☺รวมบทท่องอาขยานสมัยก่อน☺
ข้อคิดเตือนใจจากบทดอกสร้อย
บทอาขยานสำหรับชั้นประถมสอนให้รู้จักพฤติกรรมตามธรรมชาติของสิ่งที่อยู่รอบตัวเราทั้งคนและสัตว์
แล้วนำมาสู่คติสอนใจ พฤติกรรมตามธรรมชาติเหล่านั้น
และเมื่อแต่งเรื่องออกมาในรูปของกวีนิพนธ์ทำให้ได้ทั้งอรรถรสทางภาษา
ทั้งด้านคำและความหมาย ทำให้เรียนรู้ได้ง่าย จดจำไว้ได้นานตลอดไปโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมาก
นอกจากนั้นยังนำมาใช้เป็นบทขับร้องในวิชาขับร้องอีกด้วย
บทดอกสร้อยที่ได้เลือกสรร และประมวลมาเป็นบทเรียนมีอยู่ดังนี้
ปฐม
ก กา
นะโมข้าจะไหว้
|
วระไตรระตะนา
|
ใส่ไว้ในเกศา
|
วระบาทะมุนี
|
คุณะวะระไตร
|
ข้าใส่ไว้ในเกษี
|
เดชะพระมุนี
|
ขออย่ามีที่โทษา
|
ข้าขอยอชุลี
|
ใส่เกศีไหว้บาทา
|
พระเจ้าผู้กรุณา
|
อยู่เกศาอย่ามีภัย
|
ข้าไหว้พระสะธรรม
|
ที่ลึกล้ำคัมภีร์ใน
|
ได้ดูรู้เข้าใจ
|
ขออย่าได้มีโรคา
|
ข้าไหว้พระภิกษุ
|
ที่ได้ลุแก่โสดา
|
ไหว้พระสกินาคา
|
อะระหาธิบดี
|
ข้าไหว้พระบิดา
|
ไหว้บาทาพระชนนี
|
ไหว้พระอาจารีย์
|
ใส่เกศีไหว้บาทา
|
ข้าไหว้พระครูเจ้า
|
ครูผู้เฒ่าใส่เกศา
|
ให้รู้ที่วิชา
|
ไหว้บาทาที่พระครู
|
จะใคร่รู้ที่วิชา
|
ขอเทวามาค้ำชู
|
ที่ใดข้าไม่รู้
|
เล่าว่าดูรู้แลนา
|
ไชโยขอเดชะ
|
ชัยชนะแก่มารา
|
ระบือให้ลือชา
|
เดชะสามาไชโย
|
ไชโยขอเดชะ
|
ัชัยชนะแก่โลโภ
|
โทโสแลโมโห
|
อย่าโลเลโจ้เจ้ใจ
|
กุมาระกุมารี
|
ตะรุณีย์ที่เยาว์ไว
|
จะฬ่อพอเข้าใจ
|
ให้รู้จำคำวาที
|
ว่าไว้ใน ก กา
|
ก ข ขา อา อิ อี
|
ว่าไว้ในเท่านี้
|
ที่พอได้ใน ก กา
|
แต่พอให้รู้เล่า
|
ที่ผู้เขลาเยาวะพา
|
ได้ดูรู้แลนา
|
กุมาราตะรุณี
|
จะใคร่ได้รู้ธำม์
|
ที่ลึกล้ำจำไว้ดี
|
ได้แน่แต่เท่านี้
|
ดีจำเอาเบาใจครู
|
จะว่าแต่ฬ่อฬ่อ
|
ว่าแต่พอฬ่อใจดู
|
ว่าไว้ได้พอรู้
|
ดูว่าเล่าเอาใจใส่
|
แม่ไก่อยู่ในตะกร้า
แม่ไก่อยู่ในตะกร้า
|
ไข่ๆ มาสี่ห้าใบ
|
อีแม่กาก็มาไล่
|
อีแม่ไก่ไล่ตีกา
|
หมาใหญ่ก็ไล่เห่า
|
หมูในเล้าแลดูหมา
|
ปูแสมแลปูนา
|
และปูม้าปูทะเล
|
เต่านาและเต่าดำ
|
อยู่ในน้ำกับจระเข้
|
ปลาทูอยู่ทะเล
|
ปลาขึ้เหร่ไม่สู้ดี
|
แม่นกกาเหว่าเอย
แม่นกกาเหว่าเอย
|
ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก
|
แม่กาก็หลงรัก
|
คิดว่าลูกในอุทร
|
คาบเอาข้าวมาเผื่อ
|
คาบเอาเหยื่อมาป้อน
|
ถนอมไว้ในรังนอน
|
ซ่อนเหยื่อมาให้กิน
|
ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล
|
พ่อแม่จะสอนบิน
|
ีแม่กาพาไปกิน
|
ที่ปากน้ำพระคงคา
|
ตีนเจ้าก็เหยียบสาหร่าย
|
ปากก็ไซร้หาปลา
|
กินกุ้งแลกินกั้ง
|
กินหอยกระพังแมงดา
|
กินแล้วก็โผมา
|
จับที่ต้นหว้าโพธิ์ทอง
|
