักเรียนทราบความก้าวหน้าของตนเอง  เพื่อให้เกิดความภูมิใจในความสำเร็จและส่งเสริมให้มีความพยายามยิ่งขึ้น
๖.ใช้รูปแบบการสอนที่หลากหลาย และเหมาะสมกับธรรมชาติ วัย และศักยภาพของนักเรียน
๗.ใช้วิธีการพี่สอนน้อง  เด็กเก่งช่วยเด็กอ่อน และคลินิกภาษา ฯลฯโดยมีครูดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด

  
วิธีการสอนซ่อมเสริม
 
นักเรียนสอนกันเอง
ในการสอนซ่อมเสริมผู้สอนอาจจะคัดเลือกนักเรียนเก่งให้ช่วยสอนนักเรียนที่ยังไม่บรรลุจุดประสงค์  โดยให้ช่วยสอนตัวต่อตัว หรือสอนเป็นกลุ่มย่อย  ข้อดีของการที่ให้นักเรียนสอนกันเอง  ก็คือนักเรียนใช้ภาษาแบบเดียวกัน    ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้และการใช้ถ้อยคำอธิบายของนักเรียนด้วยกัน  ย่อมจะทำให้เข้าใจง่ายกว่าภาษาที่ครูใช้และยังทำให้นักเรียนที่ช่วยสอนมีความเข้าใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น


การสอนแบบตัวต่อตัว
การสอนซ่อมเสริมแบบตัวต่อตัวระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียนเป็นวิธีที่ดีที่สุด  เพราะผู้สอนสามารถเลือกใช้ถ้อยคำหรือวิธีการได้เหมาะสมกับนักเรียน  สามารถชักจูงความสนใจของนักเรียนได้อย่างใกล้ชิด และสามารถสอนได้ตรงตามที่นักเรียนกำลังมีปัญหา  ผู้สอนนอกจากเป็นครูประจำชั้นหรือประจำวิชาแล้ว อาจเป็นครูคนอื่นก็ได้  เพราะผู้สอนจะได้ให้ความรู้แก่นักเรียนในแนวที่ต่างกัน

การสอนแบบกลุ่มย่อย
เพื่อความสะดวก  ควรจัดให้นักเรียนที่มีปัญหาเหมือนๆ กันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน กลุ่มหนึ่งประมาณ ๒ -๓ คน ผู้สอนอาจใช้วิธีสอนและให้งานสลับหมุนเวียนไปทีละกลุ่ม      เพื่อที่จะให้นักเรียนในกลุ่มได้ช่วยกันแก้ปัญหาความเข้าใจบทเรียนและร่วมมือซึ่งกันและกัน  ไม่ให้ใครรู้สึกว่ามีปมด้อยหรือปมเด่น  ผู้สอนนอกจากครูที่สอนประจำแล้วอาจจัดครูแทนหรือหมุนเวียนได้


การใช้บทเรียนสำเร็จรูป
ในกรณีที่ผู้สอนพบว่า นักเรียนมีปัญหาการเรียนในบางเรื่อง ก็อาจใช้แบบเรียนสำเร็จรูปแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อนเป็นสื่อในการเรียโดยนักเรียนแต่ละคนจะต้องอ่าน  ทำแบบฝึกหัด และตรวจคำตอบของตนเองในแบบฝึกหัดสำเร็จรูปนั้น


การให้ทำกิจกรรมเพิ่มเติม
ภายหลังการวินิจฉัยปัญหา  ถ้าพบว่านักเรียนมีความเข้าใจแล้ว  แต่สมควรได้รับการฝึกทักษะเพิ่มขึ้นอีก  ผู้สอนอาจใช้วิธีการมอบหมายงานให้ทำ  เช่น  ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม โดยจะทำที่โรงเรียนหรือที่บ้านตามความเหมาะสม


               
สมุดแบบฝึกหัดเรียนด้วยตนเอง
ลักษณะของสมุดแบบฝึกหัดเรียนด้วยตนเองคล้ายแบบเรียนสำเร็จรูป  เพราะเริ่มต้นด้วยการให้บทเรียน แล้วให้แบบฝึกหัดต่อ จากนั้นจึงเฉลยคำตอบ ลักษณะที่แตกต่างกันก็คือสมุดแบบฝึกหัดมากกว่าแบบเรียนสำเร็จรูป   เพราะมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้ทำแบบฝึกหัดเป็นการฝึกฝนทักษะให้มากยิ่งขึ้น


