Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ





ส่วนที่ ๑ ความรู้สํา หรับครู เป็นส่วนที่ให้ความรู้ความเข้าใจ เป็นการเตรียมความรู้

ให้แก่ครูเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจสาระสํา คัญ และหลักการของเรื่องที่สอนอย่างถูกต้องตาม
หลักวิชาการ
ส่วนที่ ๒ แนวทางการจัดการเรียนรู้ เป็นการนํา เสนอขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
พร้อมสื่อการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยเป็นการวัดผลระหว่างเรียนเพื่อพัฒนา
การเรียนการสอน (Formative test) ซึ่งสอดแทรกระหว่างการจัดการเรียนรู้เป็นการบันทึกผลจาก
การฝึกทักษะการอ่านและการเขียนในระหว่างเรียนเพื่อให้ครูได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้
ส่วนที่ ๓ แนวทางการวัดและประเมินผลประจํา หน่วย เป็นการนํา เสนอตัวอย่าง
การวัดและประเมินผลประจํา หน่วย เพื่อตัดสินว่าหลังการจัดการเรียนรู้ครบตามหน่วยนั้นแล้ว
นักเรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในหน่วยนั้นในระดับใด ซึ่งนําผลจากการวัด
มาตรวจสอบความสามารถในการอ่านและเขียนในหน่วยนั้น ๆ
6 คู่มือการสอนอ่านเขียน โดยการแจกลูกสะกดคํา
ส่วนที่ ๑ ความรู้สํา หรับครู
จุดประสงค์ของความรู้สํา หรับครู เป็นสาระสํา คัญสํา หรับให้ครูได้ศึกษา ให้มีความรู้
ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหลัการใช้ภาษาที่เป็นพื้นฐานสํา คัญของการจัดการเรียนรู้แต่ละหน่วย
รวมทั้งเพื่อนํา เสนอขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยตามแบบการแจกลูกสะกดคํา เพื่อให้
ครูดํา เนินการตามได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้นักเรียนอ่านและเขียนได้
ส่วนที่ ๒ แนวทางการจัดการเรียนรู้
จุดประสงค์ของส่วนที่ ๒ นี้คือ เพื่อเป็นตัวอย่างให้ครูนํา ไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม
และบริบทของสถานศึกษา ในหัวข้อนี้ประกอบด้วย
ตัวอย่างแนวการจัดการเรียนรู้
๑. ระบุชื่อหน่วยและเวลาที่ใช้ในแต่ละหน่วย โดยผู้นํา ไปใช้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตาม
ความเหมาะสม เวลาที่กํา หนดไว้เป็นการกํา หนดโดยประมาณเท่านั้น
๒. จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ครูกํา หนดว่า เมื่อสอนหน่วยนี้แล้ว
ผู้เรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการอ่านและเขียนตามจุดประสงค์ของหน่วยนั้น