ยังมีนายพราน
|
เที่ยวเยี่ยมๆ มอง
|
ยกปืนขึ้นส่อง
|
จ้องเอาแม่กาดำ
|
ตัวหนึ่งนั้นว่าจะต้ม
|
อีกตัวหนึ่งนั้นว่าจะยำ
|
กินนางแม่กาดำ
|
ค่ำวันนี้อุแม่นา
|
สัตว์สวย ป่างาม
เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน
|
เหมือนอย่างนางเชิญ
|
พระแสงสำอางข้างเคียง
|
|
เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง
|
เริงร้องซ้องเสียง
|
สำเนียงน่าฟังวังเวง
|
|
กลางไพรไก่ขันบรรเลง
|
ฟังเสียงเพียงเพลง
|
ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง
|
|
ยูงทองร้องกระโต้งโห่งดัง
|
เพียงฆ้องกลองระฆัง
|
แตรสังข์กังสดารขานเสียง
|
|
กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง
|
พญาลอคลอเคียง
|
แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง
|
|
ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง
|
เพลินฟังวังเวง
|
อีเก้งเริงร้องลองเชิง
|
|
ฝูงละมั่งฝังดินกินเพลิง
|
ค่างแข็งแรงเริง
|
ยืนเบิ่งบึ้งหน้าตาโพลง
|
|
ป่าสูงยูงยางช้างโขลง
|
อึงคะนึงผึงโผง
|
โยงกันเล่นน้ำคล่ำไป
|
อย่าเกียจคร้านการเรียน
อย่าเกียจคร้านการเรียนเร่งอุตส่าห์
|
มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน
|
จะตกถิ่นฐานใดคงไม่แคลน
|
ถึงคับแค้นก็พอยังประทังตน
|
อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว
|
แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล
|
อาจจะชักเชิดชูฟูสกนธ์
|
ถึงคนจนพงศ์ไพร่คงได้ดี
|
เกิดเป็นชายชาวสยามตามวิสัย
|
หนังสือไทยก็ไม่รู้ดูบัดสี
|
ต้องอับอายขายหน้าทั้งตาปี
|
ถึงผู้ดีก็คงด้อยถอยตระกูล
|
จะต่ำเตี้ยเสียชื่อว่าโฉดช้า
|
จะชักพายศลาภให้สาบสูญ
|
ทั้งขายหน้าญาติวงศ์พงศ์ประยูร
|
จะเพิ่มพูนติฉินคำนินทา
|
หนึ่งหนังสือหรือตำรับฉบับบท
|
เป็นของล้วนควรจดจำศึกษา
|
บิดาปู่สู้เสาะสะสมมา
|
หวังให้บุตรนัดดาได้ร่ำเรียน
|
จะได้ทราบบาปบุญทั้งคุณโทษ
|
ปะบุตรโฉดต่ำช้าก็พาเหียร
|
ไม่สมหวังดังบิดาปู่ตาเพียร
|
เนิ่นจำเนียรแพลงพลัดกระจัดกระจาย
|
วิชาเหมือนสินค้า
วิชาเหมือนสินค้า
|
อันมีค่าอยู่เมืองไกล
|
ต้องยากลำบากไป
|
จึงจะได้สินค้ามา
|
จงตั้งเอากายเจ้า
|
เป็นสำเภาอันโสภา
|
ความเพียรเป็นโยธา
|
แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ
|
นิ้วเป็นสายระยาง
|
สองเท้าต่างสมอใหญ่
|
ปากเป็นนายงานไป
|
อัชฌาศัยเป็นเสบียง
|
สติเป็นหางเสือ
|
ถือท้ายเรือไว้ให้เที่ยง
|
ถือไว้อย่าให้เอียง
|
แล่นเลาะเลี่ยงข้ามคงคา
|
ปัญญาเป็นกล้องแก้ว
|
ส่องดูแถวแนวหินผา
|
เจ้าจงเอาหูตา
|
เป็นล้าต้าฟังดูลม
|
ขี้เกียจคือปลาร้าย
|
จะทำลายให้เรือจม
|
เอาใจเป็นปืนคม
