Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

ขอตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการอ่านค่ะ..


ขอตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการอ่านค่ะ..
เมื่อเด็กไม่รักการอ่าน..โลกแห่งการเรียนรู้ก็จำกัดและคับแคบ

                          หนังสือนั้นหรือคือเพื่อนสนิท             ให้ความคิดความรู้ดูมากหลาย
                   เป็นเพื่อนกินเพื่อนอนพักผ่อนกาย            ทั้งยังเป็นอาวุธร้ายไว้ป้องกันตน
                   เป็นเพื่อนเที่ยวพาเราไปได้หลายสถาน     ดีกว่ายานรถตีกตีกทุกแห่งหน
                  ดีกว่าทรัยพ์สมบัติใดในสากล                      เชิญมายลหนังสือซื้อเอาเลย
                                                                                       
                                                                             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

สวัสดีค่ะ...กัลยาณมิตรที่รักทุกท่าน   
               นานมากเชียวนะคะที่เจ้าของบ้านหายตัวไป  แต่ไม่ได้เข้าไปซุกตัวในกลีบเมฆก้อนใดๆเลยค่ะ..   งานล้นมือเหมือนเพื่อนๆค่ะ  อีกสักพักหากเรื่องราวเรียบร้อยคงได้มาพบปะพูดคุยกับเพื่อนๆที่รักทุกท่าน ดังเดิม  ช่วงนี้กำลังรณรงค์ช่วยกันเรื่องการแก้ปัญหานักเรียนอ่าน-เขียนไม่ได้  ไม่ค่อยรักการอ่าน เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดาค่ะ ..ธรรมดาเพราะฟังจนชินหู... ไม่ธรรมดาเพราะแก้ไขไม่จบสักทีค่ะ..ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง
              บันทึกนี้จึงขอนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่เพื่อนครูที่ร้องขอมาค่ะ  เป็นตัวอย่างของผู้เขียนที่ได้ใช้ในโรงเรียน   ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางแก่คุณครูเพื่อนำไปพัฒนาต่อได้ กิจกรรมที่เสนอเป็นภาพกว้างๆ คุณครูที่สนใจสามารถกำหนดรายละเอียดของกิจกรรม...แตกหน่อ..ต่อยอดได้อีกค่ะ ผู้เขียนก็ใช้วิธีนี้แหละค่ะ..ต่อยอด..จากพี่กัลยาณมิตรนิเทศ..อ.เพลินพิศ กราบขอบคุณสวยๆ ค่ะ ผู้เขียนขอขอบคุณ..ครูพี่เหมียว...(คุณครูสายตา  ปาลี) เป็นอย่างยิ่งมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ....สำหรับ Concept ของแต่ละกิจกรรมด้วยภาษาที่งดงามและง่ายต่อการจดจำ    และครูพี่เหมียวก็เก่งนักเชียวในการสร้างสรรค์แผ่นอ่าน รูปลักษณ์แปลกตา  น่าสนใจ  น่าจับต้องฝากส่งเสียงผ่านบันทึกนี้ไปยังครูพี่เหมียวด้วยในการนำกิจกรรมการสร้างแผ่นอ่านมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ และคุณครูที่สนใจ..นะคะ..ขอบคุณสวยๆล่วงหน้าค่ะ.. (ฝากภาพตะกร้าความรู้สวยๆ มาด้วยนะคะ...เครือข่ายกัลยาณมิตรที่แสนดีและน่ารัก..)              
                                                    กิจกรรมที่ ๑   ตะกร้าหาความรู้
                      ตะกร้าสวยด้วยความรู้ครูมอบให้ 
แด่เด็กไทยได้ค้นคว้าวิชาขยัน
               เกร็ดความรู้สู่แผ่นอ่านสารสำคัญ
อ่านมากนั้นครูชื่นใจได้วิชา

                                                      กิจกรรมที่    เรียนรู้สู่สารานุกรมไทย
                          หนังสือดีมีคุณค่าแสนน่าอ่าน
  ขอกล่าวขานรวมเล่มเต็มคุณค่า 
                 พระราชประสงค์มอบให้ด้วยเมตตา
   สิ่งล้ำค่าเยาวชนควรสนใจ

