Love to Read

LOVE TO READ อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้



วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ห้องสมุด 3 ดี




















ความเป็นมา
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายการพัฒนาห้องสมุดของสถานศึกษาให้เป็นศึกษาค้นคว้าของนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพ โอกาส และสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะการเติมเต็มการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยไปสู่ “การศึกษาตลอดชีวิต” ทั้งนี้ เนื่องจากในการปฏิรูปการศึกษาในช่วงแรก เน้นการจัดการศึกษาในระบบเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดแนวทางพัฒนา “ห้องสมุด 3 ดี” โดยเน้นการพัฒนาใน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หนังสือดี บรรยากาศดี และบรรณารักษ์ดี เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาตลอดชีวิต และนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สถานที่ และบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ มีหนังสือ สื่อการเรียนรู้ หลากหลายประเภทอย่างเพียงพอ และตรงกับความต้องการ



เป้าประสงค์
เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของห้องสมุดในโรงเรียนทุกแห่ง ให้เป็น “ห้องสมุด 3 ดี” ได้กำหนดเป้าประสงค์ ดังนี้
ดีที่ 1 หนังสือดี มีหนังสือ และสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีเนื้อหาสาระถูกต้อง ไม่เป็นพิษเป็นภัย และตรงใจผู้อ่านในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย

ดีที่ 2 บรรยากาศดี ห้องสมุดโรงเรียนมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการอ่าน การเรียนรู้ การค้นคว้า อุดมไปด้วยความรู้ ความบันเทิง สถานที่สะดวก สะอาด ร่มรื่น ปลอดโปร่ง ประหยัดพลังงาน สะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชน และปลอดภัยสำหรับผู้ใช้บริการ

ดีที่ 3 บรรณารักษ์ดี บรรณารักษ์และครูผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความรู้ในห้องสมุดกับผู้ใช้บริการ มีความเป็น”มืออาชีพ” มีจิตบริการ มีความรู้ลึก รู้รอบ รู้กว้าง รู้ไกล ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ เป็นผู้บริหารจัดการความรู้ที่ดี และเป็นผู้ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข


วิสัยทัศน์
ห้องสมุดโรงเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกวัยที่มีคุณภาพและมาตรฐาน


พันธกิจ
1. ให้บริการหนังสือ และสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
2. ให้บริการในบรรยากาศที่ดี เอื้อต่อการเรียนรู้
3. ให้บริการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ


แนวทางการดำเนินงาน
1. จัดหาหนังสือ และสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพียงพอต่อความต้องการ และเหมาะสมสำหรับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
2. สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน การเรียน การค้นคว้า และสะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชน
3. พัฒนาและส่งเสริมคุณภาพบรรณารักษ์และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดให้มีความเป็นมืออาชีพ มีจิตบริการ เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ และเป็นผู้บริหารจัดการความรู้ที่ดี


6. มาตรฐาน “ห้องสมุด 3 ดี”
มาตรฐานที่ 1 หนังสือดี หนังสือ และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพ มีเนื้อหาสาระถูกต้อง ไม่เป็นพิษเป็นภัย และตรงใจผู้อ่าน ในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย

มาตรฐานที่ 2 บรรยากาศดี มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการอ่าน การเรียนรู้ การค้นคว้า อุดมไปด้วยความรู้ ความบันเทิง สถานที่สะดวก สะอาด ร่มรื่น ปลอดโปร่ง ประหยัดพลังงาน สะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชน และปลอดภัยสำหรับผู้ใช้บริการ

มาตรฐานที่ 3 บรรณารักษ์ดี บรรณารักษ์และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความรู้ในห้องสมุดกับผู้ใช้บริการ มีความเป็น”มืออาชีพ” มีจิตบริการ มีความรู้ลึก รู้รอบ รู้กว้าง รู้ไกล ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ เป็นผู้บริหารจัดการความรู้ที่ดี และเป็นผู้ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข

แนวทางการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี

ด้านหนังสือ
1) ดำเนินการให้มีการจัดซื้อหนังสือ และสื่อการเรียนรู้สำหรับห้องสมุดเป็นไปตามนโยบาย เพื่อให้มีหนังสือและสื่อที่มีคุณภาพและเพียงพอกับจำนวนผู้ใช้บริการ
2) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกหนังสือและสื่อการเรียนรู้สำหรับห้องสมุด
3) ดำเนินการจัดซื้อหนังสือ และสื่อการเรียนรู้ ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร และตามรายชื่อที่คัดเลือกไว้ในสัดส่วนที่เหมาะสม
4) กำหนดนโยบายให้มีการใช้หนังสือ และสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน โดยส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
5) จัดนิทรรศการ/ตลาดนัดหนังสือ และสื่อการเรียนรู้ โดยเชิญชวนร้านค้า และสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ร่วมจำหน่ายหนังสือและสื่อการเรียนรู้


ด้านบรรยากาศ
1) พัฒนาหรือปรับปรุงห้องสมุดให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน การเรียนรู้ และการค้นคว้า
2) ปรับปรุง ออกแบบและตกแต่งอาคาร ทั้งภายใน และภายนอกห้องสมุดให้มีเอกลักษณ์สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและควรใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยในการออกแบบ
3) ซ่อมแซม ปรับปรุง จัดวางครุภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทันสมัย อุณหภูมิ สี และองค์ประกอบของครุภัณฑ์ให้มีความสอดคล้องกัน รวมทั้งการจัดมุมต่าง ๆและพื้นที่ใช้สอยภายในห้องสมุดให้เหมาะสม


ด้านบรรณารักษ์
1. พัฒนา อบรมบรรณารักษ์และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดให้มีความรู้ในการบริหารจัดการห้องสมุดสมัยใหม่ รวมทั้งสร้างมุมมองใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น
2. บรรณารักษ์ทำงานเชิงรุก เพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
3. สนับสนุน ส่งเสริมให้บรรณารักษ์และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดได้รับโอกาสในการอบรม ศึกษาดูงาน หรือแลกเปลี่ยนความรู้กับบุคลากรห้องสมุดอื่น ๆ
4. ส่งเสริมบรรณารักษ์และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ การใช้หนังสือและสื่อการเรียนรู้ให้กับผู้ใช้บริการ