|
ยิงระดมให้จมไป
|
จึงจะได้สินค้ามา
|
คือวิชาอันพิสมัย
|
จงหมั่นมั่นหมายใจ
|
อย่าได้คร้านการวิชา
|
ระฆังดังเหง่งหง่าง
ระฆังดังเหง่งหง่าง
|
ฆ้องใหญ่กว้างดังหึ่ง ๆ
|
กลองหนังดังตึง ๆ
|
ตึกระดึงดังกริ่ง ๆ
|
นักเลงร้องเพลงพลาง
|
ตรงหน้าต่างไขว่ห้างหยิ่ง
|
เอาหลังนั่งเอนอิง
|
มือถือฉิ่งตีดัง ดัง
|
เด็ก เด็ก อย่าใหลหลง
|
ดูเรื่อง กง กอ กา บ้าง
|
ดูไปตั้งใจฟัง
|
เบื้องหน้ายังจะว่ากฎ
|
นาฬิกา
จงเทียบเปรียบเอาว่า
|
เราเป็นนาฬิกาเอง
|
เข็มบ่งชี้ตรงเผง
|
พึงเพ่งไว้ให้ทุกวัน
|
ย่ำรุ่งสะดุ้งตื่น
|
วางหน้าชื่นลุกขึ้นพลัน
|
อาบน้ำชำระฟัน
|
หมดโสมมผมเผ้าหวี
|
โมงเช้าเฝ้าแต่งตัว
|
เครื่องเรียนทั่วทุกอย่างมี
|
เตรียมไปให้ทันที
|
ที่เพื่อนเราเข้าเรียนกัน
|
ตอนบ่ายหมายสิบห้า
|
นาฬิกาเลิกมาพลัน
|
ถึงเหย้าเราขยัน
|
หยิบงานทำโดยจำนง
|
กิจวัตรประจำวันของนักเรียน
เราต้องตื่นขึ้นล้างหน้าเวลาเช้า
|
พันผมเฝ้าพึงชำระให้สะอาด
|
เราจงทำหน้าที่กระวีกระวาด
|
ไม่ต้องคาดคั้นเตือนเรื่องเรือนชาน
|
แล้วรีบไปให้ทันโรงเรียนเข้า
|
เลิกแล้วเรามุ่งหน้ากลับมาบ้าน
|
ช่วยพ่อแม่เก็บงำและทำงาน
|
ว่างก็อ่านคัดเขียนเล่าเรียนเอย
|
กิจวัตรประจำวันของเด็กนักเรียน
ทำเทียบเปรียบเอาว่า เราเป็นนาฬิกาเอง
|
เข็มบ่งชี้ตรงเผง และราบรื่นทุกคืนวัน
|
ย่ำรุ่งสะดุ้งตื่นโดยแช่มชื่นลุกขึ้นพลัน
|
อาบน้ำชำระฟัน ขัดโสมมผมเผ้าหวี
|
โมงเช้าเข้าแต่งตัว เครื่องเรียนทั่วทุกอย่างมี
|
เตรียมไปให้ทันที ที่พวกเราเข้าเรียนกัน
|
ตอนบ่ายหมายสิบหน้า นาฬิกามุ่งมาพลัน
|
ถึงเหย้าเราขยัน หยิบงานทำโดยจำนงค์
|
ว่าด้วยช่วยแม่พ่อ สิบเจ็ด น พอแล้วลง
|
อาบน้ำค่ำแล้วจง ฟื้นความรู้ที่ครูสอน
|
เล่าเรียนเขียนอ่านพอ ยี่สิบ น ก็เข้านอน
|
ข้อคำนึงถึงประเทศ
สยามงามอุดม ดินดีสม เป็นนาสวน
|
เพื่อนรักเราชักชวน ร่วมช่วยกัน มุ่งหมั่นทำ
|
วิชาต้องอาศัย เป็นหลักได้ ใช้ช่วยนำ
|
ให้รู้สู่ทางจำ ค้นคว้าไว้ ให้มากมาย
|
ช่วยกันอย่างขันแข็ง ด้วยลำแข้ง ลงแรงกาย
|
ทำไปไม่เสียดาย แม้อาบเหงื่อ เพื่อแลกงาน
|
ดั่งนี้มั่งมีแท้ ร่มเย็นแน่ หาไหนปาน
|
โลกเขาคงเล่าขาน ถิ่นสยาม นี้งามเอย
|
แนวทางดำเนินชีวิต
ในวัยเด็กเล็กอยู่จงรู้ว่า
|
เรียนวิชาชั้นต้นจนจบสิ้น
|
แล้วเลือกเรียนวิชาเชิงหากิน
|
ให้ถูกถิ่นถูกเวลาถูกท่าที
|
เมื่อโตไปได้ครองของทั้งสิ้น
|
ทั่วทุกสิ่งที่มีในถิ่นที่
|
รู้จักกินรู้จักใช้เก็บให้ดี
|
เมื่อแก่มีเจ็บไข้ได้ใช้เอย
|
การฝึกตนให้เป็นคนดี
เราต้องปองฝึกฝนตนให้ตนเป็นคนดี
|
โดยข้อย่อ ๆ มีที่น่าจำควรคำนึง
|
หนึ่งนั้นคือหมั่นนึกน้อมรู้สึกระลึกถึง
|
พ่อแม่แลเราพึงรักลึกซึ้งสุดวันตาย