                                                    กิจกรรมที่    ตอบถามได้ฉับไว
                      การอ่านแล้วตั้งคำถามตามด้วยตอบ
เด็กเด็กชอบตอบถามความสงสัย
                จากหนังสืออ่านเสร็จสรรพตอบฉับไว
สิ่งที่ได้คือรางวัลนั้นงามงด

                                                     กิจกรรมที่     ออกเสียงให้ได้ชัดเจน
                       ภาษาไทยใช้ถูกต้องและคล่องแคล่ว
ออกเสียงแล้วชัดเจนเกณฑ์กำหนด
                    คำควบกล้ำ    ล อย่าละลด
ว่าตามกฎกติกาภาษาไทย

                                                      กิจกรรมที่    พี่สอนน้องให้อ่าน
                         กิจกรรมพี่สอนน้องท่องหนังสือ      
นั่นแหละคือความประสงค์จำนงหมาย
                  พี่ฉลาดอาจสอนน้องได้มากมาย
น้องทั้งหลายรู้ความตามพี่ทัน

                                                     กิจกรรมที่     แนะนำสารหนังสือเป็น
                                      หนังสือคือสิ่งดีมีคุณค่า 
หนังสือน่าหยิบอ่านน้องต้องเลือกสรร
                           นวนิยาย วรรณกรรม  สารพัน
ทุกเล่มนั้นน่าศึกษาวิชาชาญ

                                                     กิจกรรมที่     อ่านฟังตั้งใจเน้น
                                การอ่านให้ได้ฟังตั้งใจเน้น
ต้องอ่านเป็นเรื่องราวที่กล่าวขาน
                       อ่านฟังแล้วเข้าใจในกลอนกานท์
อ่านข่าวสารฟังเป็นเน้นใจความ

  กิจกรรมที่    การละเล่นเล่านิทาน
                              นิทานแสนสนุกปลุกดวงจิต
อ่านฟัง คิด เล่านิทาน วานตอบถาม
                       ใคร อะไร ที่ไหน ตอบใจความ
โอนอ่อนตามตัวละครสอนเล่าเรียน

                                                       กิจกรรมที่    สนุกสนานโต้วาที
                                         การจัดโต้วาทีดีนักหนา
ได้นำพา คิด ฟังทั้งอ่านเขียน
           เลือกวิเคราะห์เจาะประเด็นล้วนพากเพียร
ไม่ผิดเพี้ยนเหมือนสภาโต้วาที

                                                      กิจกรรมที่ ๑๐   นำสิ่งดีจัดนิทรรศการ
                         การศึกษาเล่าเรียนอ่านเขียนผ่าน
ด้วยชิ้นงานที่กำหนดปรากฏนี้
                    นำเสนอเชิญยลผลงานดี
ให้เป็นที่แหล่งศึกษาหาขั้นตอน

                                                      กิจกรรมที่ ๑๑   รวมใจค่ายนักอ่าน
                           กิจกรรมหลากหลายค่ายนักอ่าน
จัดเป็นฐานการเรียนรู้แทนครูสอน
                    สนุกสนานอ่านเขียนเรียนสัญจร
เป็นขั้นตอนง่ายยากหลากหลายดี

                                                      กิจกรรมที่ ๑๒    แสนเบิกบานละครหุ่น
                                   ดูละครหุ่นมือคือเด็กน้อย
เฝ้ารอคอยชมชิดติดกับที่
                         สวมบทบาทผู้เล่าก็เข้าที
ฉันท์น้องพี่ร่วมเล่าขานผ่านละคร

                                                      กิจกรรมที่ ๑๓  เพิ่มพูนความรู้สู่สนทนา
                                สนทนาหาความรู้คู่การอ่าน
หาข่าวสารเรื่องราวมากจากหนังสือ
                        แลกเปลี่ยนกันสนทนาว่านั้นคือ
ได้ฝึกปรือ พูดอ่านการสนทนา

