Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้..บูรณาการการอ่านในกลุ่มสาระภาษาไทยและศิลปะ












หน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการการอ่านในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและศิลปะ
โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน    อำเภอ เมืองเชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑  
ปีการศึกษา ๒๕๕๕
----------------------------------------------------------------------------------------------

๑.ชื่อหน่วยบูรณาการ  "สุนทรภู่" บรมครูกลอนสอนชีวิต
๒.ชื่อผู้รับผิดชอบ นางกาญจน์ณภัทร  ปัญญาโกญ และนายวิทยา  บุญยะมหา
๓.ตำแหน่ง         ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้น ม.๑-๓
๔.ระยะเวลา       ๒๕-๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๕
๕.สาระการเรียนรู้/มาตรฐาน/ตัวชี้วัด (กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักที่ใช้สอน)
     กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
     มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้ ความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต
                          และมีนิสัยรักการอ่าน
     มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ
                          เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
     มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดี และวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า
                          และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
๖. สาระการเรียนรู้ที่นำมาบูรณาการ
    ๖.๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
    ๖.๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
๗. กิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่าน
     ๗.๑ ตอบปัญหาสารานุกรม
     ๗.๒ แข่งขันการเล่านิทาน
      ๗.๓ แข่งขันเปิดพจนานุกรม
      ๗.๔ ประกวดสร้างสรรค์ตัวละครในวรรณคดีผลงานของสุนทรภู่  
      ๗.๕ วาดภาพระบายสี
      ๗.๖ คัดลายมือ
      ๗.๗ เขียนเรียงความ
      ๗.๘ แต่งกลอนสุภาพ

๘. ความสำคัญ/วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักเรียนในแต่ละระดับชั้นได้รับการพัฒนาและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยผ่านกิจกรรมต่างๆ สามารถเรียนรู้และสามารถลงมือในการสร้างผลงานของตัวเองได้ เช่น การวาดภาพระบายสี, การคัดลายมือ, การเขียนเรียงความ, การแต่งกลอนสุภาพ เป็นต้น โดยกิจกรรมเหล่านี้นักเรียนทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวันได้

๙.    สมรรถนะสำคัญ
    ๙.๑ ความสามารถในการสื่อสาร
     ๙.๒ ความสามารถในการคิด
     ๙.๓ ความสามารถในการแก้ปัญหา
     ๙.๔ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

๑๐.คุณลักษณะอันพึงประสงค์
    ๑๐.๑ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
      ๑๐.๒ ซื่อสัตย์สุจริต
      ๑๐.๓ มีวินัย
      ๑๐.๔ ใฝ่เรียนรู้
      ๑๐.๕ อยู่อย่างพอเพียง
      ๑๐.๖ มุ่งมั่นในการทำงาน
      ๑๐.๗ รักความเป็นไทย
      ๑๐.๘ มีจิตสาธารณะ

๑๑. กิจกรรมการเรียนรู้ (ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้)
การจัดกิจกรรมได้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
การจัดกิจกรรมภายในห้องเรียน โดยครูประจำชั้นเป็นผู้จัดกิจกรรม และรวบรวมผลงานให้แก่ผู้ที่รับผิดชอบโครงการ ได้แก่ กิจกรรมคัดลายมือ เขียนเรียงความ และวาดภาพระบายสี
            การจัดกิจกรรมภายนอกห้องเรียน โดยดำเนินการแข่งขัน ณ โรงอาหารของโรงเรียนในช่วงพักเที่ยง โดยคณะครูร่วมมือจัดกิจกรรมต่างๆ ให้แก่นักเรียนทุกระดับชั้น ได้แก่ กิจกรรมตอบปัญหาสารานุกรม แข่งขันเล่านิทาน แข่งขันเปิดพจนานุกรม ประกวดสร้างสรรค์ตัวละครในวรรณคดีผลงานของสุนทร และแต่งกลอนสุภาพ

๑๒. สื่อ/แหล่งเรียนรู้
            ๑๒.๑ พจนานุกรม
            ๑๒.๒ กระดาษ recycle
            ๑๒.๓ ดินสอ / ปากกา
            ๑๒.๔ ปากกาเคมีสองหัว
            ๑๒.๕ สี
            ๑๒.๖ ใบงานกิจกรรมคัดลายมือ

๑๓. การวัดและประเมินผล
        ๑๓.๑ ภาระงาน
     (๑)กิจกรรมในห้องเรียน ได้แก่ กิจกรรมคัดลายมือ เขียนเรียงความ และวาดภาพระบายสี
                 (๒)กิจกรรมนอกห้องเรียน ได้แก่ กิจกรรมตอบปัญหาสารานุกรม แข่งขันการเล่านิทาน แข่งขันเปิดพจนานุกรม ประกวดสร้างสรรค์ตัวละครในวรรณคดีผลงานของสุนทร และแต่งกลอนสุภาพ
        ๑๓.๒ ชิ้นงาน
      ผลงานของนักเรียนที่ได้จากการจัดกิจกรรมภายในห้องเรียน ได้แก่ ผลงานการคัดลายมือ  เขียนเรียงความ และวาดภาพระบายสี
                 ผลงานของนักเรียนที่ได้จากการจัดกิจกรรมภายนอกห้องเรียน ได้แก่ ผลงานการตอบปัญหาสารานุกรม การเล่านิทาน การเปิดพจนานุกรม การสร้างสรรค์ตัวละครในวรรณคดีผลงานของสุนทรภู่ และผลงานแต่งกลอนสุภาพ
        ๑๓.๓ เครื่องมือวัดและประเมินผล  ได้แก่  แบบประเมินผลงาน
        ๑๓.๔ เกณฑ์การให้คะแนน ได้แก่ ชิ้นงานทุกชิ้นงาน คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการ
๑๔. สรุปผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
๑๔.๑ นักเรียนในแต่ละระดับชั้นได้รับการพัฒนาและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยผ่านกิจกรรมต่างๆ
๑๔.๒ นักเรียนสามารถเรียนรู้และลงมือในการสร้างผลงานของตัวเองได้ เช่น การวาดภาพระบายสี,  การคัดลายมือ,การเขียนเรียงความ, การแต่งกลอนสุภาพ เป็นต้น
๑๔.๓ นักเรียนสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวันได้
๑๕. ปัญหา/วิธีแก้ปัญหา/ข้อคิดเห็น
            - ไม่มี -
๑๖. ข้อเสนอแนะ
            ๑๖.๑ ควรมีกิจกรรมที่หลากหลาย และบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ให้มากกว่านี้
            ๑๖.๒ ควรมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับอาเซียนด้วย


กิจกรรมแข่งเปิดพจนานุกรม




กิจกรรมการสร้างสรรค์ตัวละครในวรรณคดีผลงานของสุนทรภู่