|
สองให้ใจโอนอ่อนหวังว่านอนสอนง่ายดาย
|
ฟังเชื่อผู้เชื้อสายเช่นยายย่าปู่ตาตน
|
สามจำทำให้ผู้รักเอ็นดูทุกหมู่ชน
|
ชมเห็นว่าเป็นคนมีกิริยาวาจาดี
|
สี่นี้มีใจหนักเยือกเย็นนักรู้จักมี
|
ัยับยั้งรั้งไว้ที่ไม่ใจน้อยคอยแต่ฉุน
|
ห้าให้มีใจเผื่อแผ่เอื้อเฟื้อและเจือจุน
|
กอบเกื้อเอื้ออุดหนุนเนื่องน้อมนำเหนี่ยวน้ำใจ
|
หกหรือคือรอบคอบระมัดรอบระวังไว
|
ก่อนจะทำอะไรให้คิดดูจนรู้ดี
|
เจ็ดนี้มีใจหวังในสิ่งดั่งตั้งใจมี
|
มุ่งไว้ไม่หน่ายหนีทำเต็มที่มิหวาดหวั่น
|
แปดจะละหลบชั่วห่างจากตัวไม่พัวพัน
|
สิ่งเล่นเป็นพนันหลีกแม่นมั่นหมั่นเก็บออม
|
เก้าให้ใส่ใจคือเราต้องซื่อชื่อจึงหอม
|
คนชอบนิยมยอมวางใจย่อมนอบน้อมเอย
|
จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า
จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า
|
ขอข้าวขอแกง
|
ขอแหวนทองแดง
|
ผูกมือน้องข้า
|
ขอช้างขอม้า
|
ให้น้องข้าขี่
|
ขอเก้าอี้ ให้น้องข้านั่ง
|
ขอเตียงตั้ง ให้น้องข้านอน
|
ขอละคร ให้น้องข้าดู
|
ขอยายชู เลี้ยงน้องข้าเถิด
|
ขอยายเกิด เลี้ยงตัวข้าเอง
|
สระใอไม้ม้วน
ผู้ใหญ่ หาผ้าใหม่
ให้สะใภ้ ใช้คล้องคอ
|
ใฝ่ใจ เอาใส่ห่อ มิหลงใหล
ใครขอดู
|
จักใคร่ ลงเรือใบ ดูน้ำใส
และปลาปู
|
สิ่งใด อยู่ในตู้ มิใช่อยู่
ใต้ตั่งเตียง
|
บ้าใบ้ ถือใยบัว หูตามัว มาใกล้เคียง
|
เล่าท่อง อย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วน จำจงดี
|
อย่าเกียจคร้าน
อย่าเกียจคร้านการเรียนเร่งอุตส่าห์ มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน
จะตกถิ่นฐานใดคงไม่แคลน ถึงคับแค้นก็พอยังประทังตน
อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล
ถึงลำบากตรากตรำก็จำทน เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย
จะตกถิ่นฐานใดคงไม่แคลน ถึงคับแค้นก็พอยังประทังตน
อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล
ถึงลำบากตรากตรำก็จำทน เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย
เด็กน้อย
เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
|
ความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา
|
เมื่อเติบใหญ่เราจะได้มีวิชา
|
เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน
|
ได้ประโยชน์หลายสถานเพราะการเรียน
|
จงพากเพียรไปเถิดจะเกิดผล
|
ถึงลำบากตรากตรำก็จำทน
|
เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย ฯ
|
ร้องลำฝรั่งรำเท้า
|
แมวเหมียว
แมวเอ๋ยแมวเหมียว
|
รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา
|
ร้องเรียกเหมียวเหมียวเดี๋ยวก็มา
|
เคล้าแข้งเคล้าขาน่าเอ็นดู
|