                                                 กิจกรรมที่ ๑๔    สุขหรรษาการเล่าเรื่อง
                              การเล่าเรื่องนานาพาสุขสันต์ 
เทคนิคนั้นนำมาใช้ใช่ครูสอน
                   เด็กน้อยต่างค้นคว้ามาเว้าวอน
เล่าทุกตอนน่าสนใจได้ฝึกปรือ

กิจกรรมที่ ๑๕   ฉลาดปราดเปรื่องยอดนักอ่าน
โครงการเด็กไทย ยอดนักอ่าน           เป็นรากฐานสานใจใฝ่ศึกษา
ขยันอ่านขยันบันทึกล้วนนำพา                  ให้ก้าวหน้าเป็นเด็กไทยที่ใฝ่เรียน

                  กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในโรงเรียน  ด้วยการสร้างยอดนักอ่านในโรงเรียนที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบทั้งโรงเรียน   มีการจัดทำโครงการ   และดำเนินงานตามขั้นตอนอย่างสม่ำแสมอและต่อเนื่อง       ประกาศยกย่องเป็น  “ยอดนักอ่าน”  แห่งปีหรือภาคเรียน    มอบรางวัลหรือประกาศเกียรติคุณ  และเผยแพร่ผลงานแก่พ่อแม่  ผู้ปกครอง  ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    ทั้งนี้เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่เด็ก  เป็นการเสริมแรงให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านได้ดีทีเดียวค่ะ...
*****************************************      
จากเว็บไซต์  https://www.gotoknow.org/posts/201773

นวัตกรรมห้องสมุดสร้างสรรค์ทั่วโลก


สถิติการอ่านของคนไทย


หลากหลายกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน


เซียมซีรักการอ่าน
นิทานหรรษา
คาราโอเกะพาเพลิน
หนังสือเดินได้
ก้าวไกลกับสารานุกรม
อุดมปัญญาตระกร้าหนังสือ
สื่ออ่านลอยฟ้า
นิทานฝาผนัง
ฟังเสียงตามสาย
มุมสบายในห้องสมุด
หยุดทุกงานอ่าน 5 นาที
เก้าอี้ดนตรีหรรษา

สถานการณ์การอ่านของเด็กไทย


37 วิธีส่งเสริมให้เด็กๆรักการอ่าน





37 วิธีส่งเสริมให้เด็กๆรักการอ่าน
       “ผู้ที่รักการอ่านมีชีวิตอยู่เป็นพันๆปีก่อนที่พวกเขาจะจากไป ในขณะที่ผู้ไม่เคยอ่านหนังสือเลยมีชีวิตอยู่เพียงครู่เดียว" เป็นคำกล่าวของจอร์จ อาร์ อาร์ มาร์ติน ผู้ประพันธ์วรรณกรรมก้องโลกอย่างมหาศึกชิงบัลลังก์ (Game of Thrones) เป็นคำกล่าวที่ทรงพลังไม่น้อย เพราะมันแสดงให้เห็นถึงพลังของการอ่านที่เปิดประตูไปสู่ความเข้าใจโลก การผจญภัย และการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุดของมนุษย์เรา อย่างไรก็ตามนิสัยรักการอ่านไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หากแต่จะต้องได้รับการสนับสนุนและนำทางจนกระทั่งมันพัฒนาและเติบโตสร้างผู้ใหญ่ที่รอบรู้และกว้างขวางหนึ่งคนในสังคม
        นี่คือเหตุผลว่าทำไมการปลูกฝังให้เยาวชนรักการอ่านตั้งแต่เด็กๆมีความสำคัญต่อสังคมในภายภาคหน้าเป็นอย่างมาก
************************************

1. อ่านออกเสียงให้เด็กฟัง
การอ่านนิทานหรือหนังสือที่เด็กเล็กชอบให้พวกเขาจะปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน

2. ให้พวกเขารู้ว่าคุณกำลังอ่านอะไร
เด็กต้องการคนที่เป็นต้นแบบที่ดี การแสดงนิสัยรักการอ่านให้พวกเขาเห็นจะสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขารักการอ่าน