การเขียนคำถามเอง
โดยการมอบหมายให้นักเรียนอ่านบทเรียน แล้วเขียนคำถามจากบทเรียนนั้นลงบัตรคำ บัตรคำถาม จำนวนคำถาม แล้วแต่กำหนด  ต่อจากนั้นจึงเขียนคำตอบลงบนอีกด้านหนึ่ง  เมื่อเขียนเสร็จแล้วนักเรียนจับคู่เพื่อฝึกโดยการถามตอบ  เริ่มด้วยคำถามของตนเองเสียก่อน  ต่อจากนั้นจึงถาม-ตอบโดยใช้คำถามของเพื่อน






ขั้นตอนการสอนซ่อมเสริม

๑.   การวินิจฉัยข้อบกพร่องของนักเรียน  วิธีการที่ครูจะทราบว่า เด็กคนไหน
ได้รับการสอนซ่อมเสริมนั้น ทำได้ ๒ วิธี คือ

          ๑.๑  การวินิจฉัยอย่างเป็นแบบแผน หรือเป็นทางการ  เป็นการวินิจฉัยโดยการใช้แบบทดสอบมาตรฐาน เพื่อทดสอบทักษะแต่ละด้าน  แบบทดสอบมาตรฐานกลุ่มทักษะ (ภาษาไทย) มีที่สำนักงานทดสอบทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร และกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ  ส่วนแบบทดสอบเชาวน์ปัญญามีที่ศูนย์ โรงเรียนใดที่สนใจที่จะนำมาทดสอบนักเรียนก็ติดต่อไปยังสถานที่ดังกล่าวได้

        ๑.๒  การวินิจฉัยอย่างไม่เป็นแบบแผนหรือไม่เป็นทางการ  เป็นวิธีธรรมชาติและเป็นเทคนิคเบื้องต้น โดยการสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน  สังเกตการอ่าน การเขียน และตรวจแบบฝึกหัด  สัมภาษณ์นักเรียนโดยอ้อม  สัมภาษณ์เพื่อน ๆ และครูที่เคยสอนตลอดจนผู้ปกครองศึกษาทะเบียนประวัติและบันทึกอื่นๆ เกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น  ระเบียนสะสม เป็นต้น

๒.   จัดทำบันทึกประวัติการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล

๓.   แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม  ในกรณีที่มีนักเรียนหลายคนที่จะต้องสอนซ่อมเสริม
ให้รวบรวมนักเรียนที่จะต้องเรียนซ่อมเสริม  แล้วแบ่งออกเป็นกลุ่มตามรายวิชา
และตามปัญหาของผู้เรียน  ถ้าสามารถจัดครูสอนได้ทั่วถึงควรจัดกลุ่มย่อยที่สุด
ให้นักเรียนที่มีข้อบกพร่องเหมือนกันอยู่กลุ่มเดียวกัน

๔.การวางแผนการสอนซ่อมเสริม เมื่อวินิจฉัยผู้เรียนตลอดจนแบ่งกลุ่มผู้เรียนเรียบร้อยแล้ว  ผู้สอนควรตั้งคำถามกับตนเองเสมอว่าจะสอนอย่างไร  กับใครโดยวิธีการอย่างไร  จะใช้สื่ออะไรช่วยสอน  จะสอนเวลาใด และรู้ได้อย่างไรว่าสอนแล้วได้ผล  นั่นหมายถึงครูจะต้องจัดทำโครงการสอนซ่อมเสริม และเตรียมการสอนซ่อมเสริมก่อนที่จะลงมือสอน


๕.  ดำเนินการสอนซ่อมเสริมตามที่ได้เตรียมการสอน หรือการวางแผนการสอนเอาไว้ โดยมีแนวในการจัดสอนซ่อมเสริม ดังนี้

    ๕.๑  ช่วงเวลาในการจัดสอนซ่อมเสริม ควรทำเป็น  ๓  ระยะ คือ
                ๑)  ภายหลังการประเมินผลก่อนเรียน
                ๒)  ภายหลังการประเมินผลระหว่างเรียน
                ๓)  ภายหลังตัดสินผลการประเมิน