ในระดับใด ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนรู้สามารถนํา ไปประยุกต์ใช้กับการสอนภาษาไทยตามหลักสูตร
โดยการกํา หนดจุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ที่พิจารณาจากจุดประสงค์การเรียนรู้ในหลักสูตร
๓. แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เห็นว่าหน่วยนี้แบ่งการสอนเป็นขั้นตอนในการจัด
การเรียนรู้ได้กี่ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาครั้งละ ๑ ชั่วโมง ครูสามารถปรับเปลี่ยนจํา นวนครั้งและเวลาได้
ตามความเหมาะสมและการนํา ไปใช้ของครูแต่ต้องให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้
ที่กํา หนด
๔. แนวการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ ทุกหน่วยจะเขียนตัวอย่างแนวทางการจัดการเรียนรู้ไว้ให้
๑ เรื่อง ประกอบด้วย
๔.๑ จุดประสงค์การเรียนรู้(ระบุผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้เฉพาะเรื่องที่สอนในชั่วโมงนั้น)
๔.๒ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เสนอให้เห็นขั้นตอนการสอนตั้งแต่
ขั้นนํา : มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสนใจและทบทวนความรู้ที่เชื่อมโยงกับ
หัวข้อที่จะเรียนต่อไป
คู่มือการสอนอ่านเขียน โดยการแจกลูกสะกดคํา 7
ขั้นสอน: เสนอแนวทางการจัดเรียนรู้ให้ไว้เป็นตัวอย่างโดยครูสามารถปรับเปลี่ยน
สื่อได้ตามความเหมาะสม แต่จุดเน้นของการจัดการเรียนรู้ต้องการให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการอ่านและ
การเขียนเป็นหลัก
ขั้นสรุป: เป็นขั้นการทบทวนให้นักเรียนเข้าใจในเรื่องที่สอน
๔.๓ สื่อการสอน เป็นการเสนอแนะสื่อที่ใช้ในการสอนของชั่วโมงนั้น ๆ
๔.๔ การวัดและประเมินผล เป็นการเสนอวิธีการวัดและประเมินผลการฝึกทักษะ
การอ่านและการเขียนระหว่างเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล
ตัวอย่างแนวการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ และต่อ ๆ ไป เป็นการนํา เสนอจุดประสงค์การเรียนรู้
ของหน่วยนั้น และแนวทางการจัดการเรียนรู้อย่างกว้าง ๆ เพื่อให้ครูผู้สอนได้นํา ไปประยุกต์ใช้ได้
และบางหน่วยได้เสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนรู้ไว้จนครบทุกขั้นตอน
ส่วนที่ ๓ การวัดและประเมินผลประจํา หน่วย
การวัดและประเมินผลประจํา หน่วย เป็นการประเมินตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้
ประจํา หน่วย เพื่อตัดสินผลการเรียนของหน่วยนั้น โดยจะกํา หนด
๑. แบบวัดตามจุดประสงค์ของหน่วยนั้น
๒. วิธีการวัด
๓. เกณฑ์การประเมิน