3. ให้เด็กสนุกกับการใช้การ์ดออกเสียง
การ์ดออกเสียงทำงานด้วยการให้เด็กเลือกการ์ดตัวการ์ตูนที่เขาชอบ และอ่านออกเสียงตามที่ได้ยิน

4. ให้เด็กวาดในสิ่งที่พวกเขาได้ยิน
วิธีนี้จะทำให้เด็กๆจดจ่อกับสิ่งที่พวกเขาได้ยินมากกว่าที่คิด และทำให้พวกเขาพัฒนาทักษะในการจับใจความ

5. ให้เด็กอ่านออกเสียงหนังสือที่พวกเขาเลือกเอง
การให้เด็กมาอ่านหนังสือที่เขาเลือกให้เพื่อนในห้องฟังจะทำให้เขาสนุกกับการ "แชร์" เรื่องราวที่ตัวเองคัดสรร

6. เตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นนอกจากหนังสือให้พวกเขาอ่าน
ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ การให้เขาได้เห็นสื่ออื่นๆ จะสร้างความมั่นใจและความสนุกในการอ่าน

7. สร้างตัวเลือกอื่นๆ สำหรับเด็กเล็ก
ลองให้เด็กฟังเรื่องราวจากซีดีอ่านออกเสียง แล้วให้เขาเล่าเรื่องที่ได้ยินมาสิ มันจะทำให้พวกเขาจับใจความเก่งขึ้นมากทีเดียว

8. สังเกตประเภทหนังสือที่เด็กสนใจ
เด็กบางคนอาจจะชอบอ่านการ์ตูนมากกว่านิทาน ดังนั้นการให้เขาอ่านสิ่งที่เขาสนใจก่อนจะสร้างนิสัยรักการอ่านได้ดีกว่า

9. ให้เด็กแนะนำหนังสือที่พวกเขาคิดว่าดี
มันจะทำให้พวกเขาเริ่มนึกถึงหนังสือที่เคยอ่านไป และกระตุ้นความรู้สึกอยากอ่านเล่มอื่นๆเพื่อจะได้รู้ว่าควรแนะนำเล่มไหน

10. เตรียมหนังสือที่เด็กพูดถึงให้พร้อมเสมอ
จับตาดูว่าเด็กๆ กำลังสนใจหนังสือเล่มไหน และไปเตรียมเล่มนั้นไว้ให้พร้อม

11. ห้องสมุดประจำห้องเรียนอาจเป็นทางเลือกเดียวที่ให้เด็กๆ เข้าถึงหนังสือได้
ครอบครัวของเด็กบางคนอาจมีอุปสรรคในการซื้อหนังสือดีๆ แพงๆ อย่างน้อยห้องสมุดประจำห้องเรียนก็ช่วยพวกเขาทางหนึ่ง

12. เด็กหลายคนรู้สึกปลอดภัยกว่า เมื่ออ่านในห้องสมุดประจำเรียน มากกว่าห้องสมุดของโรงเรียน
สำหรับเด็กหลายคน ห้องสมุดที่เต็มไปด้วยหนังสือผู้ใหญ่อาจทำให้เขาหวาดกลัวมากกว่ามุมเล็กๆ ในห้องเรียนของเขา

13. มุมอ่านหนังสือควรจะให้ความรู้สึกเชื้อเชิญและอบอุ่นใจ
ไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่โรงเรียน มุมอ่านหนังสือควรจะมีแสงสว่างเพียงพอ สะอาด และปลอดภัย

14. ให้ตุ๊กตาสัตว์เป็นคู่หูอ่านหนังสือของเด็กอนุบาล
พวกเขาอาจรู้สึกมั่นใจมากกว่าเมื่อได้เล่าเรื่องให้สัตว์ตัวน้อยฟัง

15. ให้สุนัขฝึกเป็นคู่หูอ่านหนังสือของเด็กอนุบาล
เด็กๆ รักสุนัข และสุนัขก็ไม่มีวันทำให้พวกเขาประหม่าเมื่อต้องอ่านออกเสียง วิธีนี้จะสร้างความมั่นใจให้กับเด็กๆ ได้