รู้จักเอารักเข้าต่อตั้ง
|
ค่ำค่ำซ้ำนั่งระวังหนู
|
ควรนับว่ามันกตัญญู
|
พอดูอย่างไว้ใส่ใจเอย ฯ
|
นายทัด เปรียญ แต่ง ร้องรำแขกบริเทศ
|
ตั้งไข่
ตั้งเอ๋ยตั้งไข่
|
จะตั้งใยไข่กลมก็ล้มสิ้น
|
ถึงว่าไข่ล้มจะต้มกิน
|
ถ้าตกดินเสียก็อดหมดฝีมือ
|
ตั้งใจเรานี้จะดีกว่า
|
อุตส่าห์อ่านเขียนเรียนหนังสือ
|
ทั้งวิชาสารพัดเพียรหัดปรือ
|
อย่าดึงดื้อตั้งไข่ร่ำไรเอย ฯ
|
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ ร้องรำลมพัดชายเขา
|
ซักส้าว
ซักเอ๋ยซักส้าว
|
ผลมะนาวทิ้งทานในงานศพ
|
เข้าแย่งชิงเหมือนสิ่งไม่เคยพบ
|
ไม่น่าคบเลยหนอพวกขอทาน
|
ดูประหนึ่งขัดสนจนปัญญา
|
มีทางหากินได้หลายสถาน
|
ประหลาดใจเหตุไฉนไม่ทำงาน
|
ประกอบการอาชีพที่ดีเอย ฯ
|
ร้องรำสารถีชักรถ
|
ตุ๊ดตู่
ตุ๊ดเอ๋ยตุ๊ดตู่
|
ในเรี่ยวในรูช่างอยู่ได้
|
ขี้เกียจนักหนาระอาใจ
|
มาเรียกให้กินหมากไม่อยากคบ
|
ชาติขี้เกียจเบียดเบียนแต่เพื่อนบ้าน
|
การงานแต่สักนิดก็คิดหลบ
|
ตื่นเช้าเราควรหมั่นประชันพลบ
|
ไม่ขอคบขี้เกียจเกลียดนักเอย ฯ
|
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ ร้องลำวิลันตาโอด
|
นกกิ้งโครง
นกเอ๋ยนกกิ้งโครง
|
หลงเข้าโพรงนกเอี้ยงเถียงเจ้าของ
|
อ้อยอี๋เอียงอ้อยอี๋เอียงส่งเสียงร้อง
|
เจ้าของเขาว่าหน้าไม่อาย
|
แต่นกยังรู้ผิดรัง
|
นักปราชญ์รู้พลั้งไม่แม่นหมาย
|
แต่ผิดรับผิดพอผ่อนร้าย
|
ภายหลังจงระวังอย่าพลั้งเอย ฯ
|
พระยาพินิจสารา (ทิม) แต่ง ร้องลำนกกระจอกทอง
|
เรือเล่น
คเรือเอ๋ยเรือเล่น
|
สามเส้นเศษวาไม่น่าล่ม
|
ฝีพายลงเต็มลำจ้ำตะบม
|
ไปขวางน้ำคล่ำจมลงกลางวน
|
ทำขวาง ๆ รีรีไม่ดีหนอ
|
เที่ยวขัดคอขัดใจไม่เป็นผล
|
จะก่อเรื่องเคืองข้องหมองกมล
|
เกิดร้อนรนร้าวฉานรำคาญเอย ฯ
|
นายทัด เปรียญ แต่ง ร้องลำตวงพระธาตุ
|
นกเอี้ยง
นกเอ๋ยนกเอี้ยง
|
คนเข้าใจว่าเจ้าเลี้ยงซึ่งควายเฒ่า
|
แต่นกเอี้ยงนั้นเลี่ยงทำงานเบา
|
แม้อาหารก็ไปเอาบนหลังควาย
|
เปรียบเหมือนคนทำตนเป็นกาฝาก
|
รู้มากเอาเปรียบคนทั้งหลาย
|
หนีงานหนักคอยสมัครงานสบาย
|
จึงน่าอายเพราะเอาเยี่ยงนกเอี้ยงเอย ฯ
|
ร้องลำแขกไซ
|
ไก่แจ้
ไก่เอ๋ยไก่แจ้
|
ถึงยามขันขันแซ่กระชั้นเสียง
|
โก่งคอเรื่อยร้องซ้องสำเนียง
|
ฟังเพียงบรรเลงวังเวงดัง
|
ถ้าตัวเราเหล่านี้หมั่นนึก
|
ถึงคุณครูผู้ฝึกสอนสั่ง
|
ไม่มากนักสักวันละสองครั้ง
|
คงตั้งแต่สุขทุกวันเอย ฯ
|
หม่อมเจ้าประภากร ทรงแต่ง ร้องลำนางนาค
|
จ้ำจี้
จ้ำเอ๋ยจ้ำจี้
|
เพ้อเจ้อเต็มทีไม่มีผล
|
ดอกเข็มดอกมะเขือเจือระคน
|
สับสนเรื่องราวยาวสุดใจ
|
เขาจ้ำแจวจ้ำพายเที่ยวขายของ
|
เร่ร้องตามลำแม่น้ำไหล
|
ชอบรีบแจวรีบจ้ำหากำไร
|
จ้ำทำไมจ้ำจี้ไม่ดีเอย ฯ