            ๕.๒  วิธีสอนซ่อมเสริม  มีให้เลือกหลายวิธีตามความเหมาะสมกับเด็ก    ได้แก่
          ๑)  การให้นักเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือสอนกันเอง โดย
              การจัดนักเรียนเรียนเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ ๒ - ๓  เพื่อ
              ช่วยกันแก้ไขข้อบกพร่องที่มีลักษณะเหมือนกัน  วิธีนี้เรียกว่า
              เพื่อนช่วยเพื่อนหรือพี่สอนน้อง
๒)    การสอนแบบตัวต่อตัว หรือเรียนกับครูผู้สอนประจำกลุ่มหรือ
รายบุคคล
๓)    การสอนโดยใช้แบบเรียนหรือตำราอื่น ที่มีความยากง่ายในระดับ
เดียวกัน  นักเรียนอาจจะเรียนเล่มใดเล่มหนึ่งไม่เข้าใจ  แต่เมื่ออ่าน
เล่มใหม่อาจเข้าใจกว่า
๔)   การใช้บทเรียนสำเร็จรูป สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับ
ความคิดรวบยอดและหลักการที่สำคัญ
๕)   การใช้สื่อประกอบอื่น ๆ เช่น เทปโทรทัศน์  ภาพยนตร์  เป็นการ
เพิ่มหลังจากที่วินิจฉัยแล้ว พบว่านักเรียนควรได้รับการฝึกทักษะ
เพิ่มขึ้นก็ใช้กิจกรรมฝึกทักษะเพิ่มเติม

   ๕.๓  การติดตามและประเมินผลการจัดสอนซ่อมเสริม
       การติดตามและประเมินผลการจัดสอนซ่อมเสริมเป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการ เพื่อที่จะได้ทราบว่าการจัดสอนซ่อมเสริมที่ดำเนินการนั้นได้เป็นผลที่น่าพอใจเพียงใด และมีส่วนใดบ้างที่จะต้องสอนซ่อมเสริมใหม่  วิธีการติดตามผลมีดังนี้
๑)   วัดความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนในด้านที่เด็กมีความ
บกพร่อง โดยมีการวัดผลอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะๆ
๒)   ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนในวิชาอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง
๓)   สังเกตความสนใจในการเรียน  การเข้าร่วมกิจกรรมในกลุ่มและ
สังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปว่า เป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่
เพียงใด
๔)  ใช้วิธีสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม เพื่อประเมินค่าว่ากิจกรรม
ที่ใช้น่าสนใจเพียงใด และได้ผลอย่างไร
๕)  บันทึกผลการสอนซ่อมเสริมเป็นหลักฐาน  เพื่อสะดวกต่อการ
     ตรวจสอบ




วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

นิทาน เพลง เกม สื่อแสนวิเศษสอนภาษาไทย



กิจกรรมหลักๆ
ในฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย  
ระดับประถมศึกษา

                   ๑. การร้องเพลง เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนให้น่าสนใจและสนุกสนาน  โดยเป็นเพลงที่เกี่ยวกับความรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาที่เป็นเนื้อหา/สาระของแต่ละเรื่อง
                   ๒. การเล่านิทาน เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนให้เด็กสนุกสนาน ต้องการที่จะเรียนรู้เช่น นิทานอีสป  นิทานเกี่ยวกับสัตว์  การผจญภัย  ที่เหมาะกับวัยและความสนใจของเด็ก
                   ๓. การทายปริศนาคำทาย  เพื่อให้รู้จักคิดด้วยความสนุกสนานเร้าใจ
                   ๔. การเขียนตามรอยและการขีดเส้นใต้คำ  เพื่อให้จำรูปคำสระ และ ชื่อของพยัญชนะได้
                   ๕.  การทายพยัญชนะจากภาพ  เพื่อให้จำรูปและชื่อของพยัญชนะได้
                   ๖.  การโยงเส้นคำและข้อความกับรูปภาพ เพื่อให้รู้ความหมายของคำและข้อความ
                   ๗. การประสมคำจากภาพ  เพื่อให้จำรูปพยัญชนะได้
                   ๘. การแยกส่วนประกอบของคำ  เพื่อให้รู้จักหลักเกณฑ์ของการประสมคำ
                   ๙. การเติมคำหรือข้อความในช่องว่าง  เพื่อให้รู้จักรูปและความหมายของคำและข้อความ
                   ๑๐.  การจับคู่คำและความหมาย  เพื่อให้รู้จักรูปคำและความหมาย
                   ๑๑.  การเขียนคำให้ตรงกับภาพ  เพื่อให้จำรูปคำและรู้จักสะกดคำ
                   ๑๒.  การเรียงคำเป็นประโยค  เพื่อให้รู้จักใช้คำในประโยค

                   ๑๓.  การแต่งประโยคจากภาพ  เพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์