16. ให้เด็กโตเป็นคู่หูอ่านหนังสือเด็กเล็ก
เด็กเล็กจะเลียนแบบทักษะการอ่านของเด็กโต และเด็กโตก็จะเรียนรู้วิธีการสื่อสารให้เข้าใจง่าย

17. ยกระดับความยากของหนังสือในห้องสมุด
เด็กหลายคนมีพัฒนาการเร็วกว่าเพื่อน อย่าให้เขาหยุดเรียนรู้ ด้วยการเติมหนังสือที่ยากขึ้นไปอีกระดับเสมอ

18. ผสมหนังสือหลายระดับเข้าไว้ด้วยกัน
เด็กๆ จะฝึกทักษะในการคัดแยกว่าเรื่องไหนยากหรือง่าย และเข้าใจระดับความรู้ของตัวเองโดยอัตโนมัติ

19. สร้างห้องสมุดวิทยาศาสตร์
"สถิติโลกของกินเนสเวิร์ล" และ "ริปลี่ย์ เชื่อหรือไม่" ไปจนถึง "นิตยสารวิทยาศาสตร์วันนี้" ได้รับความนิยมจากเด็กๆ เสมอ

20. เตรียมหนังสือไว้ให้ครบในทุกห้องเรียน
ในทุกคลาสจะมีเด็กที่ทำข้อสอบเสร็จเร็วกว่าเพื่อนเสมอ การเตรียมมุมหนังสือไว้ให้เด็กพวกนั้นนั่งอ่านรอก็เป็นไอเดียที่ไม่เลว

21. แนะนำหนังสือเล่มใหม่ๆ ตลอดปี
เด็กๆ จะตื่นเต้นกับหนังสือใหม่ๆ มากกว่าที่คุณคิด

22. สอนเด็กวิธีการหาหนังสือที่เหมาะกับพวกเขา
ฝึกเขาไว้ก่อนโตขึ้นไปใช้ห้องสมุดใหญ่

23. ปล่อยให้เด็กชอปหนังสือที่พวกเขาสามารถพกติดตัวไว้ได้
นอกจากจะเพลิดเพลินจากการชอปปิงแล้ว พวกเขายังสนุกที่ได้เลือกสิ่งที่จะอ่านเองได้

24. สอนให้เด็กรักษาหนังสือและให้รางวัลเมื่อพวกเขาทำอย่างนั้น
ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเปิดสมุด หรือวิธีการถนอมปก สิ่งเหล่านี้จะทำให้พวกเขาเห็นคุณค่าของหนังสือ

25. เล่านิทานให้เขาฟัง และให้เขาสร้างหนังสือจากเรื่องนั้น
ให้เด็กทั้งห้องช่วยกันระบายสี ปะกระดาษ หรือใช้เทคนิคศิลปะอื่นๆสร้างสรรค์เรื่องราวที่พวกเขาได้ฟัง

26. ให้เด็กออกแบบโปสเตอร์ภาพยนตร์จากหนังสือที่พวกเขาอ่าน
ทำเสร็จแล้วก็เอาผลงานของพวกเขาไปเรียงโชว์ที่ห้องสมุดเพื่อกระตุ้นให้เด็กคนอื่นๆอยากอ่านเกี่ยวกับเรื่องนั้น

27. แสดงรายการหนังสือที่คุณอ่านบนประตูห้องเรียน
ให้เด็กๆ ออกแบบปกหนังสือที่คุณอ่าน ก่อนจะเอาไปแปะที่ประตูห้อง นี่จะทำให้เด็กห้องอื่นๆรู้จักหนังสือเหล่านี้

28. คัดเลือก "นักเขียนประจำสัปดาห์"
เด็กที่ได้รับเลือกให้เป็นนักเขียนประจำสัปดาห์จะได้ออกมาแชร์เรื่องราวในหนังสือที่ตัวเองเขียน