|
นายทัด เปรียญ แต่ง ร้องลำลิ้นลากระทุ่ม
|
กาดำ
กาเอ๋ยกาดำ
|
รู้จำรู้จักรักเพื่อน
|
ได้เหยื่อเผื่อแผ่ไม่แชเชือน
|
รีบเตือนพวกพ้องร้องเรียกมา
|
ต่างกลุ้มรุมล้อมพร้อมพรัก
|
น่ารักน้ำใจกระไรหนา
|
การเผื่อแผ่แน่ะพ่อหนูจงดูกา
|
มันโอบอารีรักดีนักเอย ฯ
|
นายแก้ว แต่ง ร้องลำขิมเล็ก
|
แมงมุม
แมงเอ๋ยแมงมุม
|
ขยุ้มหลังคาที่อาศัย
|
สั่งสอนลูกรักให้ชักใย
|
ลูกไกลไม่ทำต้องจำตี
|
ได้ความเจ็บแค้นแสนสาหัส
|
เพราะขืนขัดถ้อยคำแล้วซ้ำหนี
|
เด็กเอ๋ยเจ้าอย่าเป็นดังเช่นนี้
|
สิ่งไม่ดีครูว่าอย่าทำเอย ฯ
|
หลวงประชุมบรรณสาร (พิณ) แต่ง ร้องลำบทร้องไห้
|
กะเกย
กะเอ๋ยกะเกย
|
อย่าละเลยกุ้งไม้ไว้จนเหม็น
|
มากินข้าวเถิดนะเจ้าข้าวจะเย็น
|
ไปมัวเล่นอยู่ทำไมใช่เวลา
|
ถ้าถึงยามกินนอนผ่อนผัดนัก
|
ก็ขี้มักเจ็บไข้ไม่แกล้งว่า
|
จะท้องขึ้นท้องพองร้องระอา
|
ต้องกินยาน้ำสมอขื่นคอเอย
ฯ
|
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงนิพนธ์ ร้องลำตะนาว
|
มดแดง
มดเอ๋ยมดแดง
|
เล็กเล็กเรี่ยวแรงแข็งขยัน
|
ใครกล้ำกลายมาทำร้ายถึงรังมัน
|
ก็วิ่งพรูกรูกันมาทันที
|
สู้ได้หรือมิได้ใจสาหัส
|
ปากกัดก้นต่อยไม่ถอยหนี
|
ถ้ารังเราใครกล้ามาราวี
|
ต้องต่อตีทรหดเหมือนมดเอย ฯ
|
นายทัด เปรียญ แต่ง รำลำพัดชา
|
ตุ๊กแก
ตุ๊กเอ๋ยตุ๊กแก
|
ตับแก่แซ่ร้องกึกก้องบ้าน
|
เหมือนเตือนให้งูรู้อาการ
|
น่ารำคาญเสียแท้ ๆ แส่จริงจริง
|
อันความลับเหมือนกับตับที่ลับแน่
|
อย่าตีแผ่ให้กระจายทั้งชายหญิง
|
ที่ควรปิดปิดไว้อย่าไหวติง
|
ที่ควรนิ่งนิ่งไว้ในใจเอย ฯ
|
นายทัด เปรียญ แต่ง ร้องลำสะสม
|
กระต่าย
กระเอ๋ยกระต่าย
|
มุ่งหมายเสาะหาแต่อาหาร
|
เผลอนิดติดแร้วดักดาน
|
ลนลานเชือกรัดมัดต้นคอ
|
จะทำการสิ่งไรให้พินิจ
|
อย่าคิดแต่ละโมบโลภลาภหนอ
|
เห็นแต่ได้ไขว่คว้าไม่รารอ
|
จะยื่นคอเข้าแร้วยายแก้วเอย ฯ
|
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์นิภาธร ทรงนิพนธ์ ร้องลำตะลุ่มโปง
|
โพงพาง
โพงเอ๋ยโพงพาง
|
ทอดขวางตามลำแม่น้ำไหล
|
มัจฉาตาบอดลอดเข้าไป
|
ติดอยู่ในข่ายขึงตรึงตรา
|
ตาบอดอยู่ประสาตัวตาบอด
|
อย่าทำสอดตาเห็นเช่นว่า
|
ควรเสงี่ยมเจียมพักตร์รักกายา
|
อวดฉลาดพลาดท่าพาจนเอย ฯ
|
เจ้าการะเกด
เจ้าเอ๋ยเจ้าการะเกด
|
ขี่ม้าเทศถือกฤชจิตเจ้ากล้า
|
คอยระวังไพรีจะมีมา
|
การรักษาหน้าที่ดีสุดใจ
|
อันถิ่นฐานบ้านช่องต้องรักษา
|
หมั่นตรวจตราเย็นเช้าเอาใจใส่
|
อย่าเลินเล่อเผลอพลั้งระวังภัย
|
ถ้าหากใครมัวประมาทมักพลาดเอย ฯ
|
นายทัด เปรียญแต่ง ร้องลำม้าย่อง
|
โมเย
โมเอ๋ยโมเย
|
ไปทะเลเมาคลื่นฝืนไม่ไหว
|
ให้อ่อนจิตอาเจียนวิงเวียนไป
|
พักอาศัยจอดนอนก็ผ่อนคลาย
|