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ฝึกหัดอ่านด้วยอักษร 5 สี





ฝึกหัดอ่านด้วยอักษร 5 สี 


วิธีการแก้ปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกของนักเรียน
ด้วย “การพัฒนาการสอนอ่านด้วยการใช้อักษร 5 สี ประกอบภาพการ์ตูน”



          รูปแบบงานที่คิดว่าดีที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องในขณะทำการสอน จนค้นพบ “เทคนิคและวิธีการสอนอ่านด้วยอักษร 5 สี ประกอบภาพการ์ตูน” ที่กำหนดให้ใช้สี 5 สีอะไรก็ได้และใช้สีที่เลือกนั้นกำหนดลงบนตัวอักษรที่เป็นส่วนประกอบของคำแบบตายตัวตลอดการเรียนรู้
          นั่นคือที่มาของวิธีการแก้ปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกของนักเรียนด้วย “การพัฒนาการสอนอ่านด้วยการใช้อักษร 5 สี ประกอบภาพการ์ตูน” ของครู จิราพร มีศรี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านเขาดิน (ประชาอุทิศ) หมู่ที่ 5 ต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จนได้รับรางวัลครูภาษาไทยดีเด่น และเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ. ประจำปีพุทธศักราช 2555
          ครูจิราพร เล่าให้ฟังว่า ตนเองไม่ได้จบเอกภาษาไทย โดยจบเอกประดิษฐ์ ศิลปะ แต่มาสอนภาษาไทย ซึ่งจากประสบการณ์พบปัญหาที่เกิดจากเด็ก จึงคิดประยุกต์นำวิชาศิลปะเข้ามาในภาษาไทย โดยใช้สี รูปภาพน่ารัก ๆ เข้ามาช่วย โดยสื่อทั้งหมดจะทำขึ้นมาเอง
          “เราต้องสู้เพราะสงสารเด็ก ส่วนมากคิดกันว่า ป.1 อ่านไม่ได้ ป.2 อ่านไม่ได้ เดี๋ยว ป.3 ก็อ่านได้ ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะถ้าเด็กจบ ป.6 ไปแล้วอ่านไม่ได้ เด็กก็จะเรียนต่อไม่ได้ ครูจะมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นบาป ซึ่งเด็กที่โรงเรียนอ่านหนังสือได้ทุกคน 100% ชั้นที่รับผิดชอบคือ อนุบาล กับ ชั้น ป.1 เริ่มแรกเด็กอนุบาลจะให้ระบายสีแบบง่าย ๆ รู้จักให้ท่องง่าย ๆ การได้เห็นอยู่เรื่อย ๆ จะค่อยๆ จำ พอเทอมสุดท้ายทุกคนจะรู้จักสะกดคำในแผ่นพยัญชนะ แผ่นสระได้ ทำให้ง่ายต่อการขึ้นชั้น ป.1 แทบจะอ่านได้เลย” ครูจิราพร เล่าอย่างภาคภูมิใจ
          ครูจิราพร ยังบอกอีกว่า การสอนแบบสมัยก่อนที่ใช้วิธีสอนให้เด็กอ่านเป็นคำจะไม่นำมาสอนเลย เพราะเคยเจอกับลูกของตัวเองที่เรียนโรงเรียนเอกชน เมื่อลูกอ่านหนังสือจบหน้า พอถามถึงพยัญชนะ สระ ปรากฏว่าลูกสะกดไม่ได้ จึงต้องหาวิธีการสอนทำอย่างไรให้เด็กเรียนภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ซึ่งพบว่าหลักการสอนที่ทำให้เด็กนักเรียนอ่านออกเขียนได้และรักภาษาไทยคือการสอนให้ตรงกับธรรมชาติและความต้องการที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน จึงหาวิธีแก้ไขปัญหาจากการอ่านที่ทำให้นักเรียนสามารถจดจำได้ง่ายขึ้น นำไปสู่นวัตกรรมการใช้ภาพการ์ตูนและอักษรสี เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกต มีความเข้าใจ และเกิดการจดจำแบบถาวร
          สำหรับการพัฒนาการอ่านด้วยการใช้อักษร 5 สี มี 4 ขั้นการเรียนรู้ คือ ให้นักเรียนรู้จักสี 5 สีที่กำหนด และสามารถอ่านส่วนประกอบของคำเรียงตามลำดับของสีที่กำหนดไว้แบบตายตัวได้ถูกต้อง เช่น พยัญชนะ แทนด้วย สีดำ, สระ แทนด้วย สีแดง, ตัวสะกด แทนด้วย สีเขียว, ตัววรรณยุกต์ แทนด้วย สีฟ้า, ตัวการันต์ แทนด้วย สีเหลือง ขั้นตอนที่ 2 คือ ฝึกท่องจำคำอ่านสระ ขั้นตอนที่ 3 ฝึกท่องจำคำอ่านพยัญชนะ และขั้นตอนที่ 4 ฝึกอ่านและประสมคำ
          ทุกวันนี้ครูจิราพร ยังได้นำเทคนิควิธีนี้ไปเผยแพร่ที่สหรัฐอเมริกาด้วยการเข้าร่วมโครงการจิตอาสาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่มิถุนายน ถึงสิงหาคม 2556 โดยออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางเองเพื่อไปสอนภาษาไทยให้แก่เยาวชนไทยที่อยู่กับครอบครัวต่างประเทศให้สามารถพูดภาษาไทย เขียนไทย อ่านไทยได้ รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย เพื่อปลูกฝังความเป็นไทยให้แก่เยาวชนเหล่านั้น.
          
พัชรี เมืองเนาว์
ที่มา: http://www.dailynews.co.th

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

คำตามมาตราตัวสะกด



คำตามมาตราตัวสะกด แม่กก

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กก


คือ คำที่มีตัว
 ก ข ค คร ฆ เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียง ก