29. ให้เด็กสร้างตัวอย่างภาพยนตร์หนังสือ
ถือเป็นการโฆษณาให้เพื่อนๆ สนใจในหนังสือที่พวกเขาอ่านและเลือกมาทำเป็นตัวอย่างภาพยนตร์

30. ใช้อุปกรณ์โสตช่วยให้เด็กเข้าใจน้ำเสียงของเรื่องราว
วิธีนี้จะทำให้เด็กจดจำรายละเอียดของเรื่องราวได้ดี และสามารถสร้างจินตนาการที่แจ่มชัดได้ในการอ่านหนังสือเล่มต่อไป

31. ให้เด็กๆ ลองแต่งตอนต่อไปของเรื่องราวที่อ่านดู
วิธีการนี้จะทำให้พวกเขาเข้าใจความสัมพันธ์ของเหตุและผล และสามารถระบุได้ว่าเหตุการณ์ใดที่เป็นสาเหตุของอีกเหตุการณ์

32. สร้างโอกาสสำหรับบทสนทนาที่เป็นกันเอง
การชวนเด็กคุยถึงหนังสืออย่างเป็นกันเอง จะทำให้พวกเขารู้สึกเป็นอิสระจากความกดดัน และสนุกที่จะได้พูดคุยถึงสิ่งที่อ่าน

33. จัดกิจกรรมวิจารณ์หนังสือ
เปิดโอกาสให้แต่ละคนถกเถียงถึงหนังสือเล่มที่พวกเขาเลือก พวกเขาจะเริ่มรู้จักหนังสือเล่มอื่นๆ ที่เพื่อนเลือกมามากขึ้น

34. จัดโหวตหนังสือที่ดีที่สุดแห่งปี
หลังจากอ่านหนังสือกันมาทั้งปีแล้ว ให้เด็กๆ โหวตหนังสือที่พวกเขาคิดว่าดีที่สุดประจำปี วิธีการนี้จะเป็นการแนะนำให้เด็กหลายคนรู้จักหนังสือที่พวกเขาไม่เคยอ่าน และกระตุ้นความสนใจที่จะเริ่มอ่านหนังสือดีๆ

35. จัดงาน "อ่านมาราธอน"
เมื่อครูใหญ่ส่งสัญญาณของงานผ่านอินเตอร์คอมของโรงเรียน ไม่ว่านักเรียนหรือครูก็ต้องหยุดทุกสิ่งที่ทำแล้วหันมาอ่านหนังสือ ใครที่อ่านได้นานที่สุดจะได้รับรางวัลจากโรงเรียน ถือว่าเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านร่วมกันทั้งโรงเรียน

36. ไม่ทำโทษเด็กด้วยการอ่าน
การอ่านไม่ควรจะถูกตีตราให้เป็นวิธีการลงโทษ เพราะมันจะทำให้พวกเขากลัวการอ่าน

37. จัดปาร์ตี้อ่านหนังสือ
จัดกิจกรรมที่ให้เด็กๆ เอาหมอนและตุ๊กตาคู่หูอ่านมาที่ปาร์ตี้ และให้เวลาหนึ่งชั่วโมงในการอ่านหนังสือที่พวกเขาชอบ


ขอบคุณแหล่งข้อมูล
จาก
http://www.edutopia.org/discussion/37-ways-help-kids-learn-love-reading


วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

บทอาขยานสำคัญอย่างไร


บทอาขยานสำคัญอย่างไร
       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ ให้นิยามคำว่า
"อาขยาน" ไว้ว่า บทท่องจำ การบอกเล่า การบอก การสวด เรื่อง นิทาน"อาขยาน" อ่านออกเสียงได้ ๒ อย่าง คือ อา - ขะ - หยาน หรือ อา - ขะ -ยาน