อันเมาเหล้าเมายามักพาผิด
|
และพาติดตนอยู่ไม่รู้หาย
|
จะเลื่องลือชื่อชั่วจนตัวตาย
|
อย่าเมามายป่นปี้ไม่ดีเอย ฯ
|
นายแก้ว แต่ง ร้องลำจีนดาวดวงเดียว
|
เท้งเต้ง
เท้งเอ๋ยเท้งเต้ง
|
คว้างเคว้งอยู่ในลำแม่น้ำไหล
|
ไม่มีเจ้าของปกครองไป
|
ต้องลอยตามน้ำไปโคลงเคลง
|
เหมือนใครลอยโลเลไม่ยุดหลัก
|
คนขี้มักกลุ่มรุมกันคุมเหง
|
ต่อความดีป้องตนคนจึงเกรง
|
อย่าเท้งเต้งมดตะนอยจะต่อยเอย ฯ
|
นายทัด เปรียญ แต่ง ร้องลำล่องเรือ
|
นกเขา
นกเอ๋ยนกเขา
|
ขันแต่เช้าหลายหนไปจนเที่ยง
|
สามเส้ากุกแกมแซมสำเนียง
|
เสนาะเสียงเพียงจะรีบงีบระงับ
|
อันมารดารักษาบุตรสุดถนอม
|
สู้ขับกล่อมไกวเปลเห่ให้หลับ
|
พระคุณท่านซาบซึมอย่าลืมลับ
|
หมั่นคำนับค่ำเช้านะเจ้าเอย ฯ
|
พระยาพินิจสารา (ทิม) แต่ง ร้องลำเทพชาตรี
|
จันทร์เจ้า
จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า
|
ใครขอข้าวขอแกงท้องแห้งหนอ
|
ร้องจนเสียงแห้งแหบถึงแสบคอ
|
จันทร์จะขอให้เราก็เปล่าดาย
|
ยืมจมูกท่านหายใจเห็นไม่คล่อง
|
จงหาช่องเลี้ยงตนเร่งขวนขวาย
|
แม้นเป็นคนเกียจคร้านพานกรีดกราย
|
ไปมัวหมายจันทร์เจ้าอดข้าวเอย ฯ
|
นายทัด เปรียญ แต่ง ร้องลำพราหมณ์ดีดน้ำเต้า
|
ช้างพลาย
ช้างเอ๋ยช้างพลาย
|
ร่างกายกำยำล่ำสัน
|
กินไผ่ใบดกตกมัน
|
ดุดันโดยหมายว่ากายโต
|
มนุษย์น้อยนักหนายังสามารถ
|
เอาเชือกบาศคล้องติดด้วยฤทธิ์โง่
|
อย่าถือดีดังช้างทำวางโต
|
จะยืนโซติดปลอกไม่ออกเอย
ฯ
|
นายแก้ว แต่ง ร้องลำชมดงนอกสามชั้น
|
จุ๊บแจง
จุ๊บเอ๋ยจุ๊บแจง
|
เจ้ามีแรงควักข้าวเปียกให้ยายหรือ
|
เห็นจะเป็นแต่เขาเล่าลือ
|
จะยึดถือเอาเป็นจริงยังกริ่งใจ
|
ความเลื่องลือต่อต่อก่อให้วุ่น
|
อย่าเพ่อฉุนเชื่อนักมักเหลวไหล
|
ควรฟังหูไว้หูดูดูไป
|
พกหินไว้มีคุณกว่านุ่นเอย ฯ
|
หลวงประสิทธิ์อักษรสาร (เทศ) แต่ง ร้องลำลองเรือ พระนคร
|
ดุเหว่า
ดุเอ่ยดุเหว่า
|
ฝีปากเจ้าเหลือเอกวิเวกหวาน
|
ผู้ใดฟังวังเวงบรรเลงลาญ
|
น่าสงสารน้ำเสียงเจ้าเกลี้ยงกลม
|
เป็นมนุษย์สุดดีก็ที่ปาก
|
ถึงจนยากพูดจริงทุกสิ่งสม
|
ไม่หลอนหลอกปลอกปลิ้นด้วยลิ้นลม
|
คนคงชมว่าเพราะเสนาะเอย ฯ
|
นายแก้ว แต่ง ร้องลำเขมรใหญ่
|
นกกระจาบ
นกเอ๋ยนกกระจาบ
|
เห็นใบพงลงคาบค่อยเพียรขน
|
มาสอดสอยด้วยจงอยปากของตน
|
ราวกับคนช่างพินิจคิดทำรัง
|
ช่างละเอียดเสียดสลับออกซับซ้อน
|
อยู่พักร้อนนอนร่มได้สมหวัง
|
แม้นทำการหมั่นพินิจคิดระวัง
|
ให้ได้ดังนกกระจาบไม่หยาบเอย ฯ
|
นายทัด เปรียญ แต่ง ร้องลำตะลุ่มโปง
|
หนูหริ่ง
หนูเอ๋ยหนูหริ่ง
|
ไววิ่งซ่อนซุกกุกกัก
|
ค้อนทับกับแจ้แย่ตารัก
|
เพราะชั่วนักไม่น่าจะปราณี
|
จะกินได้หรือมิได้ก็ไม่ว่า
|
ชั้นผ่อนผ้ากัดค้นจนป่นปี้