 ซอก ฉีก ฉุก ชอกช้ำ ทุกข์ พวกพ้อง จวัก จารึก เทือกเขา ปากกา สกปรก

 เครื่องคิดเลข โทรเลข มุข ความสุข สุขสันต์

 เทคโนโลยี เชื้อโรค ยุคใหม่ โชคชัย โชคดี วรรค บุคคล นาค

คร สมัคร สมัครใจ

 เมฆ เฆมฝน ก้อนเมฆ เมฆหมอก



คำตามมาตรตัวสะกดแม่กด
 ตรวจตรา สุจริต ระเห็จ พินิจ มัจฉา เกียจคร้าน ดุจ สมเด็จ กิจการ พูดเท็จ สำเร็จ เสร็จ
 ราชาธิราช พระราชทาน ราชวัง บวช ประโยชน์ พาณิชน์ พระราชดำรัส ราชธานี
ชร เพชร แหวนเพชร
 ก๊าซ
 มด วาด จังหวัด กัด โดด หงุดหงิด ปลดปลง ชนิด ทองหยอด ฉูดฉาด
 จิตใจ อุตสาหกรรม สุภาษิต พันธุรัต สัตยา ชีวิต สังเกต เมตตา ประณีต อุตสาหะ จารีต
ตร ยุรยาตร เมตร วิจิตร พระเนตร บุตร มิตร บัตร บาตร ลิตร ฉัตร เกษตร
ติ ชาติ ธรรมขาติ ปฏิบัติ สมบัติ เกียรติยศ อัตโนมัติ ธงชาติ ประวัติ รสชาติ นิวัติ
ตุ เหตุ ธาตุ สาเหตุ เหตุผล
รถ สามารถ ปรารถนา
รท วันสารท สารท
 กฎ กฎหมาย กฎเกณฑ์ มงกุฎ
 ปรากฏ รกชัฏ
 อิฐ อูฐ ประเสริฐ
 วัฒนา วัฒนธรรม พัฒนา
 รถ รถไฟ
 ประเภท วิทยุ วิทยาศาสตร์ ประสิทธิภาพ บทบาท ปราสาท บาท มรรยาท พัทลุง บริษัท
 พิโรธ อัธยาศัย โกรธ อยุธยา
 อากาศ เพ่งพิศ ทัศนศิลป์ ทิศ มหัศจรรย์ ประกาศ บรรยากาศ เพศ ปราศจาก ประเทศ
 โทษ พิษไข้ วิเศษ อังกฤษ เศษ อธิษฐาน ตรุษ พิเศษ ประดิษฐาน เศรษฐกิจ
 โอกาส รหัส สวาท มธุรส วาสนา รสเปรี้ยว ตรัส โอรส ออสเตรเลีย

มาตราตัวสะกด แม่กบ

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กบ

มาตราแม่ กบ คือ คำที่มีตัว บ ป พ ภ เป็นตัวสะกด

อ่านออกเสียง บ สะกด เช่น

 ลูบ ฟุบ รบ ลอบ เล็บ สลบ ฉับไว ประดับ ขยับ ซุบซิบ

อาบน้ำ ไหวพริบ โต้ตอบ เหน็บชา

 สรุป ทวีป ทำบาป สาปแช่ง ธูปเทียน รูปภาพ สัปดาห์ รูปหล่อ ประชาธิปไตย อัปลักษณ์

 ภาพยนตร์ ลพบุรี งานศพ มหรสพ เคารพ สภาพ พิภพ กรุงเทพฯ อพยพ

นพรัตน์ นิพพาน สรรพ อานุภาพ โพสพ แม่นพดารา เจ้าภาพ

 พฤษภ มีลาภ โลภมาก

 

 

มาตราตัวสะกด แม่กง

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กง

คือ คำที่มีตัว ง เป็นตัวสะกด อ่านอย่างเสียง ง

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กง

ได้แก่ กองกลาง โขมง คล้องจอง คูปอง จ้องหน่อง ฉิ่ง ตะราง

ตุ้งติ้ง ประลอง พิธีรีตอง มะเส็ง แมงดา รำพึง สรงน้ำ สำเนียง แสลง

 

มาตราตัวสะกด แม่กน

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กน

คือ คำที่มีตัว น ญ ณ ร รุ ล ฬ เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียง น สะกด เช่น

 จินดา ชันษา ชุลมุน ดูหมิ่น ต้นหว้า โต๊ะจีน พระชนนี

 กาญจนบุรี เชี่ยวชาญ เชิญ เจริญ ปัญหา บัญชี อารัญ ห้าวหาญ เทวัญ

 ทารุณ คุณภาพ โบราณ บริเวณ คำนวณ บัณฑิต ขอบคุณ คุณนาย ประมาณ

 จราจร อาจารย์ ประยูร อาคาร ต้องการ ธนาคาร บริการ อนาทร ทินกร เมืองมาร

 จลาจล ชลบุรี เครื่องจักรกล ทูลสุกร ชลเนตร มูลช้าง กราบทูล สากล

 ทมิฬ กาฬโรค พระกาฬ

 

 

 