      การท่องอาขยานในระยะแรก (พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๗๘) เป็นการท่องจำ
บทร้อยกรองที่ถือว่าไพเราะ ซึ่งตัดตอนมาจากหนังสือวรรณคดี โดยให้นำมา
ท่องประมาณ ๓ - ๔ หน้า และมีการท่องบทอาขยานติดต่อกันเรื่อยมา
การท่องบทอาขยานจะใช้เวลาก่อนเลิกเรียนเล็กน้อย ให้นักเรียนทั้งห้อง
ท่องพร้อมๆ กัน
แต่เมื่อมีการประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๒๑
หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช ๒๕๒๑ และหลักสูตรมัธยมศึกษา
ตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๒๔ จนถึงหลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๓๓
ในหลักสูตรทุกหลักสูตรมิได้ระบุให้ชัดเจนเกี่ยวกับการท่องบทอาขยาน เป็นสาเหตุให้การท้องบทอาขยานเริ่มหายไปจากสถานศึกษาบางแห่ง จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ จึงได้มีการกำหนดบทอาขยานขึ้นอีกครั้งหนึ่งแต่ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร

      กระทรวงศึกษาธิการจึงมีนโยบายกำหนดให้มีการท่องอาขยานอย่างจริงจังในสถาน ศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๒ เป็นต้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ของการท่องอาขยาน ดังนี้
      ๑. เพื่อให้นักเรียนตระหนักในคุณค่าของภาษาไทย และให้ซาบซึ้งในความไพเราะของบทร้อยกรอง
      ๒. เพื่อเป็นพื้นฐานในการแต่งคำประพันธ์
      ๓. เพื่อเป็นการสื่อในการถ่ายทอดคุณธรรม คติธรรม และข้อคิดที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชน
      ๔. เพื่อส่งเสริมให้มีจิตสำนึกทางวัฒนธรรมของคนในชาติในฐานะ "รากร่วมทางวัฒนธรรม"

บทอาขยานที่กำหนดให้ท่องจำ
      บทอาขยายที่ให้นักเรียนท่องจำนั้น แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ บทอาขยานที่เป็นบทหลัก บทรอง และบทเลือกอิสระ
      บทหลัก หมายถึง บทอาขยานที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนดให้นักเรียนนำไปท่องจำเพื่อความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วประเทศ ดังปรากฏในเอกสาร
      บทรอง หมายถึง บทอาขยานที่ครูผู้สอนหรือสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดให้นักเรียนท่องจำเสริมจากบท อาขยานที่กระทรงศึกษาธิการกำหนด (บทหลัก) เป็นบทร้อยกรองที่มีลักษณะตรงตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกบทอาขยาน อาจเป็นบทร้อยกรองที่แสดงภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ค่าวชอ ผญา เพลงชาน้อง เพลงเรือ บทกวีร่วมสมัยที่มีคุณค่า ฯลฯ โดยกำหนดให้ท่องจำภาคเรียนละ ๑ บท เป็นอย่างน้อย
      บทเลือกอิสระ หมาย ถึง บทอาขยานที่นักเรียนแต่ละคนเลือกสรรมาท่องเองด้วยความสมัครใจ หรือด้วยความชื่นชอบอาจเป็นบทร้อยกรองที่มีผู้แต่งไว้ หรือเป็นบทร้อยกรองที่นักเรียนแต่งขึ้นเอง หรือผู้ปกครองเป็นผู้แต่งขึ้นก็ได้ แต่ต้องบอกได้ว่ามีเหตุผลอย่างไรจึงเลือกบทร้อยกรองนั้นๆ มาท่องจำเป็นบทอาขยานของตนเองโดยความเห็นชอบของครูผู้สอนหรือสถานศึกษา