|
ทำสิ่งใดใช่ประโยชน์แม้นโทษมี
|
เป็นไม่ดีอย่าทำจงจำเอย ฯ
|
นายแก้ว แต่ง ร้องลำจีนขวัญอ่อน
|
โอละเห่
โอเอ๋ยโอละเห่
|
คิดถ่ายเทตื่นนอนแต่ก่อนไก่
|
ทำขนมแชงม้าหากำไร
|
เกิดขัดใจกันในครัวทั้งผัวเมีย
|
ผัวตีเมียเมียด่าท้าขรม
|
ลืมขนมทิ้งไว้ไม่คนเขี่ย
|
ก้นหม้อเกรียมไหม้ไฟลวกเลีย
|
ขนมเสียเพราะวิวาทขาดทุนเอย ฯ
|
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ ร้องลำจีนต่อยหม้อ
|
ลิงลม
ลิงเอยลิงลม
|
ไฉนอมข้าวพองตรองไม่เห็น
|
ลิงก็มีฟันเขี้ยวเคี้ยวก็เป็น
|
มาอมนิ่งเล่นเล่นไม่เห็นควร
|
แม้ทำการสิ่งใดไม่ตลอด
|
มาท้อทอดกลางคันคิดหันหวน
|
ทำโอ้โอ้เอ้เอ้ลงเรรวน
|
คนจะสรวลบัดสีไม่ดีเอย
ฯ
|
นายทัด เปรียญ แต่ง ร้องลำสมิงทองมอญ
|
อิ่มก่อน
อิ่มเอ๋ยอิ่มก่อน
|
รีบจะไปดูละครโขนหนัง
|
ทิ้งสำรับคับค้อนไว้รุงรัง
|
เหมาคนอิ่มทีหลังให้ล้างชาม
|
การเฝ้าเอาเปรียบกันอย่างนี้
|
มิดีหนอเจ้าฟังเราห้าม
|
คบเพื่อนฝูงจงอุตส่าห์พยายาม
|
รักษาความสามัคคีจะดีเอย
ฯ
|
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ ร้องลำสระบุหร่งนอก
|
ซุ่มมรดี
ซุ่มเอ๋ยซุมมรดี
|
จะเสียทีก็เพราะเพลินจนเลินเล่อ
|
ระวังตนอย่าเป็นคนเผลอเรอ
|
ระวังพูดอย่าให้เพ้อถึงความใน
|
แม้นใครไม่ระวังตั้งเป็นหลัก
|
เดินก็มักพลาดพื้นลื่นไถล
|
พูดก็มักพร่ำเผลอเพ้อเจ้อไป
|
ระวังไว้เป็นทุนแม่คุณเอย
ฯ
|
นายทัด เปรียญ แต่ง ร้องลำช้างประสานงา
|
ปากเป็นเอกเลขเป็นโท
ปากเป็นเอกเหมือนเสกมนต์ใช้คนเชื่อ
|
ฉลาดเหลือวาจาปรีชาฉาน
|
จะกล่าวถ้อยร้อยคำไม่รำคาญ
|
เป็นรากฐานเทิดตนพ้นลำเค็ญ
|
เลขเป็นโทโบราณท่านสั่งสอน
|
เร่งสังวรเวี่ยไว้ใช้ว่าเล่น
|
การคำนวณควรชำนาญคูณหารเป็น
|
ช่วยให้เด่นดีนักหนารู้ค่าคน
|
หนังสือเป็นตรีวิชาปัญญาเลิศ
|
เรียนไปเถิดรู้ไว้ไม่ไร้ผล
|
ยามยากแค้นแสนคับไม่อับจน
|
ได้เลี้ยงตนด้วยวิชาหาทรัพย์ทวี
|
ชั่วดีเป็นตราประทับไว้กับโลก
|
ยามวิโยคชีพยับลับร่างหนี
|
ที่สูญแท้ก็แต่ตัวก็แต่ตัวส่วนชั่วดี
|
คงที่เป็นลือทั่วชั่วฟ้าดิน
|
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
เราเกิดมาทั้งทีชีวิตหนึ่ง
|
อย่าหมายพึ่งผู้ใดให้เขาหยัน
|
ควรคะนึงพึ่งตนทนกัดฟัน
|
คิดบากบั่นตั้งหน้ามานะนำ
|
กสิกิจพณิชยการงามมีเกียรติ
|
อย่าหยามเหยียดพาลหาว่างานต่ำ
|
หรือจะชอบวิชาอุตสาหกรรม
|
เชิญเลือกทำตามถนัดอย่าผลัดวัน
|
เอาดวงใจเป็นทุนหนุนนำหน้า
|
เอาปัญญาเป็นแรงมุ่งแข่งขัน
|
เอาความเพียรเป็นยานประสานกัน
|
ผลจะบรรลุสู่ประตูชัย
|
เงินและทองกองอยู่ประตูหน้า
|
คอยเปิดอ้ายิ้มรับไม่ขับไส
|
ทรัพย์ในดินสินในน้ำออกคล่ำไป
|
แหลมทองไทยพร้อมจะช่วย
อำนวยเอย ฯ
|