มาตราตัวสะกด แม่กม

มาตราแม่ กม คือ คำที่มีตัว ม มิ เป็นตัวสะกด

อ่านออกเสียง ม สะกด เช่น

 เกม คราม กรรม นาม ออม ขม รอมชอม ซุ่ม ธรรมเนียม สะสม อารมณ์

กรม เจ้ากรม เจ้าจอม ปฐม พระนาม อาศรม ทะนุถนอม รื่นรมณ์

มิ ภูมิใจ ภูมิ ภูมิลำเนา ภาคภูมิ พระภูมิ ภูมิภาค

มาตราตัวสะกด แม่เกย

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกย

คือ คำที่มี ย เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียง ย

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกย

ได้แก่ กระจ้อยร่อย ข่าย ชีวาลัย ทยอย นโยบาย เนย เนื้อทราย

เปรียบเปรย พระทัย โพยภัย ภูวไนย เสวย มโนมัย วินัย สาหร่าย อาชาไนย

 

มาตราตัวสะกด แม่เกอว

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกอว

คือ คำที่มี ว เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียง ว

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกอว

ได้แก่ กริ้ว ก๋วยเตี๋ยว ข้าวยำ ข่าวลือ จิ๋ว เจื้อยแจ้ว ดาวฤกษ์

ต้นงิ้ว ท้าวไท ทาวน์เฮ้าส์ ประเดี๋ยว ยั่ว เลิกคิ้ว หิวข้าว เหว อ่าว

 







ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทย




เสียงจากครูภาษาไทยแม่ฮ่องสอน
ที่บอกกล่าวถึง

ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทย

******************************************************

        สืบเนื่องจากการได้รับเชิญเป็นวิทยากรการอบรมครูภาษาไทย ของศูนย์ภาษาไทย โรงเรียนในฝัน(โรงเรียนดีใกล้บ้าน) ของสพท.แม่ฮ่องสอน เขต ๑ และ ๒  ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๒  สิงหาคม ๒๕๕๔  ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนสบเมยพิทยาคม  มีคุณครูภาษาไทยเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๘๕  คน จาก ๖๐ โรงเรียน ในทุกอำเภอของแม่ฮ่องสอน 
        นับเป็นโอกาสและโชคดีของชีวิตที่ได้พบปะพูดคุย  แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณครูที่อยู่บนดอยสูง อยู่ในโรงเรียนไกลกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาในการจัดการเรียนการสอนมากมานานาประการ โดยเฉพาะในเรื่องของกลุ่มสาระภาษาไทย  ซึ่งเป็นสาระหลักที่เด็กต้องได้เรียน และเรียนได้  ใช้ภาษาสื่อสารเป็นกิจกรรมแรกที่ผู้เขียนได้เชิญชวนคุณครูเล่าประสบการณ์ของตนเองจากการเป็นครูผู้สอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาว่าพบปัญหาอะไรบ้าง  เพื่อการหาแนวทางในการแก้ไขและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (ในส่วนที่เราพึงทำได้)
        สรุปปัญหาของคุณครู ดังนี้    ผู้เขียนขอนำเสนอทั้งหมดโดยไม่ย่อ หรือตัดทอน หรือ รวมกลุ่มปัญหาเดียวกัน     ทั้งนี้เพื่อที่เพื่อนครูหรือท่านผู้อ่านจะได้รับทราบข้อมูลว่าหลายโรงเรียนประสบปัญหาเดียวกัน 

๑.ด้านนักเรียน
              (๑)พูดไม่ชัด
                   (๒)สะกดไม่ถูกต้อง
                   (๓)ใช้ภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย
                   (๔)อ่านไม่ได้เขียนไม่ออก
                   (๕)ออกเสียงคำควบกล้ำไม่ถูกต้อง
                   (๖)ใช้คำไม่ตรงความหมาย
                   (๗)คิดวิเคราะห์ไม่เป็น
                   (๘)ขาดทักษะการอ่านและการเขียน
                   (๙)เขียนตามภาษาพูดของตน
                   (๑๐)จำสระบางตัวไม่ได้
                   (๑๑)อ่านสะกดคำไม่เป็น  อ่านไม่ออก  เขียนไม่ได้
                   (๑๒)ลายมือไม่สวย
                   (๑๓)จำมาตราตัวสะกดไม่ได้
                   (๑๔)มีพื้นฐานทางภาษาไทยไม่แน่น
                   (๑๕)มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านทักษะการอ่าน-เขียน
                   (๑๖)คิดวิเคราะห์ไม่เป็น   ตีความไม่ได้
                   (๑๗)ผันวรรณยุกต์ไม่เป็น
                   (๑๘)ขาดนิสัยรักการอ่าน  ไม่แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
                   (๑๙)สนใจสื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากกว่าการอ่านเพื่อเสริมความรู้
(๒๐)เด็กอ่านไม่ออก
                   (๒๑)เด็กไม่สนใจเรียน
                   (๒๒)นักเรียนไม่ชอบอ่านหนังสือ
                   (๒๓)นักเรียนไม่สนใจเรียน 
                   (๒๔)สะกดคำไม่ได้
                   (๒๕)เขียนเรียงความไม่ได้  ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง
                   (๒๖)ขาดทักษะในการพูดภาษาไทย
                   (๒๗)คิดไม่เป็น
                   (๒๘)อ่านออกเสียง  ร  ล  คำควบกล้ำไม่ถูกต้อง
                   (๒๙)อ่านสะกดคำไม่ถูกต้อง
                   (๓๐)อ่านออกเสียงไม่ตรงตามตัวสะกด
                   (๓๑)ไม่สามารถเรียงประโยคได้ถูกต้อง
                   (๓๒)ไม่สามารถสรุปใจความของเรื่องได้  แนวคิดของเรื่อง  (บทประพันธ์)
                   (๓๓)ไม่สามารถถอดความและแปลความได้
                   (๓๔)เรียงลำดับของเรื่องยังไม่ได้
                   (๓๕)คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านไม่ได้
                   (๓๖)ผันวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง
                   (๓๗)เขียนตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
                   (๓๘)เขียนสะกดผิด           
                   (๓๙)พูดไม่ชัด  เช่น  คำควบกล้ำ  ตัวสะกด
                   (๔๐)เขียนตามคำพูดของตัวเอง
                   (๔๑)ขาดเรียนบ่อย
                   (๔๒)ไม่มีความคิดสร้างสรรค์  ไม่มีจินตนาการ
                   (๔๓)พูดภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย
                   (๔๔)เด็กไม่รักการอ่าน
                   (๔๕)เด็กมีความหลากหลายในชนเผ่า
                   (๔๖)เด็กไม่รู้จักวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรอง
                   (๔๗)นักเรียนรู้จักพยัญชนะและสระ  แต่ไม่สามารถประสมคำได้
                   (๔๘)เขียนสะกดคำตามการออกเสียงของตนเองซึ่งใช้ตัวสะกดผิดเช่นช้าง-ช้าน
                   (๔๙)นักเรียนผันวรรณยุกต์ไม่ได้
                   (๕๐)เวลาอ่านออกเสียงจะไม่ออกเสียงตัวสะกดเช่นโรงเรียน-โรงเรีย เขียน- เขีย
                   (๕๑)เวลาเขียนคำ  มักวางตำแหน่งรูปสระหรือวรรณยุกต์ผิด  เช่น  หูน
                   (๕๒)คิดวิเคราะห์และตีความไม่เป็น
                   (๕๓)เขียนเรื่องราวไม่ได้ใจความ
                   (๕๔)ลืมเรื่องที่เรียนได้ง่าย
                   (๕๕)ไม่สามารถตีความจากบทความ
                   (๕๖)สรุปใจความสำคัญไม่ได้
                   (๕๗)ไม่สามารถผันคำได้
                   (๕๘)จำแนกคำไม่ได้
                   (๕๙)สะกดคำไม่ได้
                   (๖๐)เป็นชาวเขาเผ่าต่าง ๆ  ใช้ภาษาถิ่น  อ่านตัวสะกดไม่ได้
                   (๖๑)มีเด็ก LD ไม่สนใจในการเรียน
                   (๖๒)เด็กไม่มีความตระหนักในวิชาภาษาไทย
                   (๖๓)เด็กไม่มีพื้นฐานในการเรียนภาษาไทยทำให้ประสบปัญหาการเรียนที่สูงขึ้น
                   (๖๔)เด็กไม่ยอมคิด ไม่ยอมทำกิจกรรม
                   (๖๕)เด็กติดเกม
                   (๖๖)ขาดเรียนบ่อย
                   (๖๗)เด็กไม่รักการอ่าน

๒.ด้านครูผู้สอน               
(๑)ครูไม่จบเอกภาษาไทย
                   (๒)ครูสอนไม่ครบชั้น
                   (๓)ครูสอนหลายสาระการเรียนรู้
                   (๔)ครูสอนไม่ตรงวิชาเอก             
                   (๕)ครูขาดเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ
                   (๖)ครูไม่มีความถนัดในการสอนบางเนื้อหาสาระ
                   (๗)ครูใช้สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ            
                   (๘)ครูขาดเทคนิคการสอนภาษาไทย / สอนไม่ตรงตามเอก
                   (๙)ครูสอน ๑  คน ต่อ๒  ชั้น          
                   (๑๐)ครูบางท่านไม่ได้จบเอกภาษาไทย  ขาดความแน่นในเนื้อหา
                   (๑๑)วิธีการสอน  สื่อการสอน  ยังไม่มีเทคนิควิธีการที่ไม่หลากหลาย
                   (๑๒)ครูมีภาระงานมาก ไม่สามารถสอนเสริมหรือติดตามพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กที่สอนได้อย่างเต็มที่
                   (๑๓)ครูสอนไม่ตรงตามวุฒิ
                   (๑๔)ครูสอนภาษาไทยมีน้อย
                   (๑๕)ครูน้อยรับผิดชอบหลายชั้นเรียน
                   (๑๖)ครูไม่เปิดใจเข้าหาเด็ก
                   (๑๗)ครูไม่รักการอ่าน
                   (๑๘)ครูมีความรู้ไม่แน่นในเรื่องหลักภาษา
                   (๑๙)สอนควบชั้น  ทำให้ดูแลนักเรียนไม่ทั่วถึง
                   (๒๐)ครูสอนไม่ตรงเวลา
                   (๒๑)ครูไม่ใช้สื่อ
                   (๒๒)ครูมีภาระงานมาก
                   (๒๓)สอนไม่ครบชั้น
                   (๒๔)ขาดสื่อและเทคโนโลยี
                   (๒๕)ครูย้าย
                   (๒๖)ครูไม่รักการอ่าน                
๓.ด้านผู้บริหารสถานศึกษา
                   (๑)ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของสาระภาษาไทย 
(๒)ผู้บริหารไม่สนับสนุน ส่งเสริมให้ครูไปอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง
(๓)ไม่จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเพิ่มทักษะภาษาไทยให้ครู
(๓)ไม่สนับสนุนงบประมาณให้กับครูภาษาไทย
                   (๔)ผู้บริหารไม่สนับสนุนครูในการไปพัฒนาตน
                   (๕)ผู้บริหารขาดการนิเทศติดตาม
                   (๖)ผู้บริหารขาดงบประมาณในการสนับสนุนสื่อ / กิจกรรม
                   (๗)ไม่เห็นความสำคัญของวิชาภาษาไทย

๔.ด้านผู้ปกครอง
(๑)ผู้ปกครองไม่ให้ความสนใจ
                   (๒)ผู้ปกครองบางท่านไม่มีเวลาฝึกเพิ่มเติม และติดตามดูแลเมื่อเด็กอยู่บ้าน       
ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่มีเวลาให้ลูกไม่มีความรู้ ทำให้เด็กไม่มีความรับผิดชอบในภาระงาน และการบ้านของตน

๕.ด้านสื่อการเรียนการสอน
                   (๑)สื่อการเรียนการสอนไม่หลากหลาย
                   (๒)เนื้อหาวิชาบางสาระไม่น่าสนใจ  ยากเกินไปสำหรับเด็ก
                   (๓)ขาดแหล่งเรียนรู้
                   (๔)สื่อการสอนไม่เพียงพอ
                   (๕)นักเรียนยังขาดแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 
(๖)สื่อไม่พอเพียงต่อจำนวนนักเรียน

๖.ด้านอื่นๆ
                   (๑)ขาดการติดตามดูแล  ส่งเสริม  และให้ความสำคัญการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
                   (๒)ขาดงบประมาณในการสนับสนุน


        ทั้งหมดเป็นภาษาเขียนของกลุ่มคุณครูภาษาไทยที่บางประโยคอาจสื่อความไม่ชัด  ท่านผู้อ่านที่สงสัย กรุณาถามได้นะคะ  ในตอนต่อไปผู้เขียนจะขอสรุปและจัดกลุ่มปัญหา พร้อมนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมที่ได้จัด ณ โรงเรียนสบเมยพิทยาคม  เพื่ออาจจะเป็นแนวทางแก่คุณครูผู้สอนภาษาไทยได้บ้างไม่มากก็น้อย



ด้วยความจริงใจและมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ค่ะ
วัชราภรณ์  วัตรสุข