บทร้อยกรองที่จะคัดเลือกให้เป็นบทรองและบทเลือกอิสระ ควรมีลักษณะดังนี้
      ๑. มีเนื้อหา ความยากง่ายเหมาะสมกับวัย
      ๒. มีความยาวพอเหมาะพอควร
      ๓. มีคุณธรรม คติธรรม ให้แนวทางการดำเนินชีวิตที่ดีงาม
      ๔. มีสุนทรียรสทางภาษา
      ๕. มีความถูกต้องตามฉันทลักษณ์
      ๖. มีรูปแบบที่หลากหลาย
การอ่านบทอาขยานตามหลักการทั่วไป
      การอ่านบทอาขยานส่วนใหญ่เป็นการอ่านออกเสียง คือ ผู้อ่านเปล่งเสียงออกมาดังๆ ในขณะที่ใช้สายตากวาดไปตามตัวอักษร ยึดหลักการอ่านออกเสียงเหมือนหลักการอ่านทั่วไป เพื่อให้การอ่านออกเสียงมีประสิทธิภาพควรฝึกฝน ดังนี้
      ๑. กวาดสายตาจากคำต้นวรรคไปยังท้ายวรรค และเคลื่อนสายตาไปยังวรรคถัดไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องส่ายหน้าตามไป เพื่อเป็นการอ่านล่วงหน้า ทำให้การอ่านออกเสียงต่อเนื่องกันไปโดนไม่สะดุด ซะงัก
      ๒. ฝึกเปล่งเสียงให้ดังพอประมาณโดยพิจารณาถึงกลุ่มผู้ฟังและสถานที่ แต่ไม่ตะโกนควรบังคับเสียง เน้นเสียง ปรับระดับเสียงสูง - ต่ำ ให้สอดคล้องกับจังหวะลีลา ท่วงทำนอง และความหมายของเนื้อหาที่อ่าน
      ๓. อ่านด้วยเสียงที่ชัดเจน แจ่มใส ไพเราะ มีกระแสเสียงเดียว ไม่แตกพร่า เปล่งเสียงจากลำคอโดยตรงด้วยความมั่นใจ
      ๔. ควรทรงตัวและรักษาอากัปกิริยาให้ถูกวิธี จะช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อต่างๆ ทำงานประสานกัน ทำให้เปล่งเสียงได้ดี มีท่วงท่าน่าเชื่อถือ ลักษณะการทรงตัวที่ถูกวิธีคือ ไม่ว่าจะยืนหรือนั่งอ่าน ลำตัวต้องตั้งตรง และอยู่ในอาการสมดุล ควรถือบทหรือหนังสือห่างจากสายตาประมาณหนึ่งฟุต ขณะอ่านพยายามให้ลำคอตั้งตรง เงยหน้าเล็กน้อย สบตากับคนฟังเป็นระยะๆ
      ๕. อ่านออกเสียงให้ถูกอักขรวิธีหรือความนิยม และต้องเข้าใจเนื้อหาของบทอาขยานนี้ก่อน
      ๖. อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำ ให้ถูกต้องชัดเจน
      ๗. อ่านให้ถูกจังหวะและวรรคตอน
      ๘. พยายามอ่านให้ได้อารมณ์และความรู้สึกตามเนื้อหา
การอ่านบทอาขยานเป็นทำนองเสนาะ
      การอ่านบทอาขยานเป็นทำนองเสนาะช่วยให้บทอาขยานนั้นมีความไพเราะ นักเรียนเกิดความสนใจจดจำบทอาขยานได้ดี และสนุกสนานยิ่งขึ้น การฝึกอ่านทำนองเสนาะมีขั้นตอนดังนี้
      ๑. อ่านเป็นร้อยแก้วธรรมดาให้ถูกต้องชัดเจน ตามอักขรวิธีก่อน ทั้ง ร , ล ตัวควบกล้ำ อ่านออกเสียงให้ตรงตามเสียงวรรณยุกต์
      ๒. อ่านให้ถูกจังหวะวรรคตอน การอ่านผิดวรรคตอนทำให้เสียความ
      ๓. อ่านให้สัมผัสคล้องจองกันเพื่อความไพเราะ
      ๔. อ่านให้ถูกทำนองและลีลาของคำประพันธ์แต่ละชนิด คำประพันธ์แต่ละชนิดจะมีบังคับจำนวนคำสัมผัส หรือคำเอก คำโท แตกต่างกัน การอ่านทำนองเสนาะจึงต้องอ่านให้ถูกท่วงทำนองและลีลาของคำประพันธ์แต่ละชนิด
      ๕. อ่านโดยใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเนื้อหาและอ่านพยางค์สุดท้ายของวรรคด้วยการทอดเสียง แล้วปล่อยให้หางเสียงผวนขึ้